พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีโกงเจ้าหนี้ในศาลแขวง: วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องไป ยังไม่พอรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องไปก็โดยเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์แก้ไขคำสั่งส่งตัวจำเลยฝึกอบรมเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปให้ส. ซึ่งเป็นป้าของจำเลย ดูแลแทนการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ย่อมมีผลเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 22 กับพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 แล้ว หากจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวของศาลเปลี่ยนแปลงไป จำเลยชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้นหรือมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ได้รับอันตรายเป็นบาดแผลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้รับอนุญาตในชั้นอุทธรณ์
คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 เมื่อในชั้นอุทธรณ์ไม่มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนแล้วฟังว่า การที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของรถพิพาทก่อนโอนให้ ป. นั้น จำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์ในรถคันพิพาทอย่างแท้จริง แต่เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ป. ในฐานะลูกหนี้เจ้าหนี้ การกระทำของจำเลยหาได้มีเจตนาที่จะมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่โอนให้แก่ ป. และการโอนรถพิพาทมีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงหลังแก้ไขกฎหมาย โดยคำพิพากษาลงโทษปรับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ อันเป็นวันภายหลังจากที่พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532ใช้บังคับแล้ว จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลย600 บาท ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันที่ยื่นอุทธรณ์ หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อุทธรณ์ต้องห้าม
การพิจารณาว่าจำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ อันเป็นวันภายหลังที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532 ใช้บังคับแล้วจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ปรากฏว่าขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 มาตรา 3 บัญญัติว่า"ในคดีอาญาห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ฯลฯ(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท" ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยเพียงหกร้อยบาท อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าคดีใดจะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามจำนวนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลย ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญา: ข้อจำกัดตามจำนวนค่าปรับที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง