พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นเพื่อความผิดฐานยักยอก จำเลยเพียงลงชื่อในโฉนดแทนโจทก์ ไม่ได้ครอบครองจริง จึงไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 นั้น นอกจากจะมีการเบียดบังเอาทรัพย์ไปโดยทุจริตแล้ว จะต้องได้ความด้วยว่าผู้ที่เบียดบังนั้นได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลย (หุ้นส่วนของห้างโจทก์) เป็นแต่เพียงมีชื่อในโฉนดพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริงเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เข้าเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความหมายแห่งมาตรา 352 แม้จำเลยเอาที่ดินโฉนดดังกล่าวไปทำสัญญาขายฝากให้แก่ผู้มีชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากโจทก์ จำเลยก็ไม่ม่ความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์และอำนาจฟ้องในคดีอาญา ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องได้หากความผิดเกิดขึ้นระหว่างที่ตนเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2514 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 นั้น แสดงว่าจำเลยได้กระทำความผิดระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ประกอบด้วยมาตรา 354
น. มิได้ยกที่ดินโฉนดพิพาทให้จำเลย จำเลยได้รับโฉนดพิพาทจาก น. ไว้ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ น. และเมื่อ น. เพิกถอนการมอบอำนาจที่ให้จัดการทรัพย์สินแล้ว จำเลยก็ยังไม่คืนให้ ทั้ง ๆ ที่ น. และโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทวงถาม นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทอีกด้วย นั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาโฉนดพิพาทเป็นของตนโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2488 การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาตัวโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเวลาหลังจากที่ น. ได้ถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้น ในวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยจึงมิใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของ น. กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 353 และ 354 แม้ น. จะถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยจัดการแล้ว จำเลยก็ต้องมีหน้าที่มอบทรัพย์สินคืนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของ น. อยู่ในวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
ศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จะตรวจคำคู่ความใด ๆ ที่ยื่นไว้ต่อศาลว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าโจทก์ยังมิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลสำหรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งให้บริบูรณ์ ก็มีอำนาจสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาล คือให้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ได้ และมาตรา 18 ก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องสั่งเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบก่อนมีคำพิพากษา จึงชอบที่จะสั่งให้โจทก์จัดการเสียค่าธรรมเนียมศาลให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษาได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ เพราะจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดนั้น ถือว่ามิได้ยกขึ้นมาว่าในศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้ แต่เนื่องจากวินิจฉัยฎีกาโจทก์แล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยปัญหานี้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2518)
น. มิได้ยกที่ดินโฉนดพิพาทให้จำเลย จำเลยได้รับโฉนดพิพาทจาก น. ไว้ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ น. และเมื่อ น. เพิกถอนการมอบอำนาจที่ให้จัดการทรัพย์สินแล้ว จำเลยก็ยังไม่คืนให้ ทั้ง ๆ ที่ น. และโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทวงถาม นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทอีกด้วย นั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาโฉนดพิพาทเป็นของตนโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2488 การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาตัวโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเวลาหลังจากที่ น. ได้ถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้น ในวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยจึงมิใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของ น. กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 353 และ 354 แม้ น. จะถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยจัดการแล้ว จำเลยก็ต้องมีหน้าที่มอบทรัพย์สินคืนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของ น. อยู่ในวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
ศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จะตรวจคำคู่ความใด ๆ ที่ยื่นไว้ต่อศาลว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าโจทก์ยังมิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลสำหรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งให้บริบูรณ์ ก็มีอำนาจสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาล คือให้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ได้ และมาตรา 18 ก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องสั่งเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบก่อนมีคำพิพากษา จึงชอบที่จะสั่งให้โจทก์จัดการเสียค่าธรรมเนียมศาลให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษาได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ เพราะจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดนั้น ถือว่ามิได้ยกขึ้นมาว่าในศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้ แต่เนื่องจากวินิจฉัยฎีกาโจทก์แล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยปัญหานี้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกโฉนดและการฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก จำเลยต้องคืนโฉนด แต่ไม่พอฟังว่ามีการทุจริตเบียดบัง
น. ให้จำเลยจัดการทรัพย์สิน มอบโฉนดให้ ต่อมาได้ถอนอำนาจ จำเลยไม่คืนโฉนด แต่ร้องขอต่อศาลให้แสดงกรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เป็นแต่จำเลยแสดงว่าประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ยังไม่เป็นการเบียดบังเอาเป็นของตน ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกโฉนด
น. ถอนจำเลยจากผู้จัดการทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่คืนโฉนด ไม่มีหน้าที่จัดการต่อไปแล้ว จึงไม่ใช่ผู้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ การไม่คืนโฉนดไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 353
ผู้จัดการมรดกฟ้องว่าจำเลยยักยอกโฉนดของเจ้ามรดกระหว่างที่ศาลตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องตาม มาตรา 352 ได้
ศาลสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลให้ครบในคำขอให้คืนโฉนดก่อนมีคำพิพากษา ศาลสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ศาลไม่รับเพราะอุทธรณ์เกิน 15 วันเมื่อโจทก์ยังฎีกาให้ลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอีกได้ แม้ถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์เพราะเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เมื่อศาลฎีกายกฟ้องโจทก์อยู่แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในข้อนี้
น. ถอนจำเลยจากผู้จัดการทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่คืนโฉนด ไม่มีหน้าที่จัดการต่อไปแล้ว จึงไม่ใช่ผู้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ การไม่คืนโฉนดไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 353
ผู้จัดการมรดกฟ้องว่าจำเลยยักยอกโฉนดของเจ้ามรดกระหว่างที่ศาลตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องตาม มาตรา 352 ได้
ศาลสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลให้ครบในคำขอให้คืนโฉนดก่อนมีคำพิพากษา ศาลสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ศาลไม่รับเพราะอุทธรณ์เกิน 15 วันเมื่อโจทก์ยังฎีกาให้ลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอีกได้ แม้ถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์เพราะเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เมื่อศาลฎีกายกฟ้องโจทก์อยู่แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ความผิดฐานฉ้อโกงที่เกิดจากหลายท้องที่ ศาลแขวงธนบุรีมีอำนาจพิจารณา
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,84 โดยบรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาวอำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค และท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชี ต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การกระทำความผิดหลายท้องที่ถือเป็นที่เกิดเหตุทั้งหมด
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353, 84 โดยบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยสุจริตด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คและท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก.สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเองอ.นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลายๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ.ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูงๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ.ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต และทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ส่วนตัว ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507 รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเอง อ. นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลาย ๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ. ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูง ๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ. ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตและทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ตัวแทนครอบครองทรัพย์สินแทนตัวการ ยักยอกทรัพย์เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความอาจยกขึ้นอ้างได้ในชั้นฎีกา
จำเลยทำงานอยู่กับโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อและเก็บเงินจากลูกค้า จำเลยรับเช็คของลูกค้าโจทก์ร่วมมาในฐานะเป็นผู้รับชำระหนี้แทนโจทก์ร่วม มิใช่ในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายลูกค้า จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเช็คของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทน มีหน้าที่ต้องนำเช็คหรือเงินตามเช็คนั้นส่งให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารและเบียดบังเอาไว้โดยทุจริตโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องจำเลยได้และการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 353 เพราะจำเลยมิได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม
จำเลยทำงานอยู่กับโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อและเก็บเงินจากลูกค้า จำเลยรับเช็คของลูกค้าโจทก์ร่วมมาในฐานะเป็นผู้รับชำระหนี้แทนโจทก์ร่วม มิใช่ในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายลูกค้า จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเช็คของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทน มีหน้าที่ต้องนำเช็คหรือเงินตามเช็คนั้นส่งให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารและเบียดบังเอาไว้โดยทุจริตโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องจำเลยได้และการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 353 เพราะจำเลยมิได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การยักยอกเช็คในฐานะตัวแทนจำหน่าย
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความอาจยกขึ้นอ้างได้ในชั้นฎีกา
จำเลยทำงานอยู่กับโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อและเก็บเงินจากลูกค้า จำเลยรับเช็คของลูกค้าโจทก์ร่วมมาในฐานะเป็นผู้รับชำระหนี้แทนโจทก์ร่วม มิใช่ในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายลูกค้า จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเช็คของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทน มีหน้าที่ต้องนำเช็คหรือเงินตามเช็คนั้นส่งให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารและเบียดบังเอาไว้โดยทุจริตโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องจำเลยได้ และการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 353เพราะจำเลยมิได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม
จำเลยทำงานอยู่กับโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมให้จำเลยเป็นผู้ติดต่อและเก็บเงินจากลูกค้า จำเลยรับเช็คของลูกค้าโจทก์ร่วมมาในฐานะเป็นผู้รับชำระหนี้แทนโจทก์ร่วม มิใช่ในหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายลูกค้า จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเช็คของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทน มีหน้าที่ต้องนำเช็คหรือเงินตามเช็คนั้นส่งให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยนำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารและเบียดบังเอาไว้โดยทุจริตโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องจำเลยได้ และการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 353เพราะจำเลยมิได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานยักยอกทรัพย์: เจ้าหน้าที่รับเงินนอกหน้าที่ราชการ
จำเลยเป็นเสมียนประจำแผนกศึกษาธิการอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับ การรับจ่ายเงินได้ยักยอกเงินค่าสมัครอบรมสอบวิชาชุดครูซึ่งแผนกศึกษาธิการอำเภอเรียกเก็บจากผู้สมัคร แต่หน้าที่รับสมัครและรับเงินดังกล่าวนี้ผู้ช่วยศึกษาธิการมีคำสั่งให้ ป. ครูช่วยราชการแผนกศึกษาธิการอำเภอเป็นผู้ทำ ป. ไปราชการ ณ.ครูช่วยราชการได้รับสมัครและรับเงินค่าสมัครไว้แทน ป. แล้วได้มอบเงินให้จำเลยเก็บรักษาไว้ การที่จำเลยรับเงินมาเก็บรักษาไว้นี้จึงมิใช่จัดการเก็บรักษาไว้ตามหน้าที่ราชการของจำเลยเมื่อจำเลยยักยอกไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 147