คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประวัติ ปัตตพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,715 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดตามส่วนของแต่ละฝ่าย
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อของโจทก์จำเลยด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กฎหมายให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามส่วนโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้นั้นให้เอาค่าเสียหายของทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมารวมกัน แล้วแบ่งส่วนความรับผิดในค่าเสียหายตามส่วนที่ศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้เบิกเกินบัญชี ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แม้มีการนำเงินเข้าบัญชี
จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์แล้ว จำเลยก็มีสิทธิที่จะเบิกเงินไปเป็นคราว ๆ ภายในวงเงินและเวลาที่ตกลงกัน เมื่อจำเลยนำเงินเข้าบัญชีในธนาคาร ๆ ก็นำไปหักจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้ และจำเลยก็อาจถอนเงินไปอีก เพราะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่หมดอายุ แต่ถ้าจำเลยประสงค์จะนำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้เงินกู้ จำเลยก็ต้องแสดงความจำนงนั้นให้ธนาคารทราบ และจะสั่งจ่ายเงินจำนวนนั้นไปอีกไม่ได้ ถือเป็นวิธีปฏิบัติในการฝากเงินเข้าบัญชีและการเบิกเงินเกินบัญชีตามปกติ ฉะนั้น หากจำเลยยังมีหนี้ค้างชำระในวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่อีก ผู้ค้ำประกันของจำเลยก็ต้องรับผิดในเงินจำนวนนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีสั่งจ่ายภายหลังแต่วันครบกำหนดสัญญากู้นั้น หาถือว่าเป็นการชำระหนี้หรือเบิกเงินเกินบัญชีอันจะทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดชอบ หรือรับผิดนอกเหนือไปอีกแต่ประการใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, ระยะเวลาบอกเลิก, และความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาบังคับคดี
สัญญาเช่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเช่าเป็นแต่ระบุค่าเช่าเดือนละ 30 บาท ต้องถือว่ากำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนจำเลยจะเถียงว่าทางปฏิบัติชำระค่าเช่ากันเป็นรายปีไม่ได้เพราะกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 566 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่า 'ในความที่ตกลงกัน' คือ ตามสัญญา ไม่ใช่ทางปฏิบัติเรื่องนี้ไม่มีกำหนดเวลาเช่า กำหนดแต่ระยะค่าเช่า คือเดือนละครั้ง จึงบอกล่วงหน้าเพียง 1 เดือนก็พอโจทก์บอกล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2501 และฟ้องคดีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2501 เป็นเวลากว่า 1 เดือน ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยขนไม้และสิ่งของต่างๆ ออกไปให้พ้นที่ดินและบ้านเรือนของโจทก์ ซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่าและเป็นผู้นำสิ่งของเหล่านี้เข้ามา ในชั้นบังคับคดี จำเลยทำสัญญาประกันกับศาลว่าจะปฏิบัติตามคำบังคับครบถ้วนทุกประการภายใน 7 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติครบถ้วนภายในกำหนดจะยอมให้ปรับเป็นเงิน 8,000 บาทครั้นถึงกำหนดปรากฏว่าจำเลยขนไม้และสิ่งของออกไปบางส่วน ส่วนไม้และสิ่งของที่เหลือจำเลยอ้างว่าเป็นของหุ้นส่วนซึ่งได้ตกลงแบ่งปันกันแล้วไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่ขนของที่จำเลยนำเข้ามาออกไปไม่ว่าจะเป็นของๆ ใครก็ตาม เมื่อจำเลยขนไปไม่หมด ก็ต้องถูกปรับ 8,000 บาทตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, การปฏิบัติตามคำบังคับศาล, และความรับผิดในสัญญาประกัน
สัญญาเช่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเช่าเป็นแต่ระบุค่าเช่าเดือนละ 30 บาท ต้องถือว่ากำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน จำเลยจะเถียงว่าทางปฏิบัติชำระค่าเช่ากันเป็นรายปีไม่ได้ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 566 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า "ในความที่ตกลงกัน" คือ ตามสัญญา ไม่ใช่ทางปฎิบัติ เรื่องนี้ไม่มีกำหนดเวลาเช่า กำหนดแต่ระยะค่าเช่า คือ เดือนละครั้ง จึงบอกล่วงหน้าเพียง 1 เดือนก็พอ โจทก์บอกล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2501 และฟ้องคดีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2501 เป็นเวลากว่า 1 เดือนชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยขนไม้และสิ่งของต่าง ๆ ออกไปให้พ้นที่ดินและบ้านเรือนของโจทก์ ซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่าและเป็นผู้นำสิ่งของเหล่านี้เข้ามา ในชั้นบังคับคดี จำเลยทำสัญญาประกันกับศาลว่าจะปฎิบัติตามคำบังคับครบถ้วนทุกประการภายใน 7 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติครบถ้วนภายในกำหนดจะยอมให้ปรับเป็นเงิน 8,000 บาท ครั้งถึงกำหนดปรากฎว่าจำเลยขนไม้และสิ่งของออกไปบางส่วน ส่วนไม้และสิ่งของที่เหลือจำเลยอ้างว่าเป็นของหุ้นส่วนซึ่งได้ตกลงแบ่งปันกันแล้ว ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่ขนของที่จำเลยนำเข้ามาออกไป ไม่ว่าจะเป็นของ ๆ ใครก็ตาม เมื่อจำเลยขนไปไม่หมดก็ต้องถูกปรับ 8,000 บาทตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ขณะทำสัญญา แต่หากได้กรรมสิทธิ์ภายหลัง ผู้ซื้อก็มีสิทธิเรียกร้องได้
(1) ในคดีเรื่องเดิม เมื่อศาลฎีกาฟังว่าคู่ความตกลงซื้อขายที่ดินเต็มทั้งโฉนด ต่อมาฝ่ายใดจะฟ้องร้องหรือต่อสู้กันเป็นคดีใหม่ว่าซื้อขายเฉพาะบางส่วนเช่นนี้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ทั้งนี้ถ้าหากเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกา
(2) ในสัญญาซื้อขายอาจระบุถึงที่ดินในเขตเวนคืนฯได้ แต่ไม่ทำให้ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกเวนคืน
(3) ในคดีเดิม ศาลฎีกาได้พิพากษาให้รัฐบาลคืนที่ดินที่เวนคืนแต่เหลือใช้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยได้ทำสัญญาขายที่ดินในเขตเวนคืนดังกล่าวจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะเรียกร้องให้ส่งมอบได้หรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีเรื่องก่อนๆ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
(4) ในเวลาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายจะไม่มีกรรมสิทธิ์เพราะที่นี้ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาแต่ต่อมาผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มา เพราะรัฐบาลคืนให้ผู้ซื้อย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืน: สิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์คืน
(1)ในคดีเรื่องเดิม เมื่อศาลฎีกาฟังว่าคู่ความตกลงซื้อขายที่ดินเต็มทั้งโฉนด ต่อมาฝ่ายใดจะฟ้องร้องหรือต่อสู้กันเป็นคดีใหม่ว่าซื้อขายเฉพาะบางส่วน เช่นนี้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งมาตรา 148 ทั้งนี้ ถ้าหากเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกา
(2) ในสัญญาซื้อขายนั้นอาจระบุถึงที่ดินในเขตเวนคืนได้ แต่ไม่ทำให้ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกเวนคืน
(3) ในคดีเดิม ศาลฎีกาได้พิพากษาให้รัฐบาลคืนที่ดินที่เวนคืนแต่เหลือใช้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยได้ทำสัญญาขายที่ดินในเขตเวนคืนดังกล่าว จึงมีประเด็นว่า โจทก์จะเรียกร้องให้ส่งมอบได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีเรื่องก่อนๆ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
(4) ในเวลาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายจะไม่มีกรรมสิทธิ์ เพราะที่นี้ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกา แต่ต่อมาผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มา เพราะรัฐบาลคืนให้ ผู้ซื้อย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ขายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิ์ภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256. บัญญัติว่าบุริมสิทธิ์ในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วยถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีกรัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปีดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้องมีผลต่อสิทธิเรียกร้องของรัฐ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 บัญญัติว่าบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากร ในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วย ถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีก รัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปี ดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและลูกจ้างในการจัดการจำหน่ายข้าว การละเลยควบคุมทำให้เกิดความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม และฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎรและมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพรแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชนในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้นกระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบหมายให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าวเงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการและใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทยการดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขายเมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกับจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระจำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมาโดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าวเมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดการจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดไปว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะไม่ใช่ทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติการงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในจ่าจังหวัดที่ตนมอบหมายเองเมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและจำหน่ายข้าวตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ เมื่อมอบหมายให้จ่าจังหวัดทำหน้าที่นี้ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหายผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วยจะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติของตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง และการฟ้องร่วมสำหรับความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุมและฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่
of 172