พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าเพื่อปกปิดความผิดอื่น และการลงโทษฐานพาอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาต
หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 ขณะผู้เสียหายที่ 1 วิ่งตามรถจักรยานยนต์และร้องเรียกให้คนช่วยจนผู้เสียหายที่ 1 ล้มลง จากนั้นจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 อันเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสามเพื่อปกปิดความผิดอื่นของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องบรรยายจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสามเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นมาด้วย จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ คงลงโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าโดยเจตนา แต่ไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน และประเด็นการมีส่วนร่วมในการมีอาวุธปืน
นับแต่เวลาที่จำเลยที่ 5 เข้าแย่งมีดจากผู้ตาย จนกระทั่งผู้ตายถูกจำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นเข้าทำร้ายผู้ตายอีก บาดแผลของผู้ตายที่เกิดจากการถูกแทงด้วยของมีคมจึงต้องเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ระบุว่าจำเลยที่ 5 เป็นคนใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายก่อนที่จำเลยที่ 6 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงได้รีบพากันหลบหนีไปด้วยกันโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ ทำให้เชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปตามคำให้การของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ในชั้นสอบสวน ซึ่งให้การหลังเกิดเหตุเพียง 2 วัน ยิ่งกว่าจะเป็นไปตามคำเบิกความหลังเกิดเหตุนานถึง 3 ปี การที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายแล้วรีบพากันหลบหนีไปด้วยกัน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 5 จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 6 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่า ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โจทก์มิได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไปฆ่าผู้ตาย โจทก์คงมีเพียงบันทึกคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ให้การรับสารภาพว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้ไปฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังน้อย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นรับฟังประกอบบันทึกคำให้การดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้รับจ้างจากผู้อื่นให้ไปฆ่าผู้ตายและพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 เตรียมวางแผนฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงเป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 6 พาอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยที่ 5 เพียงแต่ร่วมฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพฉันนั้นเอง ส่วนการที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 หลบหนีไปด้วยกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 มีส่วนร่วมกับการมีและพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 6 ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่า ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้ฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โจทก์มิได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไปฆ่าผู้ตาย โจทก์คงมีเพียงบันทึกคำให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และที่ 6 ที่ให้การรับสารภาพว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้ไปฆ่าผู้ตาย ซึ่งเป็นพยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังน้อย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นรับฟังประกอบบันทึกคำให้การดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้รับจ้างจากผู้อื่นให้ไปฆ่าผู้ตายและพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 และที่ 6 เตรียมวางแผนฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงเป็นเพียงความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 6 พาอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 6 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยที่ 5 เพียงแต่ร่วมฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายอันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพฉันนั้นเอง ส่วนการที่จำเลยที่ 5 และที่ 6 หลบหนีไปด้วยกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 มีส่วนร่วมกับการมีและพาอาวุธปืนของจำเลยที่ 6 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483-484/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาจากความโกรธแค้น การป้องกันตัวไม่สมเหตุผล
ก่อนเกิดเหตุจำเลยนั่งอยู่คนละโต๊ะกับผู้ตาย จำเลยเป็นฝ่ายเดินมาหาผู้ตายและถามผู้ตายถึงสาเหตุที่ห้ามจำเลยเข้าไปในร้านอาหารแห่งหนึ่ง จากนั้นจำเลยกับผู้ตายก็โต้เถียงกัน จนจ่าสิบตำรวจ ส. ต้องลุกขึ้นมานั่งร่วมโต๊ะกับผู้ตายและห้ามปรามไม่ให้จำเลยกับผู้ตายโต้เถียงกัน จำเลยจึงออกจากร้านเนื่องจากจ่าสิบตำรวจ ส. ร้องขอ หลังจากนั้นประมาณ 5 นาที จำเลยกลับมาใหม่และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย และเล็งอาวุธปืนมายังสิบตำรวจเอก ย. จนจ่าสิบตำรวจ ส. ต้องเข้าไปแย่งอาวุธปืนจากจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยยิงผู้ตายเนื่องจากจำเลยกับผู้ตายโต้เถียงกันอย่างรุนแรงและจำเลยยังโกรธแค้นอยู่ แม้จะได้ความว่าเมื่อจำเลยเดินออกจากร้านไปจ่าสิบตำรวจ ส. จะต่อว่าผู้ตายว่าเป็นผู้ใหญ่ไม่น่าใช้คำหยาบ และผู้ตายพูดว่า "พี่ผิดไปแล้ว" ก็ตาม คำหยาบดังกล่าวก็เป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควรอาจยั่วยุให้จำเลยรู้สึกเจ็บแค้นและโมโหเท่านั้น หาได้เป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจะเป็นเหตุให้จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า: การพิสูจน์เจตนาของผู้ร่วมกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 พร้อมพวกไปเที่ยวงานวัด มีชายคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มาชนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงชกต่อยกับชายดังกล่าว จำเลยที่ 2 กับพวกเข้าห้ามหลังจากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกไปรับประทานอาหารที่บ้านจำเลยที่ 1 มีคนใช้ขวดสุราขว้างปามาที่บ้านจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โมโหมาก จึงหยิบอาวุธปืนแก๊ปยาวที่อยู่ในบ้านออกมาหน้าบ้านโดยจำเลยที่ 2 เดินตามมาด้วย จำเลยที่ 1 ยิงปืนไปยังกลุ่มวัยรุ่นโดยจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ใกล้ ๆ กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกับกลุ่มวัยรุ่นที่ขว้างปาบ้านของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ก็มิได้แสดงอาการอย่างใดอันจะชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 ยิงกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธยิงไปยังกลุ่มวัยรุ่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ห้ามปรามจำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้คาดคิดว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากอารมณ์ชั่ววูบและความรับผิดทางอาญาต่อการผสมสารพิษในเครื่องดื่ม
หากจำเลยเกิดอารมณ์ชั่ววูบที่ จ. ภริยาของจำเลยหนีออกจากบ้านจึงเตรียมน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงแลนเนท แอล ไว้เพื่อจะฆ่าตัวตาย แต่ผู้ตายและ อ. มาพบน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงนั้นและดื่มไปเองเสียก่อน จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย จำเลยก็น่าจะใส่สารกำจัดแมลงแลนเนท แอล ลงในเบียร์ที่จำเลยกำลังดื่มอยู่ในขณะนั้น และดื่มฆ่าตัวตายไปในทันที หรือเตรียมน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงไว้เพียงที่เดียวมากกว่าการที่จำเลยใส่สารกำจัดแมลงลงในน้ำอัดลม ซึ่งตามคำให้การชั้นสอบของจำเลยก็ได้ความว่าจำเลยให้ผู้ตาย อ. ว. กับเพื่อนๆ ของเด็กทั้งสามที่มาเล่นวีดีโอเกมส์อยู่ด้วยกันนำเงินไปซื้อน้ำอัดลมมา 4 กระป๋อง แล้วจำเลยบอกให้นำน้ำอัดลมไปแช่ไว้ในตู้เย็นก่อน เมื่อแช่น้ำอัดลมไว้ในตู้เย็นแล้ว พวกเด็กๆ พากันไปเล่นวีดีโอเกมส์ต่อ ต่อมาจำเลยจึงให้ อ. ไปซื้อสารกำจัดแมลงมา 1 ขวด แล้วจำเลยแอบเอาน้ำอัดลมที่แช่ไว้ดังกล่าวมารินใส่แก้ว 3 ใบ แล้วเทสารกำจัดแมลงที่ อ. ไปซื้อมาใส่ลงในแก้วน้ำอัดลมเหล่านั้น จากนั้นจำเลยเรียกผู้ตาย อ. และ ว. ให้ลงจากบนบ้านมาดื่มน้ำอัดลม ส่วนเพื่อนๆ ของเด็กทั้งสามจำเลยให้กลับบ้านไป จำเลยได้ยื่นแก้วน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงให้ผู้ตาย อ. และ ว. ดื่มคนละแก้ว ผู้ตายดื่มจนหมดแก้ว อ. ดื่มไปครึ่งแก้ว ส่วน ว. ดื่มไปเพียงเล็กน้อย จำเลยให้การดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนทันทีที่ถูกจับกุมในวันเกิดเหตุยังไม่ทันได้คิดเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ย่อมมีน้ำหนักรับฟังได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า แต่เนื่องจากจำเลยมีอาชีพเกษตรกรรมและเคยให้ อ. ไปซื้อสารกำจัดแมลงมาเพื่อใช้ในการเกษตรกรรมของจำเลยตามปกติโดยยังมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. รวมทั้งฆ่าตัวตายในขณะนั้น แต่เนื่องจากจำเลยและ ท. ได้ร่วมกันดื่มเบียร์หมดไปหลายขวดอาจเกิดการมึนเมา รวมทั้งเกิดความกลัดกลุ้มและเสียใจประกอบกับความเครียดที่ จ. ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยทิ้งจำเลยและบุตรไปทำงานที่กรุงเทพมหานครโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบก่อน จำเลยจึงคิดฆ่าตัวตายพร้อมๆ กับผู้ตายและ อ. เพื่อเป็นการประชด จ. จึงได้นำสารกำจัดแมลงใส่ในน้ำอัดลมให้ผู้ตายและ อ. ดื่มอันเป็นอารมณ์ชั่ววูบซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดในขณะนั้นก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอให้ฟังว่าจำเลยเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเนื่องจากจำเลยมีเจตนาเดียวคือต้องการให้ผู้ตาย อ. และจำเลยถึงแก่ความตายพร้อมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อาวุธปืนในสถานศึกษา: พยายามฆ่า, การป้องกันตัว, และความร้ายแรงของการกระทำ
จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงสวนมาทาง ส. กับพวก แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนักศึกษาหญิงหลายคนได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 60 อันเป็นความผิดต่อผลของการกระทำโดยพลาดที่เกิดแก่นักศึกษาหญิงผู้เสียหายทุกคนและมีความผิดตามมาตรา 288, 80 อันเป็นผลของการกระทำที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิง ส. กับพวกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองตามกฎหมายอาญา: การใช้มีดป้องกันการถูกยิงเป็นเหตุชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยและผู้เสียหายมีสาเหตุขุ่นข้องหมองใจกันจนต่างฝ่ายต่างหวาดระแวงว่าอีกฝ่ายจะมาทำร้ายตน ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้เสียหายเรียกชื่อจำเลยและชักอาวุธปืนออกมาจากเอว วิญญูชนเช่นจำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายจะใช้อาวุธปืนนั้นยิงจำเลย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตาม ป.อ. มาตรา 68 แล้ว การที่จำเลยหยิบอาวุธมีดพร้าที่วางอยู่พื้นถนนซึ่งเป็นของบุคคลอื่นฟันทำร้ายผู้เสียหายไปเพียงครั้งเดียวแล้ววิ่งหลบหนีไป จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009-4010/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเป็นคนละกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ชักชวนผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปรับประทานข้าวต้มด้วยกัน ระหว่างทางจำเลยที่ 3 จอดรถและรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั่งรถไปด้วยโดยเปลี่ยนให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาจอดในที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 3 วิ่งหนีออกไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรุมชกต่อยผู้เสียหายจนล้มลง ผู้เสียหายแกล้งทำเป็นสลบ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันปลดเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปได้แล้วจึงช่วยกันจับผู้เสียหายโยนลงไปในคลองโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ซึ่งสำเร็จเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายมาแต่แรก การพยายามฆ่าผู้เสียหายเพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง จึงเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยใช้จอบยาวประมาณ 1 เมตรเศษ เป็นจอบขนาดใหญ่ตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะถึง 2 ถึง 3 ครั้งในขณะที่ผู้ตายนอนนิ่งอยู่ ซึ่งจำเลยมีโอกาสที่จะเลือกตีผู้ตายที่ใดก็ได้แต่จำเลยกลับเลือกตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญถึงขนาดกะโหลกศีรษะผู้ตายแตกและบางส่วนหลุดหายไป ทั้งบาดแผลลึกถึงสมองเนื้อสมองหายไปอันแสดงว่าจำเลยตีทำร้ายอย่างรุนแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลในการกระทำของจำเลยได้ว่าอาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ แม้มูลเหตุที่จำเลยไม่พอใจผู้ตายจะไม่ใช่สาเหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตายก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม้ฟืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่รับและพิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ริบไม้ฟืนของกลางไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม้ฟืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่รับและพิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ริบไม้ฟืนของกลางไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ: การพิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ผู้กระทำ
กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด จะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ไม่ได้ แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย และพูดตักเตือนผู้ตายเรื่องการขับรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านว่าไม่ให้ขับเร็วเพราะเกรงว่าจะชนเด็ก แล้วผู้ตายตอบว่าเป็นรถของผู้ตายเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่า มึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกูหากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา ซึ่งเป็นการแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่จะกระทำต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลย จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ