พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อศาลสั่งกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึง วันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว เป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ อันพึงต้องอยู่บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45หมายความว่า ได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีกลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้นโจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยชอบของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้ไม่ได้แจ้งความประสงค์เอง การเลิกจ้างเป็นอันไม่เป็นธรรม
เมื่อสหภาพแรงงานนัดหยุดงานโดยชอบแล้ว การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่มิได้ร่วมหยุดงานในตอนแรกออกมาร่วมนัดหยุดงานในภายหลัง ย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ และไม่จำต้องแจ้งความประสงค์ขอนัดหยุดงานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 34 วรรคท้ายอีก กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกสหภาพแรงงานร่วมนัดหยุดงานภายหลังโดยชอบ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อสหภาพแรงงานนัดหยุดงานโดยชอบแล้ว การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่มิได้ร่วมหยุดงานในตอนแรกออกมาร่วมนัดหยุดงานในภายหลัง ย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ และไม่จำต้องแจ้งความประสงค์ขอนัดหยุดงานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 34 วรรคท้ายอีก
กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121
กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยชอบของลูกจ้างสมาชิกสหภาพ: การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อสหภาพแรงงานนัดหยุดงานโดยชอบแล้ว การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่มิได้ร่วมหยุดงานในตอนแรกออกมาร่วมนัดหยุดงานในภายหลัง ย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ และไม่จำต้องแจ้งความประสงค์ขอนัดหยุดงานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 34 วรรคท้ายอีก
กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงานจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121.
กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงานจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน และการคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้าง
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวก็ได้ทำบันทึกว่า ไม่ติดใจเรื่องใด ๆ จากจำเลยหรือนำความขึ้นร้องเรียนจำเลยอีก บันทึกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เท่านั้นหาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินประเภทอื่น ๆจากจำเลยตามกฎหมายไม่
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องจ่ายนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยให้การต่อสู้ไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว.
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องจ่ายนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยให้การต่อสู้ไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีผลทันทีเมื่อที่ประชุมใหญ่เลือกตั้ง แม้ยังมิได้จดทะเบียนต่อ นายทะเบียน
ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้งผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้จะยังมิได้มีการแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็ตาม ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 แล้ว ความคุ้มกันประการใดที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เพื่อปกป้องกรรมการสหภาพแรงงาน ความคุ้มกันนั้น ๆ ย่อมตกแก่กรรมการสหภาพแรงงานผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นทุกอย่างทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสหภาพแรงงาน: ความคุ้มกันตามกฎหมาย แม้ยังมิได้จดทะเบียน
ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้งผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้จะยังมิได้มีการแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็ตามผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121แล้วความคุ้มกันประการใดที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เพื่อปกป้องกรรมการสหภาพแรงงานความคุ้มกันนั้นๆย่อมตกแก่กรรมการสหภาพแรงงานผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นทุกอย่างทุกประการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำสั่งห้ามเผยแพร่เอกสาร/นัดชุมนุมในสถานประกอบการ และระยะเวลาการฟ้องร้องฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน
นายจ้างออกคำสั่งห้ามลูกจ้างชุมนุมและเผยแพร่เอกสารในบริเวณที่ทำการของนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อน เมื่อปรากฏจากคำปรารภของคำสั่งนั้นว่าการเผยแพร่เอกสารหรือการนัดชุมนุมของพนักงานลูกจ้างได้เคยกระทำมาก่อนแล้ว ซึ่งเอกสารที่เผยแพร่หรือการนัดชุมนุมที่เคยมีบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่พนักงานและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการของนายจ้าง ดังนี้เห็นได้ว่า นายจ้างประสงค์จะห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำการดังกล่าวอีกต่อไป หากกระทำจะถือเป็นความผิดทุกครั้ง จึงเป็นคำสั่งที่มีผลต่อเนื่องตลอดเวลา ตราบใดที่นายจ้างยังห้ามอยู่ สหภาพแรงงาน ฯ ของลูกจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ได้อยู่ตราบนั้น การนับเวลาหกสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 จะเริ่มนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวเป็นยุติไม่ได้
สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใด ลักษณะใด เมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดี เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน ฯ โจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น คำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์ เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้ การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่
สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใด ลักษณะใด เมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดี เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน ฯ โจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น คำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์ เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้ การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามเผยแพร่เอกสาร-ชุมนุมในที่ทำงาน: ศาลฎีกาตัดสินชอบด้วยกฎหมายหากมีเจตนาเสริมสร้างความสัมพันธ์และควบคุมความเรียบร้อย
นายจ้างออกคำสั่งห้ามลูกจ้างชุมนุมและเผยแพร่เอกสารในบริเวณที่ทำการของนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนเมื่อปรากฏจากคำปรารภของคำสั่งนั้นว่าการเผยแพร่เอกสารหรือการนัดชุมนุมของพนักงานลูกจ้างได้เคยกระทำมาก่อนแล้วซึ่งเอกสารที่เผยแพร่หรือการนัดชุมนุมที่เคยมีบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่พนักงานและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการของนายจ้างดังนี้เห็นได้ว่านายจ้างประสงค์จะห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำการดังกล่าวอีกต่อไปหากกระทำจะถือเป็นความผิดทุกครั้งจึงเป็นคำสั่งที่มีผลต่อเนื่องตลอดเวลาตราบใดที่นายจ้างยังห้ามอยู่สหภาพแรงงานฯของลูกจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อยู่ตราบนั้นการนับเวลาหกสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา124จะเริ่มนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวเป็นยุติไม่ได้. สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกันการเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐานแต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใดลักษณะใดเมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดีเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงานฯโจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้นคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121(4)(5)ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีส่วนร่วมในการยื่นข้อเรียกร้อง ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
จำเลยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์นายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้างอื่นแม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 121(1)