พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา124 แล้ว การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(4) และมาตรา 125 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นในเรื่องที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา 42 รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในมาตรา 43และมาตรา 44 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าต้องส่งสำเนาคำร้องกล่าวหาให้แก่ผู้ฝ่าฝืน และต้องให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่จะเข้าฟังและซักถามพยานของอีกฝ่ายหนึ่งดังเช่นการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นการสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะใช้ดุลพินิจดำเนินการไปตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมแก่คู่กรณี การที่จำเลยที่ 14 ขอเพิ่มเติมข้อกล่าวหาว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ โดยจำเลยที่ 14 เป็นกรรมการสหภาพแรงงานสหโมเสคสระบุรี ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง แล้วคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมให้โจทก์ทราบโดยไม่ส่งสำเนาให้นั้น เป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว.ส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าฟังการสอบสวนพยานของจำเลยที่ 14 ก็เป็นการใช้อำนาจโดยชอบของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จะถือว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
กรณีที่โจทก์ได้ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้ว โจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่ และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123.(ที่มา-ส่งเสริม)
กรณีที่โจทก์ได้ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้ว โจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่ และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงาน
กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อผู้เสียหายได้ ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม มาตรา 124แล้ว การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งตาม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(4) และมาตรา 125 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นในเรื่องที่ได้รับ มอบหมายตาม มาตรา 42 รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 แต่ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าต้อง ส่งสำเนาคำร้องกล่าวหาให้แก่ผู้ฝ่าฝืนและต้อง ให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่จะเข้าฟังและซักถาม พยานของอีกฝ่ายหนึ่งดังเช่น การพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะใช้ ดุลพินิจ ดำเนินการไปตามที่เห็นสมควร โดย คำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมแก่คู่กรณี การที่จำเลยที่ 14ขอเพิ่มเติมข้อกล่าวหาว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้ บังคับ โดย จำเลยที่ 14 เป็นกรรมการสหภาพแรงงานซึ่ง เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง แล้วคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ แจ้งข้อหาเพิ่มเติมให้โจทก์ทราบโดย ไม่ส่งสำเนาให้นั้น เป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้วส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าฟังการสอบสวนพยานของจำเลยที่ 14 ก็เป็นการใช้ อำนาจโดยชอบจะถือว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ กรณีที่โจทก์ได้ ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้วโจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14โดย ไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดย ไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยชอบ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทั้งเจ็ดออกมาร่วมนัดหยุดงานภายหลังจากที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปแล้วย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 15 เลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ชอบ ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 15 รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายหรือให้จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างซึ่งเป็นดุลพินิจอันเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาวินิจฉัย เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิเรียกร้องให้รับโจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายให้ตาม มาตรา 41 (4) หาใช่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ ดังนั้น เมื่อย้อนสำนวนไปแล้ว ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของจำเลยที่ 15 เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 จึงไม่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหลังการนัดหยุดงาน: สิทธิเรียกร้องของลูกจ้างและการวินิจฉัยค่าเสียหาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทั้งเจ็ดออกมาร่วมนัดหยุดงานภายหลังจากที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปแล้วย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 15 เลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ชอบ ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 15 รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายหรือให้จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างซึ่งเป็นดุลพินิจอันเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาวินิจฉัย เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิเรียกร้องให้รับโจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายได้ตาม มาตรา 41(4) หาใช่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ ดังนั้น เมื่อย้อนสำนวนไปแล้วศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของจำเลยที่ 15 เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 จึงไม่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อศาลสั่งกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึง วันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว เป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ อันพึงต้องอยู่บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45หมายความว่า ได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีกลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้นโจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีหลังกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อันพึงต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหาย/ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อมีการกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อันพึงต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป ทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32 (3) และข้อ 45
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป ทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32 (3) และข้อ 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน และการคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้าง
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวก็ได้ทำบันทึกว่า ไม่ติดใจเรื่องใด ๆ จากจำเลยหรือนำความขึ้นร้องเรียนจำเลยอีก บันทึกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เท่านั้นหาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินประเภทอื่น ๆจากจำเลยตามกฎหมายไม่
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องจ่ายนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยให้การต่อสู้ไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว.
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องจ่ายนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยให้การต่อสู้ไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องมีเหตุผลปัจจุบันในการเลิกจ้าง และศาลมีอำนาจแก้ไขค่าเสียหาย
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ'มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่งครั้ง' นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้งหรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า'พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก' แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้ง แสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน การพิจารณาเหตุเลิกจ้างและอำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่ง
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ"มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วย วาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่ง ครั้ง" นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า"พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก" แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้งแสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้