พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีส่วนร่วมเตรียมข้อเรียกร้องถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
จำเลยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์นายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้างอื่น แม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องบังคับนายจ้างให้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ หากนายจ้างโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยว่า การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้าง โดยฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องแย้งโจทก์ให้รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้างหรือให้ใช้ค่าเสียหายแทนได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องแย้งนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้กลับเข้าทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยว่า การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้าง โดยฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาด้วยจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องแย้งโจทก์ให้รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้างหรือให้ใช้ค่าเสียหายแทนได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิผู้เสียหายในการฟ้องอาญาหลังคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121 ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)มีสิทธิฟ้องนายจ้างให้รับผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 158 ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ กำหนดไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องอาญาเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121 ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) มีสิทธิฟ้องนายจ้างให้รับผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 158 ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ กำหนดไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างในภาวะขาดทุนและการคุ้มครองตามมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2 เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลทางเศรษฐกิจ, ความคุ้มครองมาตรา 123, และการพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะกรณี
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739-740/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลพิจารณาเหตุผลประกอบข้อตกลงสภาพการจ้างได้ แม้ไม่มีกฎหมายเฉพาะ
การเลิกจ้างอย่างไรเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรไม่ควรในการเลิกจ้าง.ประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งไม่จำต้องวินิจฉัยโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121, 123 ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739-740/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลวินิจฉัยได้โดยพิจารณาเหตุผลและความเหมาะสมตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
การเลิกจ้างอย่างไรเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้น ศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรไม่ควรในการเลิกจ้าง.ประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งไม่จำต้องวินิจฉัยโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121,123ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าเสียหายแทนการรับทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้