คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องอาญาเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121 ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) มีสิทธิฟ้องนายจ้างให้รับผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 158 ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ กำหนดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาล แม้มีพฤติกรรมผิดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แม้มีการกระทำผิด
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลทางเศรษฐกิจ, ความคุ้มครองมาตรา 123, และการพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะกรณี
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างในภาวะขาดทุนและการคุ้มครองตามมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2 เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามเหตุในกฎหมาย การลาป่วย/ลากิจผิดระเบียบไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
คำว่า "ทุจริตต่อหน้าที่" ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือการปฏิบัติของบริษัทนายจ้าง ลูกจ้างประจำรายเดือนลากิจหรือลาป่วยคงได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกัน การที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่มาทำงานไม่ได้จึงลาป่วยเพราะไม่อาจลากิจได้เนื่องจากการลากิจต้องลาล่วงหน้า การลาของลูกจ้างจึงเป็นการลาผิดระเบียบไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เพราะลูกจ้างไม่ได้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากค่าจ้างที่ได้รับจากนายจ้างแต่ประการใด
ลูกจ้างหยุดงานเพียง หนึ่งวันครึ่งโดยยื่นใบลาผิดระเบียบยังไม่เป็นการร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุอันสมควร แม้ลูกจ้างลาป่วยผิดระเบียบก็ไม่ถือเป็นเหตุทุจริตต่อหน้าที่
คำว่า 'ทุจริตต่อหน้าที่' ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือการปฏิบัติของบริษัทนายจ้าง ลูกจ้างประจำรายเดือนลากิจหรือลาป่วยคงได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกัน การที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่มาทำงานไม่ได้จึงลาป่วยเพราะไม่อาจลากิจได้เนื่องจากการลากิจต้องลาล่วงหน้า การลาของลูกจ้างจึงเป็นการลาผิดระเบียบ ไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เพราะลูกจ้างไม่ได้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากค่าจ้างที่ได้รับจากนายจ้างแต่ประการใด
ลูกจ้างหยุดงานเพียง หนึ่งวันครึ่งโดยยื่นใบลาผิดระเบียบ ยังไม่เป็นการร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างยามซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในระหว่างข้อตกลงสภาพการจ้างเป็นอันไม่เป็นธรรม แม้ไม่ได้ร่วมเจรจาโดยตรง
สหภาพแรงงานที่จะยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างได้ต้องมีสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนายจ้าง ขณะที่สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องมีลูกจ้างรวมทั้งผู้กล่าวหาเป็นสมาชิกอยู่ด้วยเกินกว่า 1 ใน 5 จึงนับว่าผู้กล่าวหามีส่วนทำให้สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างได้ และผลได้ผลเสียประโยชน์จากการเจรจาตามข้อเรียกร้องย่อมตกถึงแก่ผู้กล่าวหาด้วย จึงถือได้ว่าผู้กล่าวหาเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแล้ว หาจำต้องเป็นผู้ร่วมยื่นข้อเรียกร้องร่วมเจรจา หรือร่วมกระทำการอื่น ๆ ด้วยไม่
การที่นายจ้างเลิกจ้างผู้กล่าวหาซึ่งทำหน้าที่เป็นยามแล้วจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยทำการแทนเพราะสามารถรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ในกรณีที่ทรัพย์สินของนายจ้างสูญหายนั้น เป็นเพียงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์แตกต่างกันระหว่างการจ้างผู้กล่าวหากับบริษัทรักษาความปลอดภัยเท่านั้น มิใช่เหตุจำเป็นต้องเลิกจ้างผู้กล่าวหาซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างยามซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในระหว่างข้อตกลงสภาพการจ้างถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สหภาพแรงงานที่จะยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างได้ต้องมีสมาชิกซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนายจ้าง ขณะที่สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องมีลูกจ้างรวมทั้งผู้กล่าวหาเป็นสมาชิกอยู่ด้วยเกินกว่า 1 ใน 5 จึงนับว่าผู้กล่าวหามีส่วนทำให้สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างได้ และผลได้ผลเสียประโยชน์จากการเจรจาตามข้อเรียกร้องย่อมตกถึงแก่ผู้กล่าวหาด้วย จึงถือได้ว่าผู้กล่าวหาเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องแล้วหาจำต้องเป็นผู้ร่วมยื่นข้อเรียกร้องร่วมเจรจา หรือร่วมกระทำการอื่น ๆ ด้วยไม่
การที่นายจ้างเลิกจ้างผู้กล่าวหาซึ่งทำหน้าที่เป็นยามแล้วจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยทำการแทนเพราะสามารถรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ในกรณีที่ทรัพย์สินของนายจ้างสูญหายนั้นเป็นเพียงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์แตกต่างกันระหว่างการจ้างผู้กล่าวหากับบริษัทรักษาความปลอดภัยเท่านั้น มิใช่เหตุจำเป็นต้องเลิกจ้างผู้กล่าวหาซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมและการคุ้มครองลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามดุลพินิจ
เมื่อสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างและตกลงกันได้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงคือสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งยื่นข้อเรียกร้องนั้น จึงถือได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นต่อนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 การที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งเรื่องค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมได้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรได้
of 36