คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นนทปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,813 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของคำว่า 'รับเลี้ยง' ในความผิดฐานข่มขืนชำเรา ครูต้องมีหน้าที่เลี้ยงดูผู้ถูกกระทำ
คำว่า "รับเลี้ยง" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 นั้น หมายความถึงผู้ที่เป็นครูและมีหน้าที่เลี้ยงผู้ถูกทำร้ายด้วย
ในคดีข่มขืนชำเรา เมื่อได้ความว่าจำเลยเป็นครูสอนผู้เสียหายแต่ไม่ได้เป็นผู้รับเลี้ยงผู้เสียหายด้วย ดังนี้การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นผิดตามมาตรา 247 อีกบทหนึ่ง.
(ฎีกาที่ 260/2477)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617-1618/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนทรัพย์สินในที่เช่า: เจตนาทำให้เสียทรัพย์ vs. ละเมิดและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นไวยาวัจกรของวัด ได้บอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งต้นไม้ที่ปลูกล้ำที่เช่าวัดออกมา เพื่อทางวัดจะได้ขุดคูไปให้ทะลุคลอง ตามที่ได้ตกลงจ้างเขาไว้ โจทก์รับทราบและว่าจะจัดการแล้วต่อมาไม่จัดการ ประวิงเวลาไว้จนสัญญาที่ทางวัดจ้างผู้ขุดจะหมดจำเลยจึงได้เข้าจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและตัดต้นไม้ที่ล้ำนอกเขตเช่า โดยระมัดระวังพยายามให้เกิดการเสียหายน้อยที่สุด เพื่อขุดคลองแล้วนำไปกองไว้ให้โจทก์เช่นนี้ จำเลยยังไม่มีผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์แต่จำเลยต้องรับผิดในการละเมิดที่ทำแก่ทรัพย์ของโจทก์ ไม่ได้รับการยกเว้นตามประมวลแพ่งมาตรา 451 นอกจากค่าเสียหายธรรมดาแล้วศาลยังคิดค่าเสียหายให้ตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 446 อีกโสดหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617-1618/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนทรัพย์สินในที่เช่าเพื่อขุดคลอง แม้มิมีเจตนาทำลายทรัพย์สิน แต่ยังต้องรับผิดในละเมิด
จำเลยเป็นเวยยยาวัจจกรของวัด ได้บอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งต้นไม้ที่ปลูกล้ำที่เข่าวัดออกมา เพื่อทางวัดจะได้ขุดคูไปให้ทะลุคลอง ตามที่ได้ตกลงจ้างเขาไว้ โจทก์รับทราบและว่าจะจัดการ แล้วต่อมาไม่จัดการ ประวิงเวลาไว้จนสัญญาที่ทางวัดจ้างผู้ขุดจะหมด จำเลยจึงได้เข้าจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและตัดต้นไม้ที่ล้ำนอกเขตเช่า โดยระมัดระวังพยายามให้เกิดการเสียหายน้อยที่สุด เพื่อขุดคลองแล้วนำไปกองไว้ให้โจทก์ เช่นนี้จำเลยยังไม่มีผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ แต่จำเลยต้องรับผิดในการละเมิดที่ทำแก่ทรัพย์ของโจทก์ ไม่ได้รับการยกเว้นตามประมวลแพ่ง มาตรา 451 นอกจากค่าเสียหายธรรมดาแล้วศาลยังคิดค่าเสียหายให้ตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 446 อีกโสดหนึ่งด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ การสละการครอบครอง และอายุความฟ้องแย้ง กรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
ในคดีสองสำนวน โจทก์จำเลยต่างผลัดกันเป็นโจทก์ร้องฟ้องกันเกี่ยวกับที่พิพาทรายเดียวกัน แต่คดีหลังฟ้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ดังนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่พิพาทเป็นที่มือเปล่า แม้จำเลยจะรับว่าโจทก์ได้เข้าทำนาในที่พิพาทมาเกิน 1 ปีแล้ว แต่ปรากฎว่าในคดีอีกสำนวนหนึ่ง (ระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้) โจทก์แถลงต่อศาลว่าจะออกจากที่พิพาทไป ดังนี้ถือว่า โจทก์ได้สละการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377 แล้ว โจทก์กลับมาแย่งการครอบครองใหม่ จำเลยจึงฟ้อง (แย้ง) เมื่อนับแต่วันโจทก์แถลงสละการครอบครองจนถึงวันจำเลยฟ้องแย้งยังไม่เกิน 1 ปี คดีของจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรื่องการครอบครองที่ดินไม่ขาดอายุความ แม้จำเลยจะรับว่าโจทก์เคยครอบครองก่อนหน้า หากโจทก์สละการครอบครองแล้วกลับเข้าครอบครองใหม่
ในคดีสองสำนวน โจทก์จำเลยต่างผลัดกันเป็นโจทก์ร้องฟ้องกันเกี่ยวกับที่พิพาทรายเดียวกัน แต่คดีหลังฟ้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ดังนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่พิพาทเป็นที่มือเปล่า แม้จำเลยจะรับว่าโจทก์ได้เข้าทำนาในที่พิพาทมาเกิน 1 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่าในคดีอีกสำนวนหนึ่ง(ระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้) โจทก์แถลงต่อศาลว่าจะออกจากที่พิพาทไป ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้สละการครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1377 แล้ว โจทก์กลับมาแย่งการครอบครองใหม่ จำเลยจึงฟ้อง(แย้ง) เมื่อนับแต่วันโจทก์แถลงสละการครอบครองจนถึงวันจำเลยฟ้องแย้งยังไม่เกิน 1 ปี คดีของจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการบุกรุกศาสนสมบัติ ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแม้โจทก์มิได้นำสืบ
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทและไม่บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขอ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 100 บาทและเดือนต่อๆไปอีกเดือนละ 2 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนเรือนออกไปจากที่พิพาท ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
ตาม พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ มาตรา 43 เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการวัดและสมบัติของวัด จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องความแทนก็ได้
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง การวินิจฉัยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจจึงไม่เป็นการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากฟ้อง (นอกฟ้อง)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดแม้โจทก์จะนำสืบความเสียหายไม่ได้ว่ามีจำนวนแค่ใดแน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 (ฎีกาที่ 1499/2498 และ1494/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสฟ้องคดี, การกำหนดค่าเสียหายจากการละเมิด, และการแก้ไขคำพิพากษา
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทและไม่บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขอ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 100 บาทและเดือนต่อ ๆ ไปอีกเดือนละ 2 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนเรือนออกไปจากที่พิพาท ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
ตาม พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ม. 43 เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการวัดและสมบัติของวัด จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องความแทนก็ได้
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง การวินิจฉัยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจจึงไม่เป็นการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากฟ้อง (นอกฟ้อง)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิด แม้โจทก์จะนำสืบความเสียหายไม่ได้ว่ามีจำนวนแค่ใดแน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. ม. 438.
(ฎีกาที่ 1499/2498 และ 1494/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งทางภาระจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง และเจตนาเดิมของเจ้าของที่ดินไม่มีผล
ทางพิพาทเดิมเป็นของนายฮกโป๊หรือโป๊ะแต่ผู้เดียว แม้ในชั้นต้นเจ้าของเดิมจะมีเจตนาเพียงเพื่อให้ผู้ซึ่งอยู่ในที่ดินของตนได้รับความสะดวกก็ตาม แต่เมื่อต่อมาที่ดินดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นหลายเจ้าของ โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินที่กลายสภาพมานั้นคนละแปลง และผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงของจำเลยมาก่อนจำเลยก็ใช้ขอนขวางทางหรือถนนเพียงเพื่อห้ามไม่ให้ใช้ยวดยานผ่านเพราะจะทำให้ท่อระบายน้ำและถนนเสียหาย แต่ไม่ห้ามผู้คนที่ใช้ทางหรือถนนสายนี้สัญจรไปมา ดังนี้เมื่อโจทก์และผู้ที่อยู่ริมทางหรือถนนพิพาทใช้ทางหรือถนนพิพาทมาหลายสิบปีแล้ว ทางหรือถนนพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมในการที่จะใช้เป็นทางเดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่องของผู้อื่น แม้เจ้าของเดิมมิได้ตั้งเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอม
ทางพิพาทเดิมเป็นของนายฮกโป๊หรือโป๊ะแต่ผู้เดียว แม้ในชั้นต้นเจ้าของเดิมจะมีเจตนาเพียงเพื่อให้ผู้ซึ่งอยู่ในที่ดินของตนได้รับความสดวกก็ตาม แต่เมื่อต่อมาที่ดินดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นหลายเจ้าของ โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินที่กลายสภาพมานั้นคนละแปลง และผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงของจำเลยมาก่อนจำเลยก็ใช้ขอนขวางทางหรือถนนเพียงเพื่อห้ามไม่ให้ใช้ยวดยานผ่านเพราะจะทำให้ท่อระบายน้ำและถนนเสียหาย แต่ไม่ห้ามผู้คนที่ใช้ทางหรือถนนสายนี้สัญจรไปมา ดังนี้เมื่อโจทก์และผู้ที่อยู่ริมทางหรือถนนพิพาทใช้ทางหรือถนนพิพาทมาหลายสิบปีแล้ว ทางหรือถนนพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมในการที่จะใช้เป็นทางเดิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีตามข้อตกลงร่วม: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่คู่ความตกลงเท่านั้น
คู่ความตกลงกันในชั้นชี้สองสถานว่ามีประเด็นข้อเดียวดั่งนี้ ศาลพิจารณาพิพากษาคดีไปในเฉพาะประเด็นที่คู่ความตกลงกันไว้เท่านั้น ศาลย่อมไม่พิจารณาถึงประเด็นอื่น ซึ่งถึงแม้จะปรากฎอยู่ในคำคู่ความก็ตาม เพราะคู่ความตกลงกันแล้วว่าประเด็นอื่นนั้นเป็นอันไม่โต้เถียงกัน.
(เทียบฎีกาที่ 488/2480,ฎีกาที่ 1012/2498)
of 282