พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
ลูกจ้างฟ้องต่อศาลแรงงานกลางว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานกับให้ใช้ค่าเสียหาย ปรากฏว่านายจ้างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนฟ้องแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจต่อสู้คดีใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของนายจ้างได้แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เมื่อการที่ลูกจ้างฟ้องเป็นการขอบังคับชำระหนี้เอาแก่นายจ้าง ศาลย่อมไม่รับฟ้องไว้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 893/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายแรงงานก่อนฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฟ้องต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องร้องเรียนก่อน และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากยุบงานขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
มาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มีข้อความชัดแจ้งเป็นการห้ามนายจ้างเลิกจ้างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่เลิกจ้างเพราะเหตุที่บุคคลนั้นกระทำการตามที่ระบุไว้ การเลิกจ้างเพราะยุบงานไม่อยู่ในข้อยกเว้น จึงอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรานี้ได้ และแม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์ผู้เป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่ให้โจทก์มีสิทธิยุบงานจะใช้บังคับ ก็หามีผลให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 123 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนด้วยไม่
จำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เป็นพนักงานส่งของของโจทก์ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เพราะโจทก์ยุบงานแผนกส่งของ แล้วจ้างเหมาบุคคลภายนอกให้ทำการขนส่งและคุมสินค้าแทนเพื่อตัดรายจ่าย เป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
จำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เป็นพนักงานส่งของของโจทก์ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เพราะโจทก์ยุบงานแผนกส่งของ แล้วจ้างเหมาบุคคลภายนอกให้ทำการขนส่งและคุมสินค้าแทนเพื่อตัดรายจ่าย เป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะยุบงานขัดมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
มาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มีข้อความชัดแจ้งเป็นการห้ามนายจ้างเลิกจ้างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่เลิกจ้างเพราะเหตุที่บุคคลนั้นกระทำการตามที่ระบุไว้ การเลิกจ้างเพราะยุบงานไม่อยู่ในข้อยกเว้น จึงอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรานี้ได้ และแม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์ผู้เป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่ให้โจทก์มีสิทธิยุบงานจะใช้บังคับ ก็หามีผลให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 123 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชนด้วยไม่
จำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เป็นพนักงานส่งของของโจทก์ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 13 ที่ 14 และฮ.เพราะโจทก์ยุบงาน แผนกส่งของ แล้วจ้างเหมาบุคคลภายนอกให้ทำการขนส่งและ คุมสินค้าแทนเพื่อตัดรายจ่ายเป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
จำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เป็นพนักงานส่งของของโจทก์ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 13 ที่ 14 และฮ.เพราะโจทก์ยุบงาน แผนกส่งของ แล้วจ้างเหมาบุคคลภายนอกให้ทำการขนส่งและ คุมสินค้าแทนเพื่อตัดรายจ่ายเป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101-3102/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการพิสูจน์ความเสียหายของลูกจ้าง กรณีลูกจ้างมีส่วนผิด
วันเกิดเหตุ ก. ซึ่งเป็นพนักงานขายของได้ไปที่บริษัทนายจ้าง แล้วได้ปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน นำรถยนต์บรรทุกน้ำอัดลมออกไปเพื่อทำการขาย และได้ให้พนักงานขายสำรองไปด้วย ระหว่างทาง ก.ลงจากรถไป โดยให้พนักงานขายสำรองทำการขายแทน ครั้นตอนเป็น ก.กลับไปที่บริษัทนายจ้างอีกเพื่อปั๊มบัตรเลิกงาน ดังนี้ การกระทำของ ก. เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำงาน เป็นการละทิ้งหน้าที่ซึ่งบัญญัติไว้ต่างหากแล้วในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 (4) มิใช่อาศัยอำนาจหน้าที่ที่เป็นพนักงานขายแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่
ตามมาตรา 41 (4) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เห็นได้ว่า เมื่อได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว จะไม่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายอีกก็ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว และปรากฏว่าลูกจ้างมิได้นำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งมีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้
ตามมาตรา 41 (4) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เห็นได้ว่า เมื่อได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว จะไม่สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายอีกก็ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้ว และปรากฏว่าลูกจ้างมิได้นำสืบว่าได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง ทั้งมีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691-2694/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันในหอพักโรงงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย: กรณีร้ายแรงและอำนาจการวินิจฉัยของหน่วยงาน
แม้ลูกจ้างจะได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานแรงงานจังหวัดต่ออธิบดีกรมแรงงาน และอธิบดีกรมแรงงานเห็นว่านายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง จึงมีหนังสือแจ้งให้นายจ้างนำเงินค่าชดเชยไปชำระให้ลูกจ้างก็ตาม การอุทธรณ์เช่นนี้มิใช่เป็นวิธีการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จำต้องปฏิบัติ การที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามความเห็นของอธิบดีกรมแรงงานจึงไม่ทำให้นายจ้างต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะหนังสือของอธิบดีกรมแรงงานเป็นเพียงคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้อธิบดีกรมแรงงานจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้นก็ยังมีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้าง การที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงาน และเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน และชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผูนั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้าง การที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงาน และเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน และชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผูนั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691-2694/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันในหอพักของโรงงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและอำนาจของอธิบดีกรมแรงงาน
แม้ลูกจ้างจะได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานแรงงานจังหวัดต่ออธิบดีกรมแรงงาน และอธิบดีกรมแรงงานเห็นว่านายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง จึงมีหนังสือแจ้งให้นายจ้างนำเงินค่าชดเชยไปชำระให้ลูกจ้างก็ตามการอุทธรณ์เช่นนี้มิใช่เป็นวิธีการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จำต้องปฏิบัติ การที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามความเห็นของอธิบดีกรมแรงงานจึงไม่ทำให้นายจ้างต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะหนังสือของอธิบดีกรมแรงงานเป็นเพียงคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้อธิบดีกรมแรงงานจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้นก็ยังมีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้างการที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงานและเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกันและชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้างการที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงานและเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกันและชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612-1636/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะขาดทุนและการจ่ายเงินชดเชย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะเหตุประสบภาวะการขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการในแผนกที่โจทก์ทำงานอยู่ต่อไปได้ ทั้งภายหลังเลิกจ้าง แล้วจำเลยยังพยายามดำเนินการเพื่อให้โจทก์เข้าทำงานใหม่ และได้จ่ายเงินชดเชยให้โจทก์ทุกคนรับไปแล้วด้วย จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์