คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงไม่ใช่ทนายความ และการฎีกาเรื่องโทษก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาตหรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ถูกต้อง
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ว. ทนายความเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดย ว. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาเรื่องการแต่งทนายความ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไข
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ว.ทนายความเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดย ว.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ และป.วิ.อ.มาตรา158(7) บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นทนายความหรือเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นคำฟ้องไม่สมบูรณ์
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่มีบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ซึ่งกำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่า ส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จะได้ความว่า จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ตาม ย่อมไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายทนายความ ผู้ลงลายมือชื่อต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้เรียงตามกฎหมาย
แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 33 กำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่าส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ความหลงผิดคลาดเคลื่อนในกรณีจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นข้อแก้ตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ผิดรูปแบบ และอำนาจศาลในการย้อนสำนวนเพื่อแก้ไขกระบวนการ
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ขาดการลงลายมือชื่อ และสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดี
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ ให้ถูกต้องเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการ ดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไป ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่น ใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณา ของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี แก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไข ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการอุทธรณ์โดยทนายความที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ และการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
อ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวนคำฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลยจึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้อง อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องมีใบแต่งทนายความที่ถูกต้อง หากศาลชั้นต้นละเลยหน้าที่ ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้พิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคสองบัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์ โดยที่ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและกรณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และจะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อม มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้วศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามลำดับชั้น
ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158 บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยที่ ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรนณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
of 11