คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 353

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีอาญา: ผู้เสียหายที่แท้จริงคือใคร?
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วมหลอกลวงลูกค้าของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมขึ้นราคาสินค้า ลูกค้าหลงเชื่อซื้อตามนั้น เงินส่วนที่ขายเกินกำหนดเป็นเงินของลูกค้าส่งมอบให้จำเลยเพราะถูกจำเลยหลอกลวง มิใช่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 จึงเป็นเงินของลูกค้าผู้ถูกหลอกลวง หาใช่เงินของโจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหาย เมื่อลูกค้าผู้เป็นเจ้าของเงินซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์: ศาลถือเป็นผู้มอบหมายทรัพย์ได้
ผู้มอบหมายทรัพย์ให้ผู้ครอบครองอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352นั้นมิได้หมายความเฉพาะแต่เจ้าของทรัพย์ศาลซึ่งมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ถือว่าเป็นผู้มอบหมายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกครอบครองหากผู้จัดการมรดกเบียดบังเอาไปโดยทุจริต อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,354 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของธนาคาร เมื่อมีหลักประกันเพียงพอและโอกาสชำระหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสุขุมวิทได้ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าหลายคนโดยไม่มีหลักทรัพย์เป็น ประกัน อันเป็นการเกินอำนาจที่โจทก์ร่วมได้ให้ไว้ฝ่ายตรวจสอบฯ ของโจทก์ร่วมทราบและได้แจ้งให้จำเลยจัดการแก้ไข จำเลยได้โอนหนี้ของลูกค้าดังกล่าวไปเป็นหนี้ ของ บริษัท บ. รายเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีทางจะได้รับชำระหนี้ จากบริษัท บ. และจากหลักทรัพย์ต่างๆที่ บริษัท บ. เสนอเป็นประกันหนี้ โดยสิ้นเชิงและการที่จำเลย ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว จำเลยไม่ได้รับประโยชน์ แต่อย่างใดดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเชื่อไม่มีหลักประกันไม่ทำให้เกิดความเสียหาย แม้ผิดหน้าที่ หากมีหลักประกันเพียงพอและโอกาสชำระหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสุขุมวิท ได้ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าหลายคนโดยไม่มีหลักทรัพย์เป็น ประกัน อันเป็นการเกินอำนาจที่โจทก์ร่วมได้ให้ไว้ ฝ่ายตรวจสอบฯ ของโจทก์ร่วมทราบและได้แจ้งให้จำเลยจัดการแก้ไข จำเลยได้โอนหนี้ของลูกค้าดังกล่าวไปเป็นหนี้ ของ บริษัท บ. รายเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีทางจะได้รับชำระหนี้ จากบริษัท บ. และจากหลักทรัพย์ต่างๆ ที่ บริษัท บ. เสนอเป็นประกันหนี้ โดยสิ้นเชิง และการที่จำเลย ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว จำเลยไม่ได้รับประโยชน์ แต่อย่างใด ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21, 42 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21,42 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกและปลอมเอกสาร: การถอนฟ้องและขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 353 ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินที่ขาดแก่โจทก์ร่วม ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265 ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ สิทธิฟ้องของอัยการยังไม่ระงับ
เมื่อมีลูกค้าแต่ละรายนำเงินมาชำระ จำเลยก็ปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินให้มีจำนวนเงินน้อยกว่าเงินที่รับจริงแล้วยักยอกเงินส่วนที่เกินไว้นั้น การปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับหนึ่งแล้วยักยอกเอาเงินจำนวนที่เกินกว่าสำเนาใบเสร็จนั้นไว้ครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่เวลายักยอกเงินจำนวนนั้นแล้ว การที่จำเลยรวบรวมเงินแต่ละวันส่งให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วม เป็นแต่เพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ของจำเลย หาใช่เป็นการยักยอกเงินในตอนนั้นไม่
สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกและปลอมเอกสาร การถอนฟ้องอาญา และการกำหนดจำนวนกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 353 ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินที่ขาดแก่โจทก์ร่วม ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265 ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้สิทธิฟ้องของอัยการยังไม่ระงับ
เมื่อมีลูกค้าแต่ละรายนำเงินมาชำระ จำเลยก็ปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินให้มีจำนวนเงินน้อยกว่าเงินที่รับจริงแล้วยักยอกเงินส่วนที่เกินไว้นั้นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับหนึ่งแล้วยักยอกเอาเงินจำนวนที่เกินกว่าสำเนาใบเสร็จนั้นไว้ครั้งหนึ่ง ย่อมเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่เวลายักยอกเงินจำนวนนั้นแล้ว การที่จำเลยรวบรวมเงินแต่ละวันส่งให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วม เป็นแต่เพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ของจำเลย หาใช่เป็นการยักยอกเงินในตอนนั้นไม่
สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าได้มีการออกต้นฉบับใบเสร็จรับเงินมีข้อความตรงกับสำเนาใบเสร็จเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อันจะถือว่าเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549-1550/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์ มาตรา 354 ต้องแสดงว่าผู้กระทำความผิดกระทำในฐานะผู้มีอาชีพที่ไว้วางใจ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 จะต้องได้ความว่าผู้กระทำการยักยอกได้กระทำลงในฐานเป็นผู้มีอาชีพและธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน มิใช่เป็นเรื่องความไว้วางใจกันเองระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำความผิด
ฟ้องโจทก์เพียงแต่บรรยายอาชีพของจำเลยว่ารับราชการเป็นทหารอากาศเป็นอาชีพที่ไว้วางใจของประชาชน เป็นฟ้องที่ไม่แสดงให้เห็นว่ากิจการที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจัดการนั้นเกี่ยวข้องกับอาชีพรับราชการเป็นทหารอากาศของจำเลยอย่างไรพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจที่กล่าวในฟ้อง แต่กลับเข้าใจได้ว่าโจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการตามฟ้องเพราะมีความไว้วางใจกันเองโดยไม่เกี่ยวกับอาชีพหรือธุรกิจของจำเลยการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำลงในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3929/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา: การบรรยายหน้าที่และการกระทำของจำเลยเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
คำฟ้องโจทก์ตอนต้นได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ แล้วบรรยายถึงหน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ร่วมจำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานขายของตามหน้าที่ ได้ร่วมกันเบียดบังยักยอกเงินจำนวน 898,914.76 บาท ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลยเสียโดยทุจริตแล้วบรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุคำบรรยายฟ้องเช่นนี้ จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไรถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าเงินที่ถูกยักยอกไปเป็นเงินของแผนกใด และเบียดบังเอาเงินไปโดยวิธีการอย่างใด ฟ้องโจทก์ก็หาเคลือบคลุมไม่
of 15