พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายต่อทรัพย์สินจากการมอบหมายจัดการทรัพย์: ประโยชน์ที่เสียหายต้องเป็นทรัพย์สินของเจ้าของ
การมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 นั้น หาจำต้องเป็นการมอบหมายให้จัดการเพื่อหาหรือให้ได้ประโยชน์อย่างใดเสมอไปไม่ ฉะนั้น ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายจึงมิใช่เพียงประโยชน์อันได้จากการจัดการทรัพย์เท่านั้น แต่อาจเป็นประโยชน์อื่นใดก็ได้ ซึ่งข้อสำคัญมีเพียงว่า ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์เท่านั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ยางรถโจทก์เสียหาย เพลา เครื่องยนต์ ตัวถัง จะต้องซ่อมแซมรวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 35,000 บาท เป็นการแสดงให้เป็นได้ว่าความเสียหายในตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ได้รับล้วนเป็นประโยชน์ของโจทก์ที่เป็นเงินอันอยู่ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงการทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายเท่านั้นไม่ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้วศาลชั้นต้นก็ต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง แล้วสั่งไปตามกระบวนความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายจัดการทรัพย์สิน การเสียหายต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้อง
การมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 นั้น หาจำต้องเป็นการมอบหมายให้จัดการเพื่อหาหรือให้ได้ประโยชน์อย่างใดเสมอไปไม่ฉะนั้น ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายจึงมิใช่เพียงประโยชน์อันได้จากการจัดการทรัพย์เท่านั้นแต่อาจเป็นประโยชน์อื่นใดก็ได้ซึ่งข้อสำคัญมีเพียงว่า ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์เท่านั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ยางรถโจทก์เสียหาย เพลาเครื่องยนต์ ตัวถังจะต้องซ่อมแซมรวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 35,000 บาท เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าความเสียหายในตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ได้รับล้วนเป็นประโยชน์ของโจทก์ที่เป็นเงินอันอยู่ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิ้นหาใช่เป็นเพียงการทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายเท่านั้นไม่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง แล้วสั่งไปตามกระบวนความ(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1-2/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียหายต่อทรัพย์สินจากการจัดการทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ไม่จำกัดเฉพาะประโยชน์ที่ได้จากการจัดการ
การมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 นั้น. หาจำต้องเป็นการมอบหมายให้จัดการเพื่อหาหรือให้ได้ประโยชน์อย่างใดเสมอไปไม่. ฉะนั้น ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายจึงมิใช่เพียงประโยชน์อันได้จากการจัดการทรัพย์เท่านั้น. แต่อาจเป็นประโยชน์อื่นใดก็ได้.ซึ่งข้อสำคัญมีเพียงว่า ประโยชน์ที่เกิดการเสียหายนั้นจะต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์เท่านั้น. โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ยางรถโจทก์เสียหาย เพลาเครื่องยนต์ ตัวถัง จะต้องซ่อมแซมรวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 35,000 บาท. เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าความเสียหายในตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ได้รับล้วนเป็นประโยชน์ของโจทก์ที่เป็นเงินอันอยู่ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิ้น. หาใช่เป็นเพียงการทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายเท่านั้นไม่. เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว. ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง แล้วสั่งไปตามกระบวนความ.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1-2/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021-1022/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: ศาลวินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้ และโจทก์รู้ตัวผู้กระทำผิด
คดีอาญา เมื่อคดีขาดอายุความศาลยกอายุความขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ความผิดฐานยักยอกและฐานเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นกระทำผิดหน้าที่ อันเป็นความผิดยอมความได้ ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีขาดอายุความ แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลพิพากษายกฟ้องได้
ความผิดฐานยักยอกและฐานเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นกระทำผิดหน้าที่ อันเป็นความผิดยอมความได้ ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีขาดอายุความ แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องทุกข์ของเลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ และการเริ่มนับระยะเวลาการร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานยักยอก
เลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้รับมอบหมายจากกรรมการสองนายของสำนักงานฯ ให้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันสำนักงานได้ในการดำเนินงานในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอาคารสงเคราะห์ ฉะนั้นเลขานุการฯ จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3)
การร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ซึ่งต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดนั้น ต้องถือว่าสำนักงานอาคารสงเคราะห์เพิ่งทราบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลให้เลขานุการของสำนักงานทราบ เพราะเลขานุการเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ จะนับแต่วันทราบของเจ้าหน้าที่สำนักงานซึ่งไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ไม่ได้.
การร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ซึ่งต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดนั้น ต้องถือว่าสำนักงานอาคารสงเคราะห์เพิ่งทราบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลให้เลขานุการของสำนักงานทราบ เพราะเลขานุการเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ จะนับแต่วันทราบของเจ้าหน้าที่สำนักงานซึ่งไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของเลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ และการเริ่มนับระยะเวลาการร้องทุกข์ในคดีอาญา
เลขานุการสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้รับมอบหมายจากกรรมการสองนายของสำนักงานฯ ให้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันสำนักงานได้ในการดำเนินงานในอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอาคารสงเคราะห์ ฉะนั้นเลขานุการฯ จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3)
การร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ซึ่งต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดนั้น ต้องถือว่าสำนักงานอาคารสงเคราะห์เพิ่งทราบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลให้เลขานุการของสำนักงานทราบ เพราะเลขานุการเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้จะนับแต่วันทราบของเจ้าหน้าที่สำนักงานซึ่งไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ไม่ได้
การร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ซึ่งต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดนั้น ต้องถือว่าสำนักงานอาคารสงเคราะห์เพิ่งทราบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลให้เลขานุการของสำนักงานทราบ เพราะเลขานุการเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ได้จะนับแต่วันทราบของเจ้าหน้าที่สำนักงานซึ่งไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสำนักงานอาคารสงเคราะห์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96-97/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม้ประดู่และการฟ้องยักยอกทรัพย์: สัญญาซื้อขาย vs. ความผิดอาญา
เมื่อคดีฟังได้ว่าโจทก์จำเลยเป็นพ่อค้าไม้ และเคยติดต่อซื้อขายไม้มาด้วยกันหลายครั้ง ครั้งที่เกิดเหตุโจทก์อ้างว่าได้รับโทรเลขจากจำเลยว่า อยากได้ไม้ประดู่ให้ส่งเงินไปให้จำเลย โจทก์จึงส่งเงินไปแสดงว่าโจทก์ส่งเงินให้จำเลยเพราะโจทก์อยากได้ไม้ประดู่ตามข้อเสนอของจำเลย โจทก์จึงส่งเงินไปให้จำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้ซื้อจำเลยเป็นผู้ขายหาใช่จำเลยเป็นผู้รับเงินในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ หรือโจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยไว้ซื้อไม้แทนโจทก์ไม่กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็น ผู้ครอบครองทรัพย์ของโจทก์ การที่จำเลยไม่ส่งไม้หรือไม่คืนเงิน ให้โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาทางแพ่งดังนี้ จึงไม่เป็น ความผิดฐานยักยอกทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกกระทำ
โจทก์จำเลยเป็นลูกจ้างหน่วยแจ๊สแม็ค จังหวัดอุดรธานี จำเลยได้รับมอบหมายเช็คจากสำนักงานกรุงเทพฯเพื่อให้จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นเงินเดือนที่โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างเมื่อจำเลยไม่ได้จ่ายให้แก่โจทก์ โจทก์ยังไม่ได้รับไป เช็คนั้นก็ยังไม่เป็นของโจทก์ เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของเช็ค การกระทำที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตยักยอกเช็คของโจทก์ไป จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อทรัพย์ของโจทก์ ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย และไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชอบที่จะยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกกระทำ
โจทก์จำเลยเป็นลูกจ้างหน่วยแจ๊สแม็ค จังหวัดอุดรธานี จำเลยได้รับมอบหมายเช็คจากสำนักงานกรุงเทพฯเพื่อให้จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นเงินเดือนที่โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ได้จ่ายให้แก่โจทก์ โจทก์ยังไม่ได้รับไป เช็คนั้นก็ยังไม่เป็นของโจทก์เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของเช็ค การกระทำที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตยักยอกเช็คของโจทก์ไป จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อทรัพย์ของโจทก์ ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย และไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชอบที่จะยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานยักยอกต้องมีลักษณะเป็นผู้ประกอบอาชีพที่น่าเชื่อถือ มิใช่ความสัมพันธ์ส่วนตัว
การกระทำผิดฐานยักยอกตามมาตรา 154 จะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้กระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้ว่างใจของประชาชนด้วย มิใช่เป็นเรื่องระหว่างกันเองโดยเฉพาะ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงวา จำเลยมีอาชีพรับแก้เครื่องยนต์ แม้จะบรรยายต่อไปว่า "เป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน" ด้วยก็ตาม ก็เป็นเพียงประโยคประกอบซึ่งโจทก์ขยายความออกไปตามความเห็นของโจทก์เองเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าจำเลยกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอย่างไร หรือเพราะเหตุใดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354
การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงวา จำเลยมีอาชีพรับแก้เครื่องยนต์ แม้จะบรรยายต่อไปว่า "เป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน" ด้วยก็ตาม ก็เป็นเพียงประโยคประกอบซึ่งโจทก์ขยายความออกไปตามความเห็นของโจทก์เองเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าจำเลยกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอย่างไร หรือเพราะเหตุใดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354