พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานขับรถที่ดื่มสุราก่อนทำงาน ไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยและมีคำสั่งว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง ป. เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ให้โจทก์รับ ป. กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานตั้งเป็นประเด็นว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวหรือไม่แต่กลับวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง แล้วพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 หรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปรับบทกฎหมายไม่ตรงกับคำฟ้องและประเด็นแห่งคดีที่กำหนดไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส. ที่บ้านของ ส. ต่อมา ป. เข้าทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติ แต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้ฟังไม่ได้ว่า ป. มึนเมาในขณะทำงาน แต่เมื่อ ป. ดื่มสุราก่อนมาทำงาน เพียงไม่นาน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเข้าใจได้ว่า ป. มึนเมาสุรา โจทก์เลิกจ้าง ป. ด้วยเหตุนี้ มิใช่โจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากเหตุต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส. ที่บ้านของ ส. ต่อมา ป. เข้าทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติ แต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้ฟังไม่ได้ว่า ป. มึนเมาในขณะทำงาน แต่เมื่อ ป. ดื่มสุราก่อนมาทำงาน เพียงไม่นาน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเข้าใจได้ว่า ป. มึนเมาสุรา โจทก์เลิกจ้าง ป. ด้วยเหตุนี้ มิใช่โจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากเหตุต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จำเป็นต้องพิสูจน์ความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นอกเหนือจากเหตุตามกฎหมาย
โจทก์ปรับปรุงระบบการทำงานแล้วลดจำนวนพนักงานที่ไม่จำเป็นลงรวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ เนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้นดังกล่าว มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติมิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จ่ายค่าชดเชย เพราะไม่ได้เกิดจากความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของกิจการ
จำเลยเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับเนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้น มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วน ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติ มิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างบางกรณีอาจเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ทุจริตนำหนังสือพิมพ์สำหรับจัดส่งให้แก่สมาชิกของจำเลยไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ และโจทก์ไปซื้อหนังสือพิมพ์จากตัวแทนแล้วนำไปจำหน่าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อนที่จะเลิกจ้างจำเลยก็ไม่ได้สอบสวนโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเป็นผู้เข้าร่วมในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้นก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม โดยมิได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ ประกอบกับในการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็ได้ยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในเรื่องอายุ ของโจทก์ ระยะเวลาการทำงานของโจทก์ ความเดือดร้อนของโจทก์เมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่โจทก์ จะได้รับประกอบการพิจารณาโดยละเอียดครบถ้วน จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ทุจริตนำหนังสือพิมพ์สำหรับจัดส่งให้แก่สมาชิกของจำเลยไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ และโจทก์ไปซื้อหนังสือพิมพ์จากตัวแทนแล้วนำไปจำหน่าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อนที่จะเลิกจ้างจำเลยก็ไม่ได้สอบสวนโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเป็นผู้เข้าร่วมในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้นก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม โดยมิได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ ประกอบกับในการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็ได้ยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในเรื่องอายุ ของโจทก์ ระยะเวลาการทำงานของโจทก์ ความเดือดร้อนของโจทก์เมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่โจทก์ จะได้รับประกอบการพิจารณาโดยละเอียดครบถ้วน จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อ กสร. ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างบางกรณีอาจเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ทุจริตนำหนังสือพิมพ์สำหรับจัดส่งให้แก่สมาชิกของจำเลยไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ และโจทก์ไปซื้อหนังสือพิมพ์จากตัวแทนแล้วนำไปจำหน่าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อนที่จะเลิกจ้างจำเลยก็ไม่ได้สอบสวนโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเป็นผู้เข้าร่วมในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้นก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม โดยมิได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ประกอบกับในการกำหนดค่าเสียหาย ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็ได้ยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในเรื่องอายุ ของโจทก์ ระยะเวลาการทำงานของโจทก์ ความเดือดร้อนของโจทก์เมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่โจทก์ จะได้รับประกอบการพิจารณาโดยละเอียดครบถ้วน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ทุจริตนำหนังสือพิมพ์สำหรับจัดส่งให้แก่สมาชิกของจำเลยไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ และโจทก์ไปซื้อหนังสือพิมพ์จากตัวแทนแล้วนำไปจำหน่าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อนที่จะเลิกจ้างจำเลยก็ไม่ได้สอบสวนโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเป็นผู้เข้าร่วมในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้นก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม โดยมิได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ประกอบกับในการกำหนดค่าเสียหาย ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็ได้ยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในเรื่องอายุ ของโจทก์ ระยะเวลาการทำงานของโจทก์ ความเดือดร้อนของโจทก์เมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่โจทก์ จะได้รับประกอบการพิจารณาโดยละเอียดครบถ้วน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8706/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงานได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือ มาตรา 123 แม้โจทก์มิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและโจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานมีความเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม ทุกประการ ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เลิกจ้างถึงวันฟ้องเป็นเงิน 155,320 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยชำระค่าจ้างในอัตราเดือนละ 13,200 บาท แก่โจทก์พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิม ให้จำเลยชำระหรือส่งเงินสมบทเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทโพสต์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน) นับจากวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ถึงวันฟ้อง เป็นเงิน 11,088 บาท และในอัตราเดือนละ 924 บาท นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานกลางจึงกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์โดยคำนึงถึงมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ไม่เป็นความจริง อายุและระยะการทำงานของโจทก์ ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จำเลยไม่จ่าย พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 280,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 มกราคม 2542 (วันฟ้อง) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิเคราะห์แล้วคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น เห็นว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมดาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การเลิกจ้างของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการนั้น เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเป็นผู้เข่าร่วมคัดค้านการที่จำเลยเลิกจ้างนายวิชาญ เรืองนนท์ และโจทก์เป็นผู้ที่ร่วมกับสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้น ก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์ในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้ง มิได้มีเหตุผลอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แต่อย่างใด ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม ทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานกลาง จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 คำพิพากษาดังกล่าวไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์
พิพากษายืน .
(ปัญญา สุทธิบดี - กมล เพียรพิทักษ์ - พูนศักดิ์ จงกลนี)
ศาลแรงงานกลาง - นายประทีป อ่าววิจิตรกุล
ศาลอุทธรณ์ -
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ ย่อสั้น
นายกรัณย์ กาญจนรินทร์ ย่อยาว
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือ มาตรา 123 แม้โจทก์มิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและโจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานมีความเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม ทุกประการ ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เลิกจ้างถึงวันฟ้องเป็นเงิน 155,320 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยชำระค่าจ้างในอัตราเดือนละ 13,200 บาท แก่โจทก์พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิม ให้จำเลยชำระหรือส่งเงินสมบทเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทโพสต์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน) นับจากวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ถึงวันฟ้อง เป็นเงิน 11,088 บาท และในอัตราเดือนละ 924 บาท นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานกลางจึงกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์โดยคำนึงถึงมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ไม่เป็นความจริง อายุและระยะการทำงานของโจทก์ ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จำเลยไม่จ่าย พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 280,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 มกราคม 2542 (วันฟ้อง) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิเคราะห์แล้วคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น เห็นว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมดาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การเลิกจ้างของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการนั้น เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเป็นผู้เข่าร่วมคัดค้านการที่จำเลยเลิกจ้างนายวิชาญ เรืองนนท์ และโจทก์เป็นผู้ที่ร่วมกับสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้น ก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์ในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้ง มิได้มีเหตุผลอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แต่อย่างใด ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม ทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานกลาง จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 คำพิพากษาดังกล่าวไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์
พิพากษายืน .
(ปัญญา สุทธิบดี - กมล เพียรพิทักษ์ - พูนศักดิ์ จงกลนี)
ศาลแรงงานกลาง - นายประทีป อ่าววิจิตรกุล
ศาลอุทธรณ์ -
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ ย่อสั้น
นายกรัณย์ กาญจนรินทร์ ย่อยาว
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043-7047/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง: นายจ้างกระทำผิดข้อตกลงก่อนได้หรือไม่ และการลดค่าจ้างแทนการเลิกจ้าง
ผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นกรรมการลูกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานกว่า 300 คนได้นัดหมายกันไม่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและพร้อมใจกันผละงานไปพบ จ. ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของผู้ร้องเพื่อขอให้จ่ายค่าจ้างในเวลา15 นาฬิกา เป็นการวางแผนตระเตรียมกันมาก่อนโดยมีผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของสหภาพแรงงานเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเมื่อ จ. ปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทุกข้อแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกไม่พอใจ โดยผู้คัดค้านที่ 1 ได้กล่าวสบประมาทการบริหารงานของผู้ร้องและหมิ่นประมาท จ. จากนั้นผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกได้รวมตัวไม่ยอมกลับเข้าทำงานและเรียกร้องให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมให้หยุดงานด้วยโดยมีการข่มขู่ ด่าว่า และจดชื่อพนักงานที่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและไม่เข้าร่วมในการหยุดงานในวันเกิดเหตุ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องอันเป็นกรณีร้ายแรงด้วย แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะเป็นกรรมการลูกจ้างและอยู่ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ก็ตาม ผู้ร้องย่อมชอบที่จะขออนุญาตศาลแรงงานเพื่อเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้าได้
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15-17 นาฬิกาเมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12-13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สองผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12-13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้าแต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง สมควรลดอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15-17 นาฬิกาเมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12-13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สองผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12-13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้าแต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง สมควรลดอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043-7047/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การกระทำผิดระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้าง
ผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นกรรมการลูกจ้าง เหตุคดีนี้เกิดในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานกว่า 300 คน ได้นัดหมายกันไม่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและพร้อมใจกันผละงานไปพบ จ. ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของผู้ร้องเพื่อขอให้จ่ายค่าจ้างในเวลา 15 นาฬิกา เป็นการวางแผนตระเตรียมกันมาก่อน โดยมีผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของสหภาพแรงงานเป็นผู้นำการเคลื่อนไหว เมื่อ จ. ปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ข้อเรียกร้องทุกข้อแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกไม่พอใจโดยผู้คัดค้านที่ 1 ได้กล่าวสบประมาทการบริหารงานของผู้ร้องและหมิ่นประมาท จ. จากนั้นผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกได้รวมตัวไม่ยอมกลับเข้าทำงานและเรียกร้องให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมให้หยุดงานด้วยโดยมีการข่มขู่ ด่าว่าและจดชื่อพนักงานที่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและไม่เข้าร่วมในการหยุดงานในวันเกิดเหตุ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง อันเป็นกรณีร้ายแรงด้วย แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะเป็นกรรมการลูกจ้างและอยู่ ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ก็ตาม ผู้ร้องย่อมชอบที่จะขออนุญาตศาลแรงงานเพื่อเลิกจ้าง ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการดำเนินการทางศาลแรงงาน: ข้อจำกัดและขั้นตอนที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุประการแรกว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เพราะจำเลยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน แต่จำเลยกลับมีรายได้และกำไร ไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ จำเลยยังสามารถหามาตรการอื่น ๆ เช่น ให้โจทก์ไปทำงานในแผนกอื่นหรือตำแหน่งอื่นได้ เป็นการกล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในกรณีดังกล่าวต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา124 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เสียก่อน กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 8 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
ส่วนข้ออ้างอีกประการหนึ่งตามคำบรรยายฟ้องที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้น กรณีฝ่าฝืนมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 มิได้บังคับให้ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด แต่ถ้าผู้เสียหายประสงค์จะเรียกร้อง ผู้เสียหายจะต้องกระทำโดยการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนอันแสดงให้เห็นว่ามีการบังคับให้ผู้เสียหายต้องกระทำ เมื่อฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยฝ่าฝืนมาตรา 123 ขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปและรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายโดยโจทก์มิได้ร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อนตามมาตรา 124โจทก์จึงดำเนินการในศาลแรงงานโดยฟ้องจำเลยในกรณีนี้ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างอีกประการหนึ่งตามคำบรรยายฟ้องที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้น กรณีฝ่าฝืนมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 มิได้บังคับให้ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด แต่ถ้าผู้เสียหายประสงค์จะเรียกร้อง ผู้เสียหายจะต้องกระทำโดยการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนอันแสดงให้เห็นว่ามีการบังคับให้ผู้เสียหายต้องกระทำ เมื่อฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยฝ่าฝืนมาตรา 123 ขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปและรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายโดยโจทก์มิได้ร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อนตามมาตรา 124โจทก์จึงดำเนินการในศาลแรงงานโดยฟ้องจำเลยในกรณีนี้ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: อำนาจฟ้องศาลแรงงาน vs. การร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน แต่จำเลยมีรายได้และกำไร ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังสามารถหามาตรการอื่น ๆ เช่นให้โจทก์ไปทำงานในแผนกอื่นหรือตำแหน่งอื่นได้เป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในกรณีดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 124 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และไม่ต้องห้ามตามมาตรา 8 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
ส่วนที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไป และรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์มิได้ร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อนตามมาตรา 124 จึงฟ้องจำเลยในกรณีนี้ต่อศาลแรงงานกลางไม่ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไป และรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์มิได้ร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อนตามมาตรา 124 จึงฟ้องจำเลยในกรณีนี้ต่อศาลแรงงานกลางไม่ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย