พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีเหตุผลทางธุรกิจ แต่ต้องพิจารณาความจำเป็นและความเดือดร้อนของลูกจ้าง
บทบัญญัติเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แม้ตามมาตรา 123 ซึ่งมุ่งหมายมิให้นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างไม่ได้ จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญฉะนั้นแม้การเลิกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อน แต่ถ้าเป็นความจำเป็นทางฝ่ายนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ก็ย่อมเป็นสาเหตุที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้
จำเลยร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและถูกโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ทั้งก่อนที่โจทก์จะยุบตำแหน่งจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังประกอบกิจการได้กำไรอยู่ การยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายของสำนักงานใหญ่ของโจทก์เท่านั้น ทั้งตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอให้จำเลยร่วมคือรองนายสนามบิน ก็ต้องทำงานเป็นกะบางครั้งต้องทำงานในเวลากลางคืนและทำงานช่วงวันเสาร์อาทิตย์ จำเลยร่วมมีครอบครัวจึงไม่สะดวก ส่วนตำแหน่งฝ่ายปฏิบัติการประจำสนามบินมีผลประโยชน์ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมที่จำเลยร่วมทำงานอยู่ จำเลยร่วมจึงปฏิเสธ โจทก์ไม่สามารถหาตำแหน่งงานใหม่ที่เหมาะสมให้แก่จำเลยร่วมได้ การที่จำเลยร่วมปฏิเสธตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอจึงมิใช่ความผิดของจำเลยร่วม กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยร่วม ทั้งการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะเหตุยุบตำแหน่งของจำเลยร่วม ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123
จำเลยร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและถูกโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ทั้งก่อนที่โจทก์จะยุบตำแหน่งจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังประกอบกิจการได้กำไรอยู่ การยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายของสำนักงานใหญ่ของโจทก์เท่านั้น ทั้งตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอให้จำเลยร่วมคือรองนายสนามบิน ก็ต้องทำงานเป็นกะบางครั้งต้องทำงานในเวลากลางคืนและทำงานช่วงวันเสาร์อาทิตย์ จำเลยร่วมมีครอบครัวจึงไม่สะดวก ส่วนตำแหน่งฝ่ายปฏิบัติการประจำสนามบินมีผลประโยชน์ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมที่จำเลยร่วมทำงานอยู่ จำเลยร่วมจึงปฏิเสธ โจทก์ไม่สามารถหาตำแหน่งงานใหม่ที่เหมาะสมให้แก่จำเลยร่วมได้ การที่จำเลยร่วมปฏิเสธตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอจึงมิใช่ความผิดของจำเลยร่วม กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยร่วม ทั้งการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะเหตุยุบตำแหน่งของจำเลยร่วม ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีศาลยืนตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
บทบัญญัติเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แม้ตามมาตรา 123 ซึ่งมุ่งหมายมิให้นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างไม่ได้ จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้การเลิกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อน แต่ถ้าเป็นความจำเป็นทางฝ่ายนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ก็ย่อมเป็นสาเหตุที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ จำเลยร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและถูกโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ทั้งก่อนที่โจทก์จะยุบตำแหน่งจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังประกอบกิจการได้กำไรอยู่การยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายของสำนักงานใหญ่ของโจทก์เท่านั้น ทั้งตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอให้จำเลยร่วมคือรองนายสนามบิน ก็ต้องทำงานเป็นกะบางครั้งต้องทำงานในเวลากลางคืนและทำงานช่วงวันเสาร์อาทิตย์จำเลยร่วมมีครอบครัวจึงไม่สะดวก ส่วนตำแหน่งฝ่ายปฏิบัติการประจำสนามบินมีผลประโยชน์ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมที่จำเลยร่วมทำงานอยู่ จำเลยร่วมจึงปฏิเสธ โจทก์ไม่สามารถหาตำแหน่งงานใหม่ที่เหมาะสมให้แก่จำเลยร่วมได้ การที่จำเลยร่วมปฏิเสธตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอจึงมิใช่ความผิดของจำเลยร่วม กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยร่วม ทั้งการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะเหตุยุบตำแหน่งของจำเลยร่วมก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการ ไม่ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและกฎหมาย
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการและการปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง มิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา(1) ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากการเลิกกิจการ ไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและจ่ายเงินครบถ้วน
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองงานได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิในการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่1และที่2เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518จำเลยที่1และที่2จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา123และจำเลยที่3ถึงที่14ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่1และที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองงานได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 14 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างฟ้องค่าจ้าง-ค่าชดเชย: ไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
การฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยจากนายจ้างไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ดื่มสุราขณะทำงาน แม้ดื่มนอกสถานที่ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
จำเลยที่ 15 เป็นลูกจ้างโจทก์ ทำหน้าที่ขับรถเครนยกของหนักต้องใช้ความระมัดระวัง เมื่อจำเลยที่ 15 ดื่มสุราในเวลาทำงานแม้เป็นการดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุราถ้าจำเลยที่ 15 เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับรถเครนก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้การกระทำของจำเลยที่ 15จึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 15 ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การประเมินผลงานที่ไม่เชื่อมโยงกับความผิดตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ลูกจ้างกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123(1) ถึง (5)โจทก์เลิกจ้างจำเลยเพราะหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน โดยนำเอาสาเหตุการลาป่วย ลากิจ และการมาทำงานสายของจำเลยมาเป็น เกณฑ์ในการประเมิน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำอย่างใดอย่าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(1) ถึง (5) แม้ตามข้อบังคับของโจทก์กำหนดให้โจทก์มีอำนาจนำเอาผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย เลิกจ้าง และการพิจารณาปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนด้วย โจทก์อาจจะ โยกย้ายหรือไม่ปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนให้จำเลยได้ แต่โจทก์ก็ไม่อาจเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 การเลิกจ้างของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม