พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ข้อจำกัดการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารของโจทก์ที่ 7 แล้วพิจารณาตัดสินเป็นโทษแก่โจทก์คนอื่น ๆด้วย เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณา และศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนถูกต้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยมาในฐานะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อมาไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์รับเรื่องโดยอ้างเป็นข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารของโจทก์ที่ 7 แล้วพิจารณาตัดสินเป็นโทษแก่โจทก์คนอื่น ๆ ด้วย เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาและศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนถูกต้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยมาในฐานะเป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อมาไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีหมิ่นประมาทขัดต่อข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326,328 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยและข้อความที่ร้องเรียนเป็นการร้องเรียนโดยทุจริต ไม่เป็นการป้องกันตนหรือส่วนได้เสียแห่งตน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการสั่งจ่ายสินบนนำจับเมื่อไม่มีโทษปรับ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาตรา 22 ที่ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เป็นบทบังคับในชั้นอุทธรณ์ มิใช่บทบัญญัติที่จะนำมาใช้ในชั้นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเล่นการพนัน ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยมิได้ลงโทษปรับ ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับตามกฎหมายด้วยไม่ได้.
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยมิได้ลงโทษปรับ ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับตามกฎหมายด้วยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา และการสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับเมื่อไม่มีโทษปรับ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 ที่ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เป็นบทบังคับในชั้นอุทธรณ์ มิใช่บทบัญญัติที่จะนำมาใช้ในชั้นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเล่นการพนัน ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยมิได้ลงโทษปรับ ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับตามกฎหมายด้วยไม่ได้.
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยมิได้ลงโทษปรับ ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับตามกฎหมายด้วยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174-2175/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกง: การรับเงินเพื่อช่วยเหลือในการเข้าทำงานราชการโดยมิชอบ ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าสามารถช่วยเหลือโจทก์ร่วมให้เข้าทำงานเป็นพนักงานของการรถไฟ ฯ ได้โดยไม่ต้องสอบและเรียกเงินจากโจทก์ร่วมอ้างว่าจะนำไปเป็นค่าติดต่อกับผู้ใหญ่และเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมให้เงินไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ให้กระทำผิดกฎหมายโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
ความผิดฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นยกฟ้องปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22ทวิ และเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาว่าเป็นการจำเป็นหรือไม่ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นและสมควรวินิจฉัยเสียเองก็ย่อมกระทำได้.
ความผิดฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นยกฟ้องปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22ทวิ และเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาว่าเป็นการจำเป็นหรือไม่ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นและสมควรวินิจฉัยเสียเองก็ย่อมกระทำได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีหมิ่นประมาท การแสดงความเห็นโดยสุจริต และความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่าอย่างไร และว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตนั้น มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและตามทางไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์นำสืบ คำสั่งดังกล่าวจึงปรากฏข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(5)แล้ว
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง คดีเช็คพิพาท
ในคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22โจทก์อุทธรณ์ใจความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ เป็นการออกเช็คโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง กรณีเช็คพิพาท
ในคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาใน ศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ใจความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ เป็นการออกเช็คโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - การยกประเด็นนอกฟ้อง & การโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้น
ฎีกาที่ว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่ามีการปลดหนี้ให้แก่จำเลยเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์เพิ่งจะยกขึ้นในชั้นฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบกับมาตรา 225 แม้ฎีกาข้อนี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม ศาลฎีกาเห็นว่าไม่สมควรรับวินิจฉัยให้ ฎีกาที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้หยิบยกคำเบิกความของพยานจำเลยปากมาวินิจฉัย เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายนั้นเป็นฎีกาโต้เถียง ดุลพินิจ ในการวินิจฉัยชั่ง น้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22.