พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างประจำไม่ใช่เจ้าพนักงาน แม้มีหน้าที่เก็บเงินค่าเช่าราชพัสดุ ยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อทรัพย์
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำสังกัดกรมธนารักษ์เบิกเงินค่าจ้างในงบงานจัดทรัพย์สินของรัฐกรมธนารักษ์ โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน มีตำแหน่งเป็นพนักงานเก็บเงินที่มีผู้ชำระต่อราชพัสดุจังหวัดเท่านั้น จึงมิใช่เป็นข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมาย คำสั่งจ้างจำเลยระบุเพียงว่าให้จ้างจำเลยเข้าเป็นลูกจ้างประจำสังกัดกรมธนารักษ์ มิได้อ้างว่าแต่งตั้งจำเลยโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายใดฉะนั้น แม้จำเลยจะมีหน้าที่เก็บเงินค่าเช่าอาคารราชพัสดุก็มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้าง หาใช่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่
เงินที่จำเลยยักยอกไปเป็นเงินที่จำเลยเก็บจากผู้เช่าอาคารราชพัสดุแล้ว ยังมิได้ส่งต่อทางราชการ จำเลยมีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาเงินนั้น และต้องส่งมอบให้แก่ทางราชการเงินที่จำเลยรับไว้จึงเป็นของราชการกรมธนารักษ์ไม่ใช่เป็นของประชาชนผู้ชำระค่าเช่าแต่ละราย เพราะกรมธนารักษ์ต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าให้ชำระอีกไม่ได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้ครอบครองและควบคุมดูแลที่ราชพัสดุแทนกรมธนารักษ์จึงเป็นผู้เสียหาย
สารสำคัญตามฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินไป เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเอาเงินไปจริงก็เป็นอันตรงกับคำฟ้องแล้ว ส่วนที่ตามฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าคดีได้ความตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง และไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือฟ้องไม่สมบูรณ์
เงินที่จำเลยยักยอกไปเป็นเงินที่จำเลยเก็บจากผู้เช่าอาคารราชพัสดุแล้ว ยังมิได้ส่งต่อทางราชการ จำเลยมีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาเงินนั้น และต้องส่งมอบให้แก่ทางราชการเงินที่จำเลยรับไว้จึงเป็นของราชการกรมธนารักษ์ไม่ใช่เป็นของประชาชนผู้ชำระค่าเช่าแต่ละราย เพราะกรมธนารักษ์ต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าให้ชำระอีกไม่ได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้ครอบครองและควบคุมดูแลที่ราชพัสดุแทนกรมธนารักษ์จึงเป็นผู้เสียหาย
สารสำคัญตามฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินไป เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเอาเงินไปจริงก็เป็นอันตรงกับคำฟ้องแล้ว ส่วนที่ตามฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าคดีได้ความตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง และไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือฟ้องไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมฐานยักยอกและลักทรัพย์ จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและการกระทำของจำเลยว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมกระทำความผิดฐานยักยอกแล้วโจทก์ยังได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างอีกว่า ในการกระทำอันเดียวกันนั้นเป็นการลักทรัพย์ คำฟ้องของโจทก์จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเองเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) จะรับไว้พิจารณาเอาโทษจำเลยมิได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่30/2494)
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์โดยระบุวันที่จำเลยได้รับเช็คและเงินสดไว้ แต่มิได้บรรยายว่า จำเลยได้เบียดบังยักยอกเอาเงินสดไปในวัน เดือน ปี และเวลาใดจะตีความเอาว่าโจทก์หมายเอาในระหว่างวันเวลาที่จำเลยได้รับเช็คและเงินสดนั้นเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดก็ไม่ได้ เพราะไม่มีข้อความตอนใดจะให้เข้าใจได้ดังนั้นฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 117/2492)
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์โดยระบุวันที่จำเลยได้รับเช็คและเงินสดไว้ แต่มิได้บรรยายว่า จำเลยได้เบียดบังยักยอกเอาเงินสดไปในวัน เดือน ปี และเวลาใดจะตีความเอาว่าโจทก์หมายเอาในระหว่างวันเวลาที่จำเลยได้รับเช็คและเงินสดนั้นเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดก็ไม่ได้ เพราะไม่มีข้อความตอนใดจะให้เข้าใจได้ดังนั้นฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 117/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสุกรผิดสัญญา ไม่เข้าข่ายยักยอกทรัพย์
จำเลยมีอาชีพรับซื้อสุกรไปขายจำเลยได้รับสุกรจากโจทก์ไปเพื่อขาย โดยกำหนดราคาสุกรไว้ หากจำเลยขายสุกรได้สูงกว่าราคาที่กำหนดส่วนที่เกินตกเป็นของจำเลยและโจทก์ตกลงให้ค่าจ้างแก่จำเลยอีกร้อยละห้าของราคาสุกรด้วยจำเลยขายสุกรของโจทก์ได้เงินแล้วจำเลยขอผัดผ่อนยังไม่ส่งเงินค่าสุกรที่ขายได้ตามกำหนดที่นัดไว้โจทก์ก็ยอมให้จำเลยผัดไปหลายครั้งดังนี้ เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยมีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนแล้วได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์และกระทำผิดหน้าที่อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการยักยอกทรัพย์ ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นผู้เสียหาย
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ของหุ้นส่วนผู้จัดการทำให้หุ้นส่วนอื่นเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยักยอกทรัพย์ โดยองค์กรมีทุนจากรัฐ
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐแต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า"ร.ส.พ." ก็จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (ใบเสร็จ) และยักยอกทรัพย์โดยพนักงานของรัฐ ฎีกาชี้ว่าฟ้องสมบูรณ์และมีความผิดตามกฎหมาย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ แต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "ร.ส.พ." ก็จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ.เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: ผู้ตรวจสอบสินค้าไม่มีอำนาจครอบครอง จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
ผู้ควบคุมสาขาของบริษัทผู้เสียหายมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลสินค้าในโกดังและจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่สินค้าขาดหายไปจำเลยเป็นเพียงผู้ตรวจสอบสินค้าและทำรายงานยอดสินค้าประจำวัน ไม่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่ใช่ผู้ครอบครองสินค้าในโกดัง จะเอาผิดจำเลยฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไปมิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้วกระทำผิดหน้าที่จนเกิดความเสียหายขึ้นและที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้นฟ้องโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไปมิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้วกระทำผิดหน้าที่จนเกิดความเสียหายขึ้นและที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้นฟ้องโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้ครอบครองทรัพย์สินและการพิสูจน์อำนาจหน้าที่เพื่อความรับผิดฐานยักยอกทรัพย์
ผู้ควบคุมสาขาของบริษัทผู้เสียหายมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลสินค้าในโกดัง และจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่สินค้าขาดหายไป จำเลยเป็นเพียงผู้ตรวจสอบสินค้าและทำรายงานยอดสินค้าประจำวัน ไม่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ครอบครองสินค้าในโกดัง จะเอาผิดจำเลยฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไป มิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้น ฟ้องโจทก์ไม่ครอบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไป มิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้น ฟ้องโจทก์ไม่ครอบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ต้องมีการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น การมีชื่อในโฉนดไม่ถือเป็นการครอบครอง
ความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 นั้น นอกจากจะมีการเบียดบังเอาทรัพย์ไปโดยทุจริตแล้ว จะต้องได้ความด้วยว่า ผู้ที่เบียดบังนั้นได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลย (หุ้นส่วนของห้างโจทก์) เป็นแต่เพียงมีชื่อในโฉนดพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริงเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เข้าเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความแห่งมาตรา 352 แม้จำเลยเอาที่ดินโฉนดดังกล่าวไปทำสัญญาขายฝากให้แก่ผู้มีชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากโจทก์ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานยักยอก