คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประวัติ ปัตตพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,715 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดผู้ครอบครองสินค้า
พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10 มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าเมื่อปรากฎว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอยหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาโดยลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ ฯ นั้น เป็นเพียงพอที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งไว้แต่ว่า ตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลย ค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลย จำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อ บรรทุกรถมา 1 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายจึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลยแล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแต่ก็เอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายในคดีศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดของผู้ครอบครอง
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในความครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ นั้น เป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยาน พฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจดแจ้งไว้แต่ว่าตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลยค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลยจำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อบรรทุกรถมา 3 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดีเพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลย แล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยเกินอัตรา ศาลพิจารณาตามเจตนาคู่สัญญา
โจทก์กู้เงินจำเลย แต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก นิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ (แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญา เพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่ไม่ผูกพันจริง ศาลวินิจฉัยเป็นนิติกรรมกู้เงินได้
โจทก์กู้เงินจำเลยแต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ(แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญาเพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทน-ความรับผิดบริษัท: เช็คสลักหลัง-ประทับตรา-ผู้แทนมีอำนาจ-บริษัทต้องรับผิด
บริษัทจำเลยมี ง.กับล.เป็นกรรมการอำนวยการย. เป็นรองผู้จัดการและเหรัญญิก ง. ติดต่อขอยืมเงินจากโจทก์โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยต้องการเงิน โจทก์นำเงินที่จะให้ยืมมาพบกับ ง. ที่สำนักงานบริษัทจำเลย และขอให้ ง.ออกเช็คให้เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินยืมนี้ง.บอกให้รอย. เมื่อย. มาแล้วย.ก็เอาเช็คที่ผู้อื่นออกให้แก่ผู้ถือมาประทับตราบริษัทจำเลยและเซ็นชื่อย. เองมอบให้โจทก์ โจทก์จึงมอบเงินยืมให้แก่ ย. ดังนี้ เมื่อตามข้อบังคับของบริษัทปรากฏว่า ง. โดยลำพังก็มีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นสำคัญแทนบริษัทจำเลยได้โดยต้องประทับตราของบริษัทไว้ด้วย แสดงว่า ง. มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้แทนโดยชอบของบริษัทจำเลยได้โดยลำพัง การที่ ง.ติดต่อยืมเงินและรู้เห็นในการที่ ย. เซ็นชื่อสลักหลังเช็คและประทับตราของบริษัทจำเลยนั้น ย่อมต้องถือว่าบริษัทจำเลยเป็นผู้ติดต่อยืมเงินและรู้เห็นเองด้วยจึงต้องถือว่าบริษัทจำเลยเชิด ย. ออกแสดงเป็นตัวแทนในการสลักหลังเช็ครายนี้ให้แก่โจทก์
ผู้แทนและเจ้าหน้าที่ของบริษัทอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างชื่อของบริษัทหาประโยชน์ใส่ตัว ถ้าบุคคลภายนอกมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยแล้ว บริษัทก็จะอ้างเอาการที่ผู้แทนของตนกระทำทุจริตมาบอกปัดความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญทำไม้เลิกกันเมื่อคิดบัญชีเสร็จสิ้น การฟ้องคดีไม่ถูกต้องหากเสนอเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์จำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้เพื่อค้าขายเอากำไรแบ่งปันกันโดยตกลงกันว่าทำไม้เสร็จเมื่อใดก็มีการคิดบัญชีต้นทุนกำไรกัน ลักษณะของหุ้นส่วนเช่นว่านี้ย่อมเป็นหุ้นส่วนสามัญชนิดที่สัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้นแล้ว หุ้นส่วนรายนั้นก็ย่อมเลิกกันไปในตัว ดังความที่บัญญัติไว้ในมาตรา1055(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อทำไม้รายใดเสร็จไปแล้ว หุ้นส่วนในการทำไม้รายนั้นก็ย่อมเลิกกันและมีการคิดบัญชีต้นทุนกำไรกันตามที่ตกลงกันไว้เป็นเฉพาะรายๆ ไป
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องเงินหุ้นส่วนในชั้นคิดบัญชี แต่โจทก์เสนอข้อพิพาทต่อศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลมา 50 บาท โดยขอให้ศาลสั่งให้เลิกหุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลยและชำระบัญชีทั้งๆ ที่หุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลยได้เลิกกันและได้มีการคิดบัญชีกันตามที่ตกลงกันแล้วก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องสั่งให้เลิกหุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลย และให้มีการชำระบัญชีกันอีกตามที่โจทก์ขอมาและไม่ชอบที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทที่โต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีนั้นให้ได้ด้วย เพราะโจทก์มิได้เสนอข้อพิพาทมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ประกอบกับคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอบังคับในเรื่องเงินหุ้นส่วนที่พิพาทนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญเฉพาะกิจเลิกเมื่อทำไม้เสร็จ การฟ้องคดีไม่ถูกต้องหากเสนอเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์จำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้เพื่อค้าขายเอากำไรแบ่งปันกัน โดยตกลงกันว่า ทำไม้เสร็จเมื่อใด ก็มีการคิดบัญชีต้นทุนกำไรกัน ลักษณะของหุ้นส่วนเช่นว่านี้ย่อมเป็นหุ้นส่วนสามัญชนิดที่สัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้นแล้ว หุ้นส่วนรายนั้นก็ย่อมเลิกกันไปในตัว ดังความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1055 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อทำไม้รายใดเสร็จไปแล้ว หุ้นส่วนในการทำไม้รายนั้นก็ย่อมเลิกกันและมีการคิดบัญชีต้นทุนกำไรกันตามที่ตกลงกันไว้เป็นเฉพาะราย ๆ ไป
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องเงินหุ้นส่วนในชั้นคิดบัญชี แต่โจทก์เสนอข้อพิพาทต่อศาลอย่างคดีไม่มีหุ้นทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลมา 50 บาท โดยขอให้ศาลสั่งให้เลิกหุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลยและชำระบัญชีทั้ง ๆ ที่หุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลยได้เลิกกันและได้มีการคิดบัญชีกันตามที่ตกลงกันแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องสั่งให้เลิกหุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลย และให้มีการชำระบัญชีกันอีกตามที่โจทก์ขอมา และไม่ชอบที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทที่โต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีนั้นให้ได้ด้วย เพราะโจทก์มิได้เสนอข้อพิพาทอย่างคดีมีทุนทรัพย์ประกอบกับคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอบังคับในเรื่องเงินหุ้นส่วนที่พิพาทนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนทันทีตามสัญญา แม้ยังไม่มีการส่งมอบ และบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ข้อสัญญาที่ให้สิ่งของและสัมภาระต่างๆ ของผู้รับจ้างซึ่งนำเข้าไปไว้ในบริเวณที่ก่อสร้าง ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างในเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา เพราะผู้รับจ้างผิดสัญญานั้น เป็นข้อสัญญาที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และข้อสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินนั้นอีก ถ้าหากในสัญญาระบุตัวทรัพย์สินไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นย่อมโอนไปทันทีตามผลแห่งสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องมีการนับหรือชั่งตวงวัดอีก
ทรัพย์สินซึ่งเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 นั้น หมายถึงทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น มาตรา 251 นี้หาได้บัญญัติให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ด้วยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 270 เป็นบทบัญญัติถึงรายละเอียดแห่งการมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 อีกต่อหนึ่งว่า การบังคับชำระหนี้ในฐานะมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 จะบังคับได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากสัญญาจ้างเหมาและผลของการบอกเลิกสัญญา
ข้อสัญญาที่ให้สิ่งของและสัมภาระต่าง ๆ ของผู้รับจ้างซึ่งนำเข้าไปไว้ในบริเวณที่ก่อสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างในเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา เพราะผู้รับจ้างผิดสัญญานั้น เป็นข้อสัญญาที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และข้อสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินนั้นอีก ถ้าหากในสัญญาระบุตัวทรัพย์สินไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นย่อมโอนไปทันที่ตามผลแห่งสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องมีการนับหรือชั่งตวงวัดอีก
ทรัพย์สินซึ่งเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 นั้น หมาย ถึงทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น มาตรา 251 นี้หาได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ด้วยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 220 เป็นบทบัญญัติถึงรายละเอียดแห่งการมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 อีกต่อหนึ่งว่า การบังคับชำระหนี้ในฐานะมีบุริมสิทธิตามมาตรา 251 จะบังคับได้เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดตามส่วนของแต่ละฝ่าย
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อของโจทก์จำเลยด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กฎหมายให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามส่วนโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้นั้นให้เอาค่าเสียหายของทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมารวมกัน แล้วแบ่งส่วนความรับผิดในค่าเสียหายตามส่วนที่ศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
of 172