พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ต้องระบุเจตนาตระหนักถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เพื่อมิให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาได้รับชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเอากับจำเลยที่ 1 ได้ มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบของความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)และเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ต้องระบุเจตนาของผู้กระทำความผิดในการขัดขวางการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่1ในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา350อ้างว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับนำไปขายให้แก่บุคคลอื่นเพื่อมิให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาได้รับชำระหนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเอากับจำเลยที่1ได้มิได้บรรยายว่าจำเลยที่1ได้กระทำไปโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบของความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)และเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ แม้สิทธิบังคับคดีอาจไม่หมดไป ก็ถือเป็นความผิด
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่พอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็รู้อยู่แล้วเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 หากฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ก็เป็นการกระทำการดังที่กล่าวไว้ในมาตรานี้แล้วจำเลยทั้งสี่จึงต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ ถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้เจ้าหนี้ยังไม่ได้ฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ และจำเลยที่ 1และที่ 2 มีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่พอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 350 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็รู้อยู่แล้วเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบตามป.อ. มาตรา 350 หากฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ก็เป็นการกระทำการดังที่กล่าวไว้ในมาตรานี้แล้ว จำเลย-ทั้งสี่จึงต้องมีความผิด
สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบตามป.อ. มาตรา 350 หากฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ก็เป็นการกระทำการดังที่กล่าวไว้ในมาตรานี้แล้ว จำเลย-ทั้งสี่จึงต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง, อายุความ, และดุลพินิจศาลในคดีโกงเจ้าหนี้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 จำคุก 8 เดือน ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าหลังจากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและมีคำสั่งว่า คดีมีมูลแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ขึ้นมาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีมีมูลในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยปริยาย โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานนี้เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วจึงมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องโกงเจ้าหนี้: การโต้เถียงข้อเท็จจริงและการแก้ไขคำฟ้องเกินกำหนดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำคุก 8 เดือน ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าหลังจากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและมีคำสั่งว่า คดีมีมูลแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ขึ้นมาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีมีมูลในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยปริยาย โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานนี้เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วจึงมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดิน พิพาทเป็นดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฎจากสารบัญ ด้านหลังน.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เชื่อมโยงคดีอาญา ไม่ต้องใช้ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญา ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินของคนต่างด้าว แม้ได้มาซึ่งที่ดินโดยไม่ชอบตามกฎหมายที่ดิน
แม้การที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 86 จะทำให้คนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามมาตรา 94 แต่ก็มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวจะไม่มีผลเสียเลย เนื่องจากคนต่างด้าวยังคงมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา 94 ทั้งยังมีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินซึ่งได้จากการจำหน่ายตามมาตรา 54 ดังนั้น แม้โจทก์เป็นคนต่างด้าวโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันซื้อมาได้ กรณีถือว่าคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยที่ 1 โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนขายที่ดินและบ้านดังกล่าวไปเสีย จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพิเศษในการโกงเจ้าหนี้ การชำระหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้ธนาคารเป็นเงิน 696,252.59 บาท โดยจำเลยเอาที่ดินจำนองเป็นประกันธนาคารเจ้าหนี้ได้เร่งรัดให้จำเลยชำระหนี้จำเลยจึงได้ขายที่ดินที่จำนองให้แก่ ก. ไปในราคา 700,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าความเป็นจริง แล้วนำเงินนั้นชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องปฏิบัติ แม้จะเป็นการขายภายหลังจากจำเลยทราบว่าเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยขายที่ดินโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้