พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้เจ้าหนี้ แม้เชื่อมั่นในผลคดี ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้
เดิมโจทก์ฟ้องส. ภรรยาโจทก์ กับ ก. ม. และ ฮ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ซึ่ง ส.ทำนิติกรรมขายให้ ก. ม. และ ฮ. ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นก. ม. และ ฮ. เอาที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ส. กับ ก. ม. และ ฮ. กับ ให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ก. ม. ฮ. กับจำเลยที่ 1 ก. กับพวกและจำเลยที่ 1 ฎีกา เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทไปทำสัญญาขายฝากไว้กับจำเลยที่ 2มีกำหนดเวลาไถ่คืนเพียง 3 เดือน แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2เพื่อไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำเลยจะอ้างว่าที่ขายฝากเพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1ชนะคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้เจ้าหนี้ และความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
เดิมโจทก์ฟ้องส. ภรรยาโจทก์กับ ก. ม.และ ฮ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ซึ่ง ส.ทำนิติกรรมขายให้ ก. ม. และ ฮ. ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ก. ม. และ ฮ. เอาที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ส. กับ ก. ม. และ ฮ. กับให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ก. ม. ฮ. กับจำเลยที่ 1 ก. กับพวกและจำเลยที่ 1 ฎีกา เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทไปทำสัญญาขายฝากไว้กับจำเลยที่ 2 มีกำหนดเวลาไถ่คืนเพียง 3 เดือน แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่พิพาทให้ จำเลยที่ 2 เพื่อไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำเลยจะอ้างว่าที่ขายฝากเพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: ‘ผู้อื่น’ ตาม ม.350 อาญา หมายถึงบุคคลอื่นนอกเหนือจากลูกหนี้
คำว่า "ผู้อื่น" ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นหมายความถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินของจำเลยที่ 1ให้จำเลยที่ 3 ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: 'ผู้อื่น' ตาม ม.350 อาญา
คำว่า 'ผู้อื่น' ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายความถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงานท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกงเจ้าหนี้ต้องระบุเจตนาทุจริตและองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล
คำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ที่บรรยายแต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเท่านั้น กับทั้งมิได้บรรยายว่าจำเลยได้กระทำไปโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตน หรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดสารสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ทำให้สิทธิเรียกร้องทางศาลเป็นอันตกไป
ผู้เสียหายให้จำเลยกู้ยืมเงิน 10,000 บาท โดยจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือให้ไว้นั้น เป็นการยืมเงินเกิน 50 บาท โดยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาทโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ทำให้สิทธิเรียกร้องทางศาลและทางอาญาไม่สมบูรณ์
ผู้เสียหายให้จำเลยกู้ยืมเงิน 10,000 บาท โดยจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือให้ไว้นั้น เป็นการยืมเงินเกิน 50 บาท โดยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาทโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ทำให้สิทธิเรียกร้องทางศาลและอาญาไม่สามารถใช้บังคับได้
ผู้เสียหายให้จำเลยกู้ยืมเงิน 10,000 บาท. โดยจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือให้ไว้นั้น. เป็นการยืมเงินเกิน 50 บาท. โดยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ. ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653.
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350.
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350.