คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: ศาลวินิจฉัยถูกต้องแล้วเมื่อพิจารณาว่าที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ การที่จะฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องได้ความว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของโจทก์จำเลยจึงจะมีความผิดฐานบุกรุก หากที่พิพาทเป็นทางสาธารณะการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นการวินิจฉัยตามข้อหาและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ มิได้เกินคำขอ กรณีไม่เป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ดังนั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนใช้ร่วมกันเกิน 10 ปี เป็นทางสาธารณะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ซึ่งห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้วัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นของวัดและที่ธรณีสงฆ์นั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างข้อกฎหมายขึ้นปรับกับข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดังกล่าว ก็ยังคงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์: ศาลวินิจฉัยตามคำขอเดิม ไม่เกินคำขอ แม้จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ การที่จะฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องได้ความว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยจึงจะมีความผิดฐานบุกรุก หากที่พิพาทเป็นทางสาธารณะการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เป็นการวินิจฉัยตามข้อหาและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ มิได้เกินคำขอ กรณีไม่เป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ดังนั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนใช้ร่วมกันเกิน 10 ปี เป็นทางสาธารณะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ซึ่งห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้วัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นของวัดและที่ธรณีสงฆ์นั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างข้อกฎหมายขึ้นปรับกับข้อเท็จจริงที่โต้เถียงดังกล่าว ก็ยังคงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีเช็ค: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ม.สามีโจทก์มิได้โอนเช็คให้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงเช็ค มิใช่ผู้เสียหาย โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหายอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาข้อนี้
ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นเพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง เมื่อศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ร่วมกับชมรมโรงสีจัดซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิกของโจทก์และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินค่าบริการของโจทก์ ย่อมถือว่าเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 22 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยได้ร่วมกับชมรมโรงสีกระทำผิดหน้าที่ของจำเลยและจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องและต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญาศาลแขวง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง เมื่อศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ร่วมกับชมรมโรงสีจัดซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิกของโจทก์ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินค่าบริการของโจทก์ ย่อมถือว่าเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯมาตรา 22 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยได้ร่วมกับชมรมโรงสีกระทำผิดหน้าที่ของจำเลยและจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องและต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแจ้งความเท็จ: ข้อกฎหมายมีสาระ แต่เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีเจตนากระทำผิดโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อกฎหมายที่ไร้สาระไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกา ดังนี้ แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นข้อกฎหมายที่มีสาระศาลฎีกาก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแจ้งความเท็จ: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น แม้อุทธรณ์มีสาระก็เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีเจตนากระทำผิดโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อกฎหมายที่ไร้สาระไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกา ดังนี้ แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นข้อกฎหมายที่มีสาระศาลฎีกาก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดเข้าข่ายปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กล่าวคือ ถ้ายังโต้เถียงว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด และคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นเวลาเกิน 3 เดือน นับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดี จึงเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใดย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดและคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2526แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่23เมษายน2527ซึ่งเป็นเวลาเกิน3เดือนนับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีจึงเป็นอันขาดอายุความอันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา22ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ.2520มาตรา3โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันรู้ความผิดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด และคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นเวลาเกิน3 เดือน นับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
of 18