พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงาน
กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อผู้เสียหายได้ ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม มาตรา 124แล้ว การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งตาม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(4) และมาตรา 125 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นในเรื่องที่ได้รับ มอบหมายตาม มาตรา 42 รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 แต่ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าต้อง ส่งสำเนาคำร้องกล่าวหาให้แก่ผู้ฝ่าฝืนและต้อง ให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่จะเข้าฟังและซักถาม พยานของอีกฝ่ายหนึ่งดังเช่น การพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะใช้ ดุลพินิจ ดำเนินการไปตามที่เห็นสมควร โดย คำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมแก่คู่กรณี การที่จำเลยที่ 14ขอเพิ่มเติมข้อกล่าวหาว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้ บังคับ โดย จำเลยที่ 14 เป็นกรรมการสหภาพแรงงานซึ่ง เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง แล้วคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ แจ้งข้อหาเพิ่มเติมให้โจทก์ทราบโดย ไม่ส่งสำเนาให้นั้น เป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้วส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าฟังการสอบสวนพยานของจำเลยที่ 14 ก็เป็นการใช้ อำนาจโดยชอบจะถือว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ กรณีที่โจทก์ได้ ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้วโจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14โดย ไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดย ไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความยุติคดีแล้ว ห้ามเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากการเลิกจ้าง
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากยุบหน่วยงาน: เหตุผลทางธุรกิจมิใช่การกลั่นแกล้ง
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า นายจ้างมีกิจการขนาดใหญ่ หากจะต้องยุบหน่วยงานที่ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ ก็สามารถโอนผู้ร้องไปหน่วยงานอื่นได้จึงไม่มีเหตุเพียงพอจะเลิกจ้างผู้ร้องได้นั้น เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีหน่วยงานอื่นที่เหมาะสมแก่พนักงานหน่วยนี้รวมทั้งผู้ร้อง ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 54
การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์เป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันแม้ตามมาตรา 123ซึ่งมุ่งหมายมิให้นยจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ 5ประการด้วยกันแต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้
เมื่อการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยให้นายจ้างเลิกกิจการจำหน่ายและให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงในบริเวณท่าอากาศยาน โดยมอบหมายให้บริษัทอื่นดำเนินการแทน นายจ้างจึงจำเป็นต้องยุบหน่วยงานนั้นและนายจ้างไม่มีตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมแก่ลูกจ้างที่ประจำอยู่ในหน่วยงานดังกล่าว การที่นายจ้างขอเลิกจ้างลูกจ้างจึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123.
การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์เป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันแม้ตามมาตรา 123ซึ่งมุ่งหมายมิให้นยจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ 5ประการด้วยกันแต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้
เมื่อการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยให้นายจ้างเลิกกิจการจำหน่ายและให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงในบริเวณท่าอากาศยาน โดยมอบหมายให้บริษัทอื่นดำเนินการแทน นายจ้างจึงจำเป็นต้องยุบหน่วยงานนั้นและนายจ้างไม่มีตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมแก่ลูกจ้างที่ประจำอยู่ในหน่วยงานดังกล่าว การที่นายจ้างขอเลิกจ้างลูกจ้างจึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ไม่ต้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่า โจทก์กระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ปัญหาจึงมีเพียงว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ คดีไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง
ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่า การกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง จึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไป กรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ป่วยจำนวน 3 วัน แล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ ว.ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงาน นอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ ว. หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากัน หากวันนัดไม่ตรงกัน ผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ ว. และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี 2526 - 2527 มีจำนวน 68 ครั้งเป็นเวลา 310 ชั่วโมงเศษ และในปี 2527-2528 มีจำนวน 82 ครั้งเป็นเวลา 390 ชั่วโมงเศษ ซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: พฤติการณ์หลีกเลี่ยงหน้าที่, รายงานเท็จ, และใช้เวลางานผิดประเภท
ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่าการกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงจึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไปกรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้งๆที่ไม่ได้ป่วยจำนวน3วันแล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ว.ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงานนอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ว.หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากันหากวันนัดไม่ตรงกันผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ว.และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี2526-2527มีจำนวน68ครั้งเป็นเวลา310ชั่วโมงเศษและในปี2527-2528มีจำนวน82ครั้งเป็นเวลา390ชั่วโมงเศษซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123แล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง แม้ระเบียบไม่ได้ระบุเหตุร้ายแรงโดยตรง ศาลยืนตามการเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่า การกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง จึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไป กรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ป่วยจำนวน 3 วัน แล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ ว. ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงาน นอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ว.หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากัน หากวันนัดไม่ตรงกัน ผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ ว. และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี 2526-2527 มีจำนวน 68 ครั้งเป็นเวลา 310 ชั่วโมงเศษ และในปี2527-2528 มีจำนวน 82 ครั้งเป็นเวลา 390 ชั่วโมงเศษ ซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา 123 แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานในการอนุญาตเลิกจ้างขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และขอบเขตการพิจารณาของศาล
คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยคดีว่า พฤติการณ์ของจำเลยร่วมที่ถูก อ.ภรรยา ข. ครูร่วมโรงเรียนใช้ถุงกระดาษใส่ผ้าปาในบริเวรโรงเรียนและถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับ ข.นั้น คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของและผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงเรียนเลิกจ้างจำเลยร่วม โดยขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 หรือไม่ อันเป็นการตกลงกันขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นเพียงว่า คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 ได้ หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะเท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ขณะเลิกจ้างจำเลยร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน และคำชี้ขาดยังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา123 และแม้กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นของบทกฎหมายดังกล่าว เหตุเลิกจ้างจำเลยร่วมก็มีเหตุอันสมควรอื่นที่จะเลิกจ้างได้ มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมจึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงของคู่ความ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 78 คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเลิกจ้างครูผู้เป็นลูกจ้างได้ ที่คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานได้ประชุมมีมติว่าหากเจ้าของโรงเรียนเห็นว่าพฤติการณ์ของครูทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะให้เป็นครูของโรงเรียนต่อไป ก็เป็นสิทธิของเจ้าของโรงเรียนที่จะเลิกจ้างได้เป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ ศาลไม่อาจพิจารณาชี้ขาดตามที่คู่ความได้ตกลงกันขอให้วินิจฉัย จึงจำต้องพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 78 คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเลิกจ้างครูผู้เป็นลูกจ้างได้ ที่คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานได้ประชุมมีมติว่าหากเจ้าของโรงเรียนเห็นว่าพฤติการณ์ของครูทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะให้เป็นครูของโรงเรียนต่อไป ก็เป็นสิทธิของเจ้าของโรงเรียนที่จะเลิกจ้างได้เป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ ศาลไม่อาจพิจารณาชี้ขาดตามที่คู่ความได้ตกลงกันขอให้วินิจฉัย จึงจำต้องพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี