คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4029/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ถึงที่สุดแล้ว ผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง และผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะอุทธรณ์ว่ายังมีประเด็นที่ศาลแรงงานภาค 9 ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยเป็นลูกจ้างนายจ้างกันเสียก่อน ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค่าชดเชยหลังฟื้นฟูกิจการ: ฟ้องใหม่เป็นคดีต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และได้เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้บริหารแผนแล้ว ต่อมาโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้าง โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชย จำเลยที่ 2 มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วยก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ฟ้องศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ทางเดียว
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกัน ซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 เมื่อปรากฏว่าได้ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเอง ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแรงงานหลังยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: การเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งและการมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแต่เพียงทางเดียว การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินประกันซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541เป็นกรณีที่เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องนั้น โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้มายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ฟ้องเรียกเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุอายุความ
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งเยียวยาการเลิกจ้าง: ลูกจ้างเลือกรับค่าชดเชยจากพนักงานตรวจแรงงาน สละสิทธิจากคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง และการฟ้องร้องบังคับจ่ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่โจทก์และพนักงานโจทก์จัดให้มี ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทหลักทรัพย์ อ. ตามกฎหมายแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากโจทก์ และจะเป็นผู้ดำเนินกิจการของกองทุนเอง มิใช่เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์หรือพนักงานโจทก์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบใดๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยร่วม หากจำเลยร่วมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของโจทก์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อบังคับแล้ว จำเลยร่วมก็ชอบที่จะฟ้องร้องบังคับให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทหลักทรัพย์ อ. จ่ายเงินสมทบ ส่วนของโจทก์แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมหามีอำนาจที่จะฟ้องโจทก์จ่ายเงินสมทบส่วนของโจทก์แก่จำเลยร่วมไม่
เมื่อจำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้ดำเนินการในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยร่วมอันเป็นกรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสิทธิที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการต่อไปหรือไม่ก็ได้ แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 อีกแต่อย่างใด การที่จำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรกหาได้นับต่อเนื่องนำมารวมกับระยะเวลา 60 วัน ที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนและยื่นคำร้องใหม่ต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มิได้ทำให้ระยะเวลาดำเนินการนับต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไรก็ได้ หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมซึ่งถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินการตามมาตรา 123 อีกแต่อย่างใด เมื่อจำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป ต่อมาจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับที่สองลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายในกำหนด 60 วัน ชอบด้วยมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แล้วระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรก หาได้นับต่อเนื่องมารวมกับระยะเวลา 60 วันที่จำเลยต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่ คำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรม: การกู้ยืมเงินส่วนตัวโดยไม่ส่งผลต่อหน้าที่และความเสียหายของบริษัท
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์ที่กำหนดว่า การเรียกเงิน ยอมรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่นเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่หรือทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย เป็นความผิดกรณีร้ายแรงนั้น หมายถึงการที่ลูกจ้างของโจทก์ได้เรียกเงิน ยอมรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่น โดยมีความมุ่งหมายที่จะไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม หรือลักษณะของการกระทำดังกล่าวทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นผลที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่ ก. ลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการกู้ยืมเงิน ท. ลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนมกับ ก. โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผลจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นเหตุให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของ ก. หรือทำให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของ ก. ดังกล่าวไม่เป็นความผิดที่ร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5326/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการเรียกร้องเงินบำเหน็จ แม้รับค่าชดเชยแล้ว
จำเลยมีมติเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ยินยอมรับไว้แล้ว โจทก์ฟ้องอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยฯ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 และระเบียบว่าด้วยพนักงานของจำเลยฯ ซึ่งการฟ้องคดีเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวนั้นไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์จะต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดและเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกทั้งสองจำนวนไม่ใช่เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากเลิกจ้าง: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือฟ้องศาลแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตาม มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123 ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือ จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น
โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆ ที่พึงได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
of 7