พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ดุลพินิจผู้พิพากษาและเจตนารมณ์ในการอนุญาต
การอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 ทวิ นั้น ไม่จำต้องใช้ถ้อยคำเคร่งครัดตามตัวบทกฎหมาย แต่ต้องแปลความไปในทางที่ให้เป็นผลมากกว่าไร้ผลและต้องถือตามเจตนารมณ์ของผู้พิพากษาที่อนุญาตให้อุทธรณ์ด้วย เมื่อมีคำสั่งว่า "อุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงรับรองให้อุทธรณ์" และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกัน ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ผู้พิพากษาที่รับรองได้อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว จึงต้องรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสั่งห้ามจ่ายเช็ค-อำนาจศาลแขวง-การรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ร่วมตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 โดยจำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ร่วม ทั้งนี้โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยเข้าครอบครองใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ตกลงจะซื้อจะขายนับแต่วันทำสัญญา ซึ่งจำเลยได้ออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.9 เพื่อชำระหนี้ค่าใช้สอยดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ร่วมถูกธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ฟ้องและศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ 115 ล้านบาทเศษเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 และสัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้ตามเอกสารหมาย จ.1 ทำกันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้เพียง 12 วัน น่าเชื่อได้ว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้และยึดทรัพย์ซึ่งรวมถึงที่ดินที่จะขายให้แก่จำเลยด้วย อันเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์ร่วมไม่สามารถโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายตามสัญญาให้แก่จำเลยได้ ทั้งในวันที่ตกลงจะจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญานั้น โจทก์ร่วมและเจ้าของร่วมคนอื่นก็มิได้ไปทำการโอนให้จำเลย เมื่อจำเลยทราบเหตุที่โจทก์ร่วมถูกศาลพิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้และโจทก์ร่วมไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยตามกำหนด การที่จำเลยเห็นว่าการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 นั้น มีปัญหาที่อาจจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ดังนั้น การที่จำเลยไปแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งเป็นการสั่งจ่ายในการที่จำเลยได้ครอบครองหรือใช้สอยทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันจึงเป็นการระงับการสั่งจ่ายโดยสุจริต แม้ว่าตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 10 วรรคสองจะระบุว่าสำหรับเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นรายเดือนเดือนละ 300,000 บาท ตามความในข้อ 6 นั้นไม่อยู่ในข้อบังคับของวรรคแรกคงปล่อยให้ตกเป็นของผู้จะขายตลอดไป เพราะถือว่าเป็นค่าตอบแทนของการเข้าครอบครองและใช้สอยประโยชน์แล้ว ก็หาทำให้จำเลยมีความผิดเพราะแจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินโดยสุจริตไม่
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9641/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาคดีลักทรัพย์ในศาลแขวง: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 โจทก์ร่วมอุทธรณ์โต้เถียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม อันเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะได้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน ดังนี้ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้อีก ทั้งศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมได้เพราะเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์โดยอัยการและการพิจารณาโทษคดีเช็ค การแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติว่า "ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา... หรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป" โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 และหนังสือมอบหมายของอัยการสูงสุดให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนมาท้ายอุทธรณ์ และในตอนท้ายของอุทธรณ์มีข้อความระบุไว้ด้วยว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์แล้ว ตามหนังสือแนบท้ายอุทธรณ์นี้ แม้ในตอนท้ายของอุทธรณ์ดังกล่าวจะมิได้ระบุว่าให้ถือว่าหนังสือรับรองเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์ดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ดังกล่าวก็ย่อมถือได้แล้วว่าหนังสือรับรองแนบท้ายอุทธรณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์และอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ตามความประสงค์ของกฎหมายแล้ว ทั้งมาตรา 22 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ก็มิได้บัญญัติว่าการรับรองอุทธรณ์จะต้องระบุวันเดือนปีที่ทำการรับรองและต้องมีรายละเอียดของเหตุผลที่สมควรให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีดังกล่าวแต่ประการใด ดังนั้น เมื่อข้อความในหนังสือรับรองแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารูปคดีนี้มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย จึงรับรองอุทธรณ์คดีนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: เงื่อนไขการอนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)ฯ โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ต่อเมื่อกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 ทวิ คือ หากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "โจทก์อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย รับอุทธรณ์ สำเนาให้อีกฝ่าย ให้เจ้าพนักงานศาลส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ระบุเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเด็ดขาดผู้พิพากษาอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: คำสั่งไม่อนุญาตไม่อุทธรณ์ต่อได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาผู้ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว โจทก์ร่วมจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะการที่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอำนาจเฉพาะตัวอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9273/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และการบันทึกคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจน คือ จะต้องบันทึกความเห็นของตนให้ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึก ยืนยันด้วยว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า "?รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม?" เช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9273/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หากไม่มีการอนุญาตโดยชัดเจนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมกล่าวแต่เพียงว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ แสดงว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจนว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ แสดงว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจนว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาเน้นเจตนารมณ์ผู้พิพากษาและประโยชน์คู่ความมากกว่ารูปแบบตัวบท
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องถือเจตนารมณ์ของผู้อนุญาตและความยุติธรรมที่คู่ความพึงจะได้รับเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำแต่ละคำในตัวบท มิฉะนั้นแล้วผลจะกลายเป็นว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเห็นควรนำปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ตามที่คู่ความร้องขอ แต่ใช้ข้อความคลาดเคลื่อนไปจากตัวบท กลับเป็นผลร้ายแก่คู่ความซึ่งประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3"และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3"และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โดยใช้ถ้อยคำที่สื่อเจตนารมณ์ชัดเจน ถือเป็นการอนุญาตแล้ว
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ จึงต้องถือเจตนารมณ์ของผู้อนุญาตและความยุติธรรมที่คู่ความพึงจะได้รับเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำแต่ละคำในตัวบท
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3" และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3" และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว