คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คัดค้านเจตนาทุจริตในคดีเบียดบังทรัพย์สิน: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต เป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ เป็นการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เท่ากับโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเพื่อเคลียร์เงินทดรองจ่าย แม้มีการชำระหนี้ภายหลัง ก็เป็นการกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกง ศาลชั้นต้นลงโทษฐานใช้เอกสารปลอม ยกฟ้องฐานฉ้อโกง คดีสำหรับโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมให้หนักขึ้น ทั้งรับอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้ลงโทษฐานปลอมเอกสารซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ก็ถือว่าปัญหาเกี่ยวกับข้อหาปลอมเอกสารและสมควรลงโทษหนักขึ้นในข้อหาใช้เอกสารปลอมหรือไม่นั้น มิได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สิน: ข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ หากศาลชั้นต้นฟังยุติว่าจำเลยไม่มีเจตนา
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยได้ทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายก็เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 แล้ว ไม่ใช่ต้องถึงขนาดเป็นการกระทำโดยแกล้งให้เสียหายโดยไม่มีเหตุผลนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนากระทำผิด จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการคุ้มครองคดีที่ค้างพิจารณา
พระราชบัญญัติ ญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติว่า สำหรับบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ศาลนั้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ หมายความรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาระหว่างการประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ดังนั้น ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 ยังมิได้ประกาศยกเลิกแม้ต่อมามีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและคดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ หาใช่ว่าอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการใช้มาตรา 10 พ.ร.บ.เช็ค พ.ศ.2534
ขณะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ที่โจทก์ฟ้องยังมิได้ประกาศยกเลิกและขณะมีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 แทน ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ตามที่บทบัญญัติมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กำหนดให้อำนาจไว้ และมิใช่กรณีที่จะถือว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการรับอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยตบหน้าผู้เสียหายที่บริเวณแก้มซ้าย 1 ครั้ง พิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องลงโทษปรับ 1,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษากลับโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฎีกา และศาลฎีกายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3และยกฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงสภาพกฎหมาย การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
คดีความผิดในข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่คู่ความอุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อหานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ต่อมาได้ เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันต่อมาระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ที่ดินพิพาท ทำให้ที่ดินพิพาทไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอีกต่อไปแต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่จำเลยซึ่งเข้าบุกรุกเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังคงมีความผิดตามประมวลที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เพราะพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปไม่ จำเลยจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด แต่เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสองแต่รับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังทรัพย์สินโดยมีเจตนาเดียว แม้มีการเบิกถอนหลายครั้ง ถือเป็นกรรมเดียว และประเด็นการไม่รอการลงโทษเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย
คดีต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลย อันเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษและเป็นปัญหาข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รอการลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยเบิกถอนเงินจากบัญชีของมารดารวม 5 ครั้ง โดยมีเจตนาเบียดบังเงินส่วนที่เหลือจากการนำไปใช้จ่ายตามคำสั่งมารดาก่อนตายเป็นเจตนาเดียวการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายศาลแขวง ต้องมีเหตุผลสำคัญและคำอนุญาตจากผู้พิพากษา
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิคำพิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น มี คำสั่งว่าอุทธรณ์ โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงได้ จึงรับรองให้อุทธรณ์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อใดที่ ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสิน นั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ได้จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 22 ทวิ
of 18