พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ vs. ชิงทรัพย์: การแย่งกระเป๋าและโทรศัพท์มือถือ
การที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นกรรมหนึ่งต่างหากและขาดตอนไปแล้ว ต่อมาผู้เสียหายจะหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกระเป๋าถือเพื่อโทรศัพท์ติดต่อสามี จำเลยแย่งกระเป๋าถือแล้วเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่กับเงิน 9,000 บาท ในกระเป๋าถือไป และทิ้งกระเป๋าถือไว้ใต้ถุนบ้าน พฤติการณ์แห่งคดีอาจเป็นไปได้ว่าจำเลยกระทำไปเพียงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายใช้โทรศัพท์ติดต่อกับสามี คดีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตในการเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักหรือชิงโทรศัพท์มือถือ ส่วนเงิน 9,000 บาท เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ จำเลยจึงคืนให้ 8,000 บาท ส่วนอีก 1,000 บาท จำเลยไม่ยอมคืนจนกว่าผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่มีสิทธิเอาเงินไปและไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินไปเพียงเพราะโกรธผู้เสียหาย กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาให้รับฟังได้ว่า จำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จำเลยจึงมีเจตนาทุจริตอันเข้าองค์ประกอบความผิดฐานลักเงินดังกล่าวแล้ว แต่การที่จำเลยดึงกระเป๋าถือโดยยื้อแย่งกันจนสายกระเป๋าขาดติดมือผู้เสียหายโดยไม่ได้ผลักผู้เสียหาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหาย จำเลยไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองรวมอยู่ในข้อหาชิงทรัพย์ แม้โจทก์ฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์มาศาลย่อมลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และการริบของกลางที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 จะต้องเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผ. ทำทีเป็นพูดโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเอาโทรศัพท์ไปในขณะที่ผู้เสียหายให้บริการลูกค้าคนอื่นอยู่ เป็นการเอาไปในขณะเผลอ มิใช่เป็นการฉกฉวยทรัพย์ไปโดยซึ่งหน้าแต่ประการใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเหตุเกิดในเวลากลางคืนและร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) และ 335 (7) ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคสอง ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามมาตรา 336 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 แต่จะพิพากษาลงโทษจำเลยหนักขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
อนึ่ง ทรัพย์ที่ศาลจะสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ได้ ต้องปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อความสะดวกในการพาทรัพย์หลบหนี มิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ทรัพย์ที่ศาลจะสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ได้ ต้องปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อความสะดวกในการพาทรัพย์หลบหนี มิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานซัดทอดร่วมกับคำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกับพวกร่วมกันลักทรัพย์เครื่องยนต์ซึ่งติดตั้งอยู่บนรถไถนาอันเป็นเครื่องกลของผู้เสียหายที่มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมทำนาในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) (12) วรรคสาม ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) (10) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7453/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดลักทรัพย์: การรออยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุและไม่สามารถช่วยเหลือได้ ไม่ถือเป็นตัวการร่วม
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นำจำเลยที่ 2 และ ด. มาที่เกิดเหตุแล้วรออยู่ จากนั้นบุคคลทั้งสองได้ปีนกำแพงเข้าไปแล้วลักลวดทองแดงของกลางภายในบริษัทผู้เสียหายนั้น เห็นได้ว่าบริเวณที่จำเลยที่ 1 รออยู่ห่างจากจุดที่มีการลักทรัพย์ประมาณ 70 เมตร ไม่สามารถมองเห็นภายในบริษัทผู้เสียหายที่เกิดเหตุได้ และไม่สามารถช่วยเหลือ ด. และจำเลยที่ 2 ได้ทันท่วงที ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ให้ความร่วมมือโดยใกล้ชิดกับการที่ ด. และจำเลยที่ 2 ลักทรัพย์ของบริษัทผู้เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนที่ ด. และจำเลยที่ 2 กระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของ ด. และจำเลยที่ 2
คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 และกรณีนี้เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลดโทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ด้วย
คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 และกรณีนี้เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลดโทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยต้องระบุเวลาเกิดเหตุ โจทก์มีหน้าที่นำสืบเพื่อพิสูจน์เวลา
ตามคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายเกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์นั้นมีความหมายว่าเหตุลักทรัพย์เกิดระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงของวันที่ 22 มกราคม 2545 ถึงเวลากลางวันของวันเดียวกัน โดยมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 มาด้วย ตามคำฟ้องโจทก์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์นั้นจึงอาจเป็นเวลากลางคืนก่อนเที่ยง หรือเวลากลางวันก็ได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ระบุว่าลักทรัพย์ในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ในเวลาใดแน่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์เครื่องมือเกษตรและการปรับบทลงโทษตามมาตรา 335 วรรคสาม โดยการบรรยายฟ้องต้องระบุว่าเป็นเครื่องกลหรือเครื่องจักร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเครื่องสูบน้ำซึ่งเป็นเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมทำนาไปโดยทุจริต แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเครื่องสูบน้ำเป็นเครื่องกลหรือเครื่องจักรตามที่ระบุไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 วรรสาม การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 วรรคสาม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ในเวลากลางคืน แม้จำเลยรับสารภาพ หากโจทก์มิได้นำสืบพิสูจน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 13 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์หลายรายการรวมราคา 65,100 บาท ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถาน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์ แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์: จำเลยต้องได้รับการยกประโยชน์เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์เวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนติดต่อกันวัน เวลาใดไม่ปรากฏชัด จำลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักทรัพย์แผ่นอะลูมิเนียมของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) นั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์โทษที่หนักขึ้นตาม ม.336 ทวิ และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้อระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่งหาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้แต่ยังคงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) (7) (8) วรรคสอง ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับบทจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12584/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ที่ไม่ตรงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาเงินของผู้เสียหายหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์สืบสม แต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า