พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องคำฟ้องอุทธรณ์และการพิจารณาคดีโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้อุทธรณ์มิได้ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติแล้ว เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ถูกต้องตามรูปแบบ & ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกายก
คำฟ้องฎีกาของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์คำฟ้องฎีกา เป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา คดีไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงชื่อผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์ให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฎีกาโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่เป็นไปตามรูปแบบ และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ศาลฎีกายก
คำฟ้องฎีกาของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์คำฟ้องฎีกา เป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา คดีไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงชื่อผู้ฎีกาผู้เรียงและผู้พิมพ์ให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฎีกาโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการลงชื่อแทนบริษัท: การมอบอำนาจด้วยตราบริษัทเพียงครั้งเดียวเพียงพอต่อการฟ้องคดี
กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ส. เป็นผู้ฟ้องคดีหนังสือฉบับนี้ได้ประทับตราของบริษัทโจทก์แล้ว ส. ลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องโดยไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีโดยกรรมการบริษัท การลงชื่อในคำฟ้องและการประทับตราบริษัท
กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.เป็นผู้ฟ้องคดีหนังสือฉบับนี้ได้ประทับตราของบริษัทโจทก์แล้ว ส.ลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องโดยไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการลงชื่อเรียงฟ้องคดีอาญา ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ และฟ้องมีสมบูรณ์
เมื่อโจทก์ได้มอบหมายให้ผู้ใดเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำเนินคดีอาญาแล้ว ผู้นั้นมีฐานะเป็นคู่ความในคดีในนามของโจทก์ย่อมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะลงชื่อเป็นโจทก์ในฟ้อง เรียงหรือแต่งคำฟ้อง และลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องได้ หาเป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 36 ไม่
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงมาในฟ้องฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) จะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงมาในฟ้องฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) จะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องฎีกาโดยผู้มิได้มีใบอนุญาตทนายความ เป็นการกระทำไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
น.มิได้เป็นผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามวรรคสองของมาตรา 36 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 การที่ น.ได้เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 37 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องฎีกาโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้ฎีกานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
น.มิได้เป็นผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามวรรคสองของมาตรา 36 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 การที่น.ได้เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 37 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีตำรวจ คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้รักษาการอธิบดีไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อธิบดีกรมอัยการไม่มีอำนาจรื้อฟื้นคำสั่งชี้ขาดเดิม และการกระทำของรองอธิบดีขัดขวางการบังคับใช้กฎหมาย
กรณีที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา