คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1049

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอกไม่ได้หากชื่อไม่ปรากฏในกิจการ
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้ โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลยแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, ข้อสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, และการตีราคาทรัพย์สิน
โจทก์มีหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและหนังสือมอบอำนาจประกอบคำเบิกความของ ค. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างแต่ประการใด ย่อม เป็นการเพียงพอที่ฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจ ให้ ค.ฟ้องคดีแทนจริง โดยไม่จำเป็นต้องนำหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์และ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาสืบประกอบ
แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ แต่โจทก์มอบอำนาจให้ค. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำสัญญาเช่าซื้อแทนได้ โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อสัญญาเช่าซื้อรถที่กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อไม่ชำระราคา เช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะเอารถพร้อมอุปกรณ์คืนได้ และ ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อตีราคารถพร้อมอุปกรณ์ได้แต่ เพียงผู้เดียวโดยถือเป็นเด็ดขาด และเมื่อคิดหักกับราคาที่ผู้เช่าซื้อได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้วผู้เช่าซื้อยังคงเป็นหนี้อยู่ ก็ยินยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อสมัครใจทำสัญญาเสียเปรียบเอง หาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะใช้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ใน กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระเงินค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
โจทก์ที่ 2 แม้จะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นผู้จัดการของห้างโจทก์ที่ 1 ก็ตาม หากกรณี เป็นเรื่องของห้างโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่ใช่กิจการ ส่วนตัวของโจทก์ที่ 2.โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์มีหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและหนังสือมอบอำนาจประกอบคำเบิกความของ ค. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างแต่ประการใด ย่อม เป็นการเพียงพอที่ฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจ ให้ ค. ฟ้องคดีแทนจริง โดยไม่จำเป็นต้องนำ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์และ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาสืบประกอบ แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ แต่โจทก์มอบอำนาจให้ค. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำสัญญาเช่าซื้อแทนได้ โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง ข้อสัญญาเช่าซื้อรถที่กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อไม่ชำระราคา เช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะเอารถพร้อมอุปกรณ์คืนได้ และ ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อตีราคารถพร้อมอุปกรณ์ได้แต่ เพียงผู้เดียวโดยถือเป็นเด็ดขาด และเมื่อคิดหักกับราคา ที่ผู้เช่าซื้อได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้วผู้เช่าซื้อยังคงเป็นหนี้อยู่ ก็ยินยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องบังคับคดีเอา แก่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อ สมัครใจทำสัญญาเสียเปรียบเอง หาเกี่ยวด้วยความ สงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะใช้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ใน กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระเงินค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 โจทก์ที่ 2 แม้จะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นผู้จัดการของห้างโจทก์ที่ 1 ก็ตาม หากกรณี เป็นเรื่องของห้างโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่ใช่กิจการ ส่วนตัวของโจทก์ที่ 2. โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโฆษณาทางวิทยุ: การผิดสัญญา, การชำระหนี้, และขอบเขตความรับผิด
จำเลยได้ทำสัญญาก่อสร้างตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกับกรมการทหารสื่อสารโดยกรมการทหารสื่อสารให้สิทธิแก่จำเลย ในการโฆษณา 8 ปี ในการนี้จำเลยได้ตกลงกับโจทก์ที่ 1 โดยมีข้อสัญญากันว่า ให้โจทก์ที่ 1 ออกเงินลงทุน150,000 บาท และจำเลยในฐานะหัวหน้าสถานีวิทยุตกลงให้สิทธิโจทก์ที่ 1 โฆษณาสินค้าวันละ 2 ชั่วโมง เป็นการตอบแทนมีกำหนด 6 ปี หรือจนกว่าจะหมดสัญญาการก่อสร้างสถานี โจทก์จึงได้มอบเงิน 150,000 บาท ให้จำเลยไปดำเนินการก่อสร้าง เมื่อการก่อสร้างสถานีวิทยุดังกล่าวเสร็จแล้ว โจทก์ที่ 1 มอบให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการแทนได้โฆษณาสินค้าได้รวม 2 ปีก็ต้องหยุดเนื่องจากทางราชการสั่งห้ามโฆษณา ต่อมาอีกเกือบ 3 ปีทางราชการอนุญาตให้โฆษณาได้อีก ดังนี้ เมื่อทางราชการมิได้สั่งห้ามโฆษณาเป็นการเด็ดขาดตลอดไปอันจะทำให้การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยและกลับอนุญาตให้ออกอากาศโฆษณาได้อีก การชำระหนี้จึงอยู่ในวิสัยจะกลับขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันได้ และการที่ทางราชการสั่งห้ามโฆษณา ก็แปลไม่ได้ว่าเป็นการหมดสัญญาก่อสร้างสถานี ทั้งสัญญาที่จำเลยทำไว้กับกรมการทหารสื่อสารนั้น กรมการทหารสื่อสารให้สิทธิแก่จำเลยในการโฆษณาถึง 8 ปี จำเลยจึงยังมีความผูกพันที่จะต้องให้สิทธิแก่โจทก์ออกอากาศโฆษณาต่อไปจนครบ 6 ปี
แม้สัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ที่ 1 นั้นมีว่าจำเลยจะต้องผ่อนชำระเงิน 150,000 บาทคืนโจทก์ภายใน 2 ปี โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยใดๆ แต่ก็มิได้ระบุว่าถ้าไม่ผ่อนชำระคืนตามกำหนด แล้วจะให้คิดดอกเบี้ยต่อกัน และตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มุ่งเอาประโยชน์ตอบแทนจากรายได้จากการออกอากาศโฆษณาสินค้ามากกว่า และเมื่อจำเลยไม่ผ่อนชำระเงินคืนตามกำหนด โจทก์ก็มิได้จัดการประการใด เพิ่งจะบอกกล่าวให้ชำระเงินคืนเมื่อพ้นกำหนดมาหลายปี แต่ก็มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยชำระ เพียงแต่เชิญจำเลยไปทำความตกลงกันเท่านั้น ดังนี้ จำเลยจึงยังมิได้ตกเป็นฝ่ายผิดนัด เพราะโจทก์ได้เตือนแล้ว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ย
โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและอำนาจฟ้องของหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน
หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนแต่ผู้เดียว มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิการจดทะเบียนเครื่องการค้าของห้างหุ้นส่วนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2499)
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศในไทย: หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจฟ้อง
หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2499)
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน กรณีผู้จัดการมอบหมายให้รับเงินแทน
ผู้จัดการหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนมอบหมายให้ผู้หนึ่งไปรับเงินของหุ้นส่วนมา ย่อมเป็นเรื่องที่ผู้จัดการทำไปในหน้าที่ผู้จัดการของหุ้นส่วน เมื่อถึงคราวจะฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนนี้จากผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปรับเงินมาแล้วผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมาฟ้องก็เป็นการดีแล้ว
หุ้นส่วนผู้หนึ่งรับเงินของหุ้นส่วนจากบุคคลภายนอกมาแล้วไม่มอบให้หุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นโจทก์ฟ้องเรียกเงินนั้นจากหุ้นส่วนผู้รับมาได้โดยไม่ต้องมีการชำระบัญชีเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกและการเป็นบริวารของผู้เช่า แม้มีการโอนกิจการ ห้างหุ้นส่วนก็ยังต้องรับผิดตามสัญญาเช่า
จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไปเช่าตึกเพื่อดำเนินกิจการของห้าง แม้ต่อมาหุ้นส่วนคนหนึ่งจะได้รับโอนกิจการทั้งหมดไว้แต่ผู้เดียวก็ดี เมื่อผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าย่อมขับไล่ผู้รับโอนกิจการของหุ้นส่วนนั้นได้ โดยถือว่าเป็นบริวารของจำเลยผู้เช่า ผู้รับโอนจะอ้างว่าจำเลยไปทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า - ผู้รับโอนกิจการหุ้นส่วนสามัญ - สถานะบริวาร - อำนาจการเช่า
จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไปเช่าตึกเพื่อดำเนินกิจการของห้างแม้ต่อมาหุ้นส่วนคนหนึ่งจะได้รับโอนกิจการทั้งหมดไว้แต่ผู้เดียวก็ดี เมื่อผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่า ย่อมขับไล่ผู้รับโอนกิจการของหุ้นส่วนนั้นได้ โดยถือว่าเป็นบริวารของจำเลยผู้เช่า ผู้รับโอนจะอ้างว่าจำเลยไปทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสารส้ม: การตีความเอกสาร หลักฐานการซื้อขาย อำนาจฟ้องของห้างหุ้นส่วนสามัญ
ใบสั่งซื้อของโจทก์มีว่าโจทก์ตกลงซื้อสารส้มกับจำเลย บริษัทจำเลยตอบรับตกลงตามราคาและเงื่อนไขที่แจ้งตามใบสั่งซื้อนั้นทุกประการ จึงเป็นการตกลงซื้อขายกันไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยจะจัดการหาซื้อให้ทำนองตัวแทนหรือนายหน้าหากจำเลยผิดนัด ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ อันมิได้จดทะเบียน ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการและได้ทำการซื้อขายในนามของโจทก์เอง แม้จะระบุตำแหน่งผู้จัดการไว้ด้วยโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1049
ศาลพิพากษาว่าให้จำเลยขายสารส้มให้โจทก์ตามจำนวนและราคาในฟ้อง หรือให้จำเลยชดใช้ผลกำไรที่โจทก์ควรได้รับเป็นเงิน 49,000 บาทแก่โจทก์นั้น จำเลยย่อมเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้
of 3