พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงที่ไม่มีศาลแขวง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และ ป.วิ.อ.
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาล ถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐาน และให้คู่ความ ลงชื่อไว้ การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่าคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ จึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรี ตามพระราชบัญญัติให้นำ วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การผลิตภายใต้สิทธิที่ได้รับจากผู้ทรงสิทธิบัตร ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ที่ 1 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจในการปกป้องรวมทั้งการฟ้องคดีในศาลไทยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และตามคำฟ้องก็บรรยายว่า ช. กระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 และในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 ประกอบกับท้ายคำฟ้อง ช. ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 2 ระบุว่าโจทก์ทั้งสองและในใบแต่งทนายความก็ได้ระบุว่าลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 กับในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 ถือได้ว่า ช. ลงลายมือชื่อในคำฟ้องในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 และในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7)
ที่ประชุมบริษัทโจทก์มีมติให้แต่งตั้ง ป. เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2540 บริษัทโจทก์จึงยังคงตั้งอยู่เพื่อให้ ป. ดำเนินการชำระบัญชี เป็นผู้แทนของโจทก์สำหรับสิทธิทุกอย่างการดำเนินการและความรับผิดชอบทั้งหมด ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทโจทก์อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ภารกิจในการยกเลิกกิจการของโจทก์ยังคงดำเนินอยู่และเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการยกเลิกกิจการของโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมายโดยไม่มีกำหนดเวลา บริษัทโจทก์จึงหาได้สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลไปไม่เมื่อ ป. ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์และมีอำนาจดำเนินการทุกเรื่องแทนโจทก์ตั้งแต่วันที่31 มกราคม 2540 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สิทธิบัตรไทยของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธี จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ เฉพาะกรรมวิธีการผลิตข้อต่อแบบเชิงกลของแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงสำหรับคอนกรีตตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรนั้นเท่านั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองสำหรับกรรมวิธีการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงเข้าด้วยกันด้วยวิธีขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนหรือวิธีขึ้นรูปแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็น เมื่อจำเลยร่วมกันผลิตข้อต่อของแท่งเหล็กเส้นตามสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ข้อต่อเหล็กเส้นเสริมแรงคอนกรีตโดยการขยายปลายเหล็กเส้นเสริมแรงให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้นโดยการตีขึ้นรูป สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์นี้จึงครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงโดยมีการทำให้ปลายเหล็กเส้นเสริมแรงขยายใหญ่ขึ้น ก่อนทำเกลียวด้วยกรรมวิธีการตีขึ้นรูปทุกกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตีขึ้นรูปแบบเย็นแบบร้อน หรือแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็นซึ่งครอบคลุมถึงกรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรกรรมวิธีของโจทก์ตามสิทธิที่ได้รับมาแม้มีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับกรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยจำเลยมีเจตนากระทำความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์การกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ มาตรา 85 ประกอบด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง(2)
ที่ประชุมบริษัทโจทก์มีมติให้แต่งตั้ง ป. เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2540 บริษัทโจทก์จึงยังคงตั้งอยู่เพื่อให้ ป. ดำเนินการชำระบัญชี เป็นผู้แทนของโจทก์สำหรับสิทธิทุกอย่างการดำเนินการและความรับผิดชอบทั้งหมด ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทโจทก์อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ภารกิจในการยกเลิกกิจการของโจทก์ยังคงดำเนินอยู่และเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการยกเลิกกิจการของโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมายโดยไม่มีกำหนดเวลา บริษัทโจทก์จึงหาได้สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลไปไม่เมื่อ ป. ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์และมีอำนาจดำเนินการทุกเรื่องแทนโจทก์ตั้งแต่วันที่31 มกราคม 2540 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สิทธิบัตรไทยของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธี จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ เฉพาะกรรมวิธีการผลิตข้อต่อแบบเชิงกลของแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงสำหรับคอนกรีตตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรนั้นเท่านั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองสำหรับกรรมวิธีการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงเข้าด้วยกันด้วยวิธีขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนหรือวิธีขึ้นรูปแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็น เมื่อจำเลยร่วมกันผลิตข้อต่อของแท่งเหล็กเส้นตามสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ข้อต่อเหล็กเส้นเสริมแรงคอนกรีตโดยการขยายปลายเหล็กเส้นเสริมแรงให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้นโดยการตีขึ้นรูป สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์นี้จึงครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงโดยมีการทำให้ปลายเหล็กเส้นเสริมแรงขยายใหญ่ขึ้น ก่อนทำเกลียวด้วยกรรมวิธีการตีขึ้นรูปทุกกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตีขึ้นรูปแบบเย็นแบบร้อน หรือแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็นซึ่งครอบคลุมถึงกรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรกรรมวิธีของโจทก์ตามสิทธิที่ได้รับมาแม้มีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับกรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยจำเลยมีเจตนากระทำความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์การกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ มาตรา 85 ประกอบด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลต้องยกฟ้อง แม้จำเลยไม่โต้แย้ง
ฟ้องโจทก์ปรากฏแต่ลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่งนั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นจนคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา 161 ก็หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาว่าฟ้องโจทก์ที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การแต่งฟ้องโดยผู้มิได้เป็นทนายความ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวความให้ผู้ต้องขังชาย บ. ทำฟ้องอุทธรณ์แทนให้โดยผู้ต้องขังชาย บ. ลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการเห็นได้อยู่ในตัวว่าผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง"นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน ทั้งพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33ก็ระบุชัดเจนห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง... ฟ้องอุทธรณ์... ให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น ฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่งให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้จำเลยที่ 2 จะได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์และยืนยันการลงลายมือชื่อดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบกลายเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมาได้เจตนาในใจของจำเลยที่ 2 ประสงค์อย่างไรมิใช่ข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ต่อศาลก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีอาญาที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่ศาลฎีกา จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้จึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลไม่อาจพิจารณาได้
คดีอาญา โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ แต่ศาลรับคำฟ้องและพิจารณาคดีแล้ว ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อผู้เรียงอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่จะให้จำเลยแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ล่วงเลยเวลา ที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้เสร็จไปแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อ แต่ศาลพิจารณาคดีไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ผู้อุทธรณ์และผู้เรียงอุทธรณ์มิได้ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาพิพากษาคดีนี้มาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติใจความว่า ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทนหรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่นคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7)ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขประการใดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วย 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงไม่ใช่ทนายความ และการฎีกาเรื่องโทษก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาตหรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้