พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วนรับเหมา: ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2โดยโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ป.อ.อาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: ผู้จัดการสหกรณ์นำเงินค่าข้าวไปใช้ส่วนตัว มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้นำปลายข้าวหักจำนวน 360 กระสอบของโจทก์ร่วมไปขายให้แก่ ค. นั้นจำเลยไม่ได้ทำในนามส่วนตัว แต่ได้ทำในนามของโจทก์ร่วมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม ดังนั้น เงินที่ค.ส่งมาชำระค่าสินค้าโดยผ่านเข้าบัญชีของจำเลยจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วม แม้ ค.จะส่งฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของจำเลยแต่ก็เพื่อให้จำเลยนำไปชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมอีกทีหนึ่งโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ จำเลยได้ และเมื่อฟังว่าเงินในบัญชีของจำเลยเป็นเงิน ค่าสินค้าของโจทก์ร่วมที่ผู้ซื้อสินค้ามาชำระให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมจึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาเงินนั้นไว้ไม่ให้สูญหาย แต่จำเลยกลับถอนเงินจำนวนนั้นไปเสียไม่ส่งคืนให้โจทก์ร่วมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กรณีหาใช่ผู้ซื้อสินค้าฝากเงิน ค่าสินค้าไว้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปชำระให้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนใดไปชำระก็ได้ตามฎีกาของจำเลยไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อ จากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลได้สอบถามจำเลยว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่จนกระทั่งบัดนี้แม้โจทก์จะฎีกาอ้างว่าได้มีคำพิพากษาแล้วในคดีอาญาก่อนก็ตามแต่ไม่ปรากฏเป็นที่กระจ่างชัดว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ศาลจึงไม่อาจนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก: เงินจากการขายสินค้าตกเป็นของโจทก์ร่วม แม้ผู้ซื้อจะแจ้งความฉ้อโกงกรรมการ
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก. 2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก. จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. กรรมการของบริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก. แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก. ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก. ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินของโจทก์ร่วม: ผู้จัดการมีหน้าที่ส่งมอบเงินแต่ไม่ส่งมอบถือเป็นความผิดฐานยักยอก
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก.2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก.จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส.กรรมการของบริษัทก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก.แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก.ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก.ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: เงินจากการขายสินค้าตกเป็นของผู้เสียหาย แม้มีการแจ้งความฉ้อโกงคู่ขนาน
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก. 2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก. จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. กรรมการของบริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก. แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก. ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก. ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเบียดบังเงินค่าเช่ารายการ ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรมิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตหน้าที่ - การเบียดบังผลประโยชน์สถานีวิทยุ - ความผิด ป.อ.มาตรา 353
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือก และไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน
โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้ บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้ บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968-7969/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์และการปลอมเอกสารสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีหน้าที่จัดเก็บค่าบำรุงสมาชิกและค่าตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำพร้อมทั้งนำเงินดังกล่าวมาฝากธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วมในแต่ละวันดังนั้นในแต่ละวันแม้จำเลยจะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่สมาชิกไม่ตรงกับจำนวนเงินที่รับจากสมาชิกกี่ฉบับก็ตามแต่การจะตรวจสอบรู้ว่าจำเลยยักยอกเงินไปจำนวนเท่าใดก็ต้องดูจากยอดเงินที่จำเลยนำฝากธนาคารในแต่ละวันว่าขาดหายไปเท่าใดดังนั้นจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานยักยอกในแต่ละวันเพียงกรรมเดียวเท่านั้นเมื่อจำเลยกระทำผิดฐานยักยอก68วันจำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก68กรรมหรือกระทง การปลอมเอกสารสิทธิจำเลยกระทำไปเพื่อปกปิดการกระทำผิดของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับการที่จำเลยยักยอกเงินดังกล่าวโดยมีเจตนาจะใช้เอกสารสิทธิปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของโจทก์ร่วมนั่นเองความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิกับความผิดฐานยักยอกจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องโอนที่ดินยักยอกคืนกองมรดก หากไม่สามารถโอนได้จึงต้องใช้ราคา แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า"ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน4,974,987.50บาทแก่เจ้าของ"นั้นหมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคาหาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้วและจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ไปตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นกรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์ยักยอกให้กองมรดก แม้เจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้ว จำเลยต้องโอนทรัพย์หรือชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า "ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ" นั้น หมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดก หากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคา หาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก