พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ: พฤติการณ์การทำร้ายด้วยอาวุธอันตรายและการยั่วยุ
จำเลยใช้ไม้สนซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดโตพอควร ตีศีรษะผู้เสียหาย 1 ครั้ง โดยเลือกตีที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ การที่กะโหลกศีรษะแตก มีเลือดคั่งในสมองจากการถูกตี แสดงว่าจำเลยตีอย่างแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ทั้งตามความเห็นของแพทย์ผู้รักษาหากแพทย์ไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างทำงานก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายผู้เสียหายให้ขึ้นมาชกกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า จะลุ้นกับรุ่นพ่อ ซึ่งหมายความว่าอยากจะชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นเดียวกับพ่อของผู้เสียหาย แม้คำพูดเช่นนี้ของผู้เสียหายจะไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้นจึงไม่ใช่การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างทำงานก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายผู้เสียหายให้ขึ้นมาชกกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า จะลุ้นกับรุ่นพ่อ ซึ่งหมายความว่าอยากจะชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นเดียวกับพ่อของผู้เสียหาย แม้คำพูดเช่นนี้ของผู้เสียหายจะไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้นจึงไม่ใช่การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8041/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ: การบุกรุกยามวิกาลและการข่มเหงทางจิตใจ
ป. อายุ 18 ปี เป็นบุตรสาวและอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยซึ่งเป็นบิดา แม้ผู้ตายจะเป็นคนรักของ ป. แต่ก็ลักลอบคบหาไปมาหาสู่กันโดยจำเลยและ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ขณะเกิดเหตุเป็นยามวิกาล เวลาถึง 1 นาฬิกาเศษ ผู้ตายแอบเข้ามาในบ้านทางช่องหน้าต่างห้องนอนของ ป. ชั้นบนของบ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องนอนของจำเลยและอยู่กันลำพังเพียงสองต่อสอง ย่อมเป็นการกระทำที่อุกอาจผิดแบบธรรมเนียมประเพณีขัดต่อศีลธรรมอันดี ขาดความเคารพยำเกรงกระทบกระเทือนต่อจิตใจของจำเลยผู้เป็นบิดา ป. และเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุอย่างร้ายแรง นับได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนสั้นติดตัวไปในขณะนั้นเนื่องจากได้ยินเสียงดังผิดปกติในห้องนอนของ ป. ยิงผู้ตายในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญา, อายุความความผิดฐานพาอาวุธ, และการลดโทษจากประโยชน์ต่อการพิจารณา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะ ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นเมื่อสืบพยานโจทก์และโจทก์ร่วมไปได้ 2 ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นส่วนสำคัญเพิ่มเติมว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งมิได้ปรากฏในฟ้องเดิม หาได้เป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดที่ต้องแถลงหรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ไม่ เมื่อเป็นดังนี้ ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจึงเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาล หาได้ปรากฏตั้งแต่ในชั้นสอบสวนไม่ ถือว่าพนักงานสอบสวนยังมิได้มีการสอบสวนในความฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โจทก์ฟ้องคดีในความผิดที่ยังไม่มีการสอบสวนไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในข้อนี้ไม่ได้
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองฯ ตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทจึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 เมื่อนับแต่วันที่ 17 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองฯ ตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทจึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 เมื่อนับแต่วันที่ 17 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ใช่บันดาลโทสะ แม้ถูกยั่วยุ แต่การกระทำเกิดจากความเจ็บแค้นใจเดิม
วันเกิดเหตุตอนเช้า จำเลยไปขอคืนดีกับ ภ. ภรรยา แต่ ภ. ไม่ยอม ต่อมาเวลาประมาณ 12 นาฬิกา จำเลยไปหาผู้ตายที่บริษัทที่เกิดเหตุโดยพกพามีดปลายแหลมติดตัวไปด้วย จำเลยถามผู้ตายว่า "มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม" ผู้ตายตอบว่า "มึงไม่มีน้ำยา กูเลยเล่น" ทำให้จำเลยโมโหจึงชักมีดออกมาเกิดต่อสู้กันและจำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายได้พูดถ้อยคำดังกล่าวจริง แต่จำเลยเป็นฝ่ายไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตาย และจำเลยเป็นฝ่ายถามผู้ตายถึงเรื่องชู้สาวขึ้นก่อน มิใช่ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุ ที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น นั้น ก็เป็นการที่ผู้ตายพูดตอบจำเลย แม้จะพูดในทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดว่าจะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น จึงไม่น่าทำให้จำเลยเกิดโทสะถึงกับต้องฆ่าผู้ตาย ตามรูปการณ์มูลเหตุที่จูงใจให้จำเลยกระทำความผิดน่าจะเกิดจากความเจ็บแค้นใจที่มีอยู่เดิม เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพยายามฆ่าและการแยกความผิดกรรมต่อผู้เสียหายหลายราย
จำเลยใช้มีดดาบปลายแหลมยาว 2 ฟุต ใบมีดกว้าง 1 นิ้ว ซึ่งเป็นมีดดาบที่มีขนาดใหญ่ฟันผู้เสียหายที่ 1 บริเวณกลางหน้าผาก ลึกถึงกะโหลกศีรษะจนกะโหลกศีรษะร้าว หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้แสดงว่า จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 โดยแรงบริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 อาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1
จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ผู้เสียหายที่ 2 จะเข้าไปห้ามจึงถูกจำเลยทำร้ายอีก แสดงว่าในการฟันของจำเลยแต่ละครั้ง ความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการฟันของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าฟันครั้งใดจำเลยมุ่งประสงค์จะฟันผู้เสียหายคนใด มิใช่ฟันในขณะที่ชุลมุนกัน เจตนาที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองจึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ผู้เสียหายที่ 2 จะเข้าไปห้ามจึงถูกจำเลยทำร้ายอีก แสดงว่าในการฟันของจำเลยแต่ละครั้ง ความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการฟันของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าฟันครั้งใดจำเลยมุ่งประสงค์จะฟันผู้เสียหายคนใด มิใช่ฟันในขณะที่ชุลมุนกัน เจตนาที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองจึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม, การจำกัดสิทธิฎีกา, ความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาน และการพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานลักทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง แม้จำเลยจะย้ายศพ จ. ผู้ตายเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตามโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาทำลายพยานหลักฐานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักในข้อหาทำลายพยานหลักฐาน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวแล้วพิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและการขาดอายุความของความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันด่วนไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจาก ร้านอาหารไปโดยไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยที่ 1 กลับมาที่ร้านอาหารแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกันดังกล่าว จึงไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท มีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยที่ 1 กระทำความผิดวันที่ 15 มิถุนายน 2537 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยเองได้.
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท มีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยที่ 1 กระทำความผิดวันที่ 15 มิถุนายน 2537 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ยิงหลายนัดในจุดสำคัญ และเหตุบันดาลโทสะที่ไม่สมเหตุผล
จำเลยเคยรับราชการทหารมาก่อน เป็นผู้มีความคุ้นเคยและสันทัดจัดเจนการใช้อาวุธปืน ย่อมทราบอานุภาพความร้ายแรงของอาวุธนั้นว่าหากถูกอวัยวะสำคัญของบุคคลใดอาจทำให้บุคคลนั้นเสียชีวิตได้ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมหลายนัดที่บริเวณท้องและทรวงอกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญด้วยความโกรธที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมแล้วโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมตามความประสงค์ของจำเลย ย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12060/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม คดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ให้ประหารชีวิต คำให้การรับสารภาพของจำเลยชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 (1) คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืน ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่อาจจะฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ: การใช้อาวุธปืนยิงที่ใบหน้า แม้ถูกทำร้ายด้วยมีด
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69