คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 353

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอก: ต้องพิสูจน์การกระทำในฐานะผู้มีอาชีพที่ไว้วางใจได้
การกระทำผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354 จะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้กระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนด้วยมิใช่เป็นเรื่องระหว่างกันเองโดยเฉพาะ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยมีอาชีพรับจ้างแก้เครื่องยนต์ แม้จะบรรยายต่อไปว่า "เป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน" ด้วยก็ตามก็เป็นเพียงประโยคประกอบซึ่งโจทก์ขยายความออกไปตามความเห็นของโจทก์เองเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดว่าจำเลยกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอย่างไรหรือเพราะเหตุใดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางหลวง ยักยอกเงิน
จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้รัฐบาล โดยขายบัตรให้แก่ผู้ใช้ทางหลวงสายพหลโยธินที่ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตจำเลยได้นำบัตรของด่านรังสิตที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนขายให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ซึ่งผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตแล้วยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมขายบัตรนั้นเป็นประโยชน์ของตนเสีย ย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ผิดมาตรา 353.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางหลวง ยักยอกเงินเข้าตนเอง
จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้รัฐบาลโดยขายบัตรให้แก่ผู้ใช้ทางหลวงสายพหลโยธินที่ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตจำเลยได้นำบัตรของด่านรังสิตที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนขายให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ซึ่งผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตแล้วยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมขายบัตรนั้นเป็นประโยชน์ของตนเสียย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ผิดตามมาตรา 353

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 และการเรียกร้องดอกเบี้ย
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการสาขา, การฟ้องเรียกดอกเบี้ย, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 354
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 890/2503) 2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาล เช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้ 3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว 4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (ข้อ 2 โดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์ต้องระบุวันเวลาการกระทำความผิด แม้โจทก์ไม่ทราบวันเวลาที่จำเลยมีเจตนาทุจริตก็ต้องระบุช่วงเวลา
บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2502เวลากลางวัน โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปซื้อกระบือมาให้โจทก์ จำเลยรับรองว่าจะซื้อมาให้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2503 ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็มิได้นำกระบือมาให้ ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2503 โจทก์จึงทราบว่าจำเลยได้ยักยอกเอาเงินที่โจทก์มอบให้นั้นเสีย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ฟ้องเช่นนี้หาได้กล่าวถึงวันเวลาที่จำเลยมีเจตนาทุจริตยักยอกเงินนั้นไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องยักยอกทรัพย์ไม่สมบูรณ์ เหตุไม่ระบุวันเวลาที่จำเลยมีเจตนาทุจริต
บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2502 เวลากลางวัน โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปซื้อกระบือมาให้โจทก์ จำเลยรับรองว่าจะซื้อมาให้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2503 ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็มิได้นำกระบือมาให้ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2503 โจทก์จึงทราบว่าจำเลยได้ยักยอกเอาเงินที่โจทก์มอบให้นั้นเสีย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ฟ้องเช่นนี้หาได้กล่าวถึงวันเวลาที่จำเลยมีเจตนาทุจริตยักยอกเงินนั้นไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอก การปรับกระทงความผิด และหลักการใช้กฎหมายที่เป็นผลดีต่อจำเลย
คดีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน อันเป็นความผิดหลายกระทง บางกระทงควบเกี่ยวระหว่างใช้กฎหมายเก่าและใหม่ ไม่แน่ว่าจำเลยกระทำความผิดตามกฎหมายใดนั้น ศาลต้องพิจารณาใช้กฎหมายที่เป็นผลดีแก่จำเลย
จำเลยรับราชการตำแหน่งเสมียนตราได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับและจำหน่ายสลากกินแบ่ง เมื่อบังอาจเบียดบังเงินค่าขายสลากกินแบ่งไว้เป็นของตนโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานยักยอกธรรมดา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ใช่มาตรา 353, หรือมาตรา 354
การกระทำผิดหลายกระทงซึ่งมีโทษหนักเท่ากันนั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยกระทงใดกระทงหนึ่งแต่กระทงเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดฐานยักยอก การพิจารณาโทษตามกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย และหลักการลงโทษกรรมเดียว
คดีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันอันเป็นความผิดหลายกระทง บางกระทงคาบเกี่ยวระหว่างใช้กฎหมายเก่าและใหม่ไม่แน่ว่าจำเลยกระทำความผิดตามกฎหมายใดนั้น ศาลต้องพิจารณาใช้กฎหมายที่เป็นผลดีแก่จำเลย
จำเลยรับราชการตำแหน่งเสมียนตราได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับและจำหน่ายสลากกินแบ่ง เมื่อบังอาจเบียดบังเงินค่าขายสลากกินแบ่งไว้เป็นของตนโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานยักยอกธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ใช่ มาตรา 353 หรือ มาตรา 354
การกระทำผิดหลายกระทงซึ่งมีโทษหนักเท่ากันนั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยกระทงใดกระทงหนึ่งแต่กระทงเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกาคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเฉพาะจำนวนทรัพย์ที่ยักยอก ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอก ให้จำคุก 6 เดือน รอการลงโทษไว้3 ปีและให้ใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 120,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย 66,000 บาท นอกนั้นยืน ดังนี้ คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ฉะนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าจำเลยยักยอกเงินเพียง 66,000 บาท จึงเป็นอันยุติ ซึ่งศาลจะต้องถือตามในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง
of 15