คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 22 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาต/รับรองโดยผู้พิพากษา/อัยการสูงสุด & การฎีกาคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุพิเศษแตกต่างไปจากกรณีการรับหรือไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และ 198 ทวิดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างใดคดีก็ยังไม่เป็นที่สุดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมฎีกาได้ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนอกจากอ้างเหตุที่จะขอให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยังอ้างเหตุที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารในสำนวนซึ่งมีเป็นจำนวนมากเพื่อทำอุทธรณ์อีกด้วยจึงมิใช่ขอขยายระยะเวลาเพื่อให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงอย่างเดียว แม้โจทก์ร่วมใช้สิทธิขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่รับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเสียไป บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ตรี และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาหรืออัยการสูงสุดอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น มิได้บัญญัติจำกัดสิทธิของคู่ความหรือโจทก์ร่วมให้ต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขออนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นจึงชอบแล้ว กรณีไม่อาจถือว่าระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้ขยายได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่อัยการสูงสุดไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์และเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ก่อนจะมีคำสั่งเพิกถอน ต้องถือว่าคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ครั้นเมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่า มีคำร้องขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและพิพากษาคดีอาญาโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า "รูปคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ข้าพเจ้าจึงขอรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ เพื่อศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป" เป็นการรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตรงตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงให้โจทก์จึงชอบแล้ว
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งเรื่องการลงนามแทนผู้ว่าการว่า ในกรณีที่เป็นเรื่องปกติของฝ่ายการธนาคาร ให้ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารหรือรองผู้อำนวยการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ลงนามแทนผู้ว่าการได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ม.ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้ได้ลงนามในเอกสารแทนผู้ว่าการถึงผู้บังคับการกองปราบปรามร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยในข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายกับมอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่ง ล.ก็ได้ร้องทุกข์และลงลายมือชื่อในบันทึกมอบคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว เพราะการร้องทุกข์เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะต้องปฏิบัติ หาใช่เรื่องผิดปกติไม่
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง คดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น แล้วพิพากษาไปตามรูปความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยมาครบถ้วนพอที่จะพิพากษาคดีไปได้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งมาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามรูปความนั้นได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา240 บัญญัติไว้ในตอนต้น ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และอุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังคลาดเคลื่อน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำเบิกความของตัวโจทก์ พยานจำเลย และพฤติการณ์ของจำเลยประกอบกันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดดังฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงการชั่งน้ำหนักในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น โจทก์มิได้แสดงโดยชัดเจนว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร หาเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ไม่
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่เป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ.2499มาตรา 22 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลชัดเจนตามมาตรา 22 ทวิ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลแขวงสั่งคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "อนุญาตสำเนาให้จำเลย" นั้น เป็นคำสั่งอนุญาตลอย ๆ โดยมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเลยจึงถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษานั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผลว่าข้อพิพาทสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ การสั่งอนุญาตลอยๆ ถือไม่ชอบ
ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลแขวงสั่งคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "อนุญาตสำเนาให้จำเลย" นั้น เป็นคำสั่งอนุญาตลอย ๆ โดยมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำสั่งว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเลย จึงถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษานั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรับอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผลว่ามีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ มิฉะนั้นถือว่าไม่ได้รับอุทธรณ์
ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลแขวงได้มีคำสั่งในคดีที่ต้องห้าม อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯลฯ มาตรา22 ว่า "ครบ กำหนดวันที่ 1 เป็นวันเสาร์และวันที่ 2 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งหยุดราชการ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิยื่นวันนี้ได้ รับเป็นอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลย" ดังนี้ ไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้นั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเป็นอำนาจเฉพาะของผู้พิพากษาคดีชั้นต้น, การขอรับรองอุทธรณ์โดยอธิบดีกรมอัยการ
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนั้นต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษาผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง และอำนาจของผู้พิพากษา
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนั้นต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษาผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลรองรับตามกฎหมาย หากไม่มีถือว่าไม่อนุญาต
ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลแขวงได้มีคำสั่งในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯลฯ มาตรา 22 ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ร่วม สำเนาให้จำเลยแก้ใน 7 วัน" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้นั้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะว่าในคำสั่งมิได้ชี้แจงแสดงเหตุผลว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้
of 3