คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานในการอนุญาตเลิกจ้าง และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลแรงงาน
คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยคดีว่าพฤติการณ์ของจำเลยร่วมที่ถูกอ.ภรรยาข.ครูร่วมโรงเรียนใช้ถุงกระดาษใส่ผ้าปาในบริเวรโรงเรียนและถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับข.นั้นคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของและผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงเรียนเลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123หรือไม่อันเป็นการตกลงกันขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นเพียงว่าคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมโดยขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123ได้หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะเท่านั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าขณะเลิกจ้างจำเลยร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงานและคำชี้ขาดยังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123และแม้กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นของบทกฎหมายดังกล่าวเหตุเลิกจ้างจำเลยร่วมก็มีเหตุอันสมควรอื่นที่จะเลิกจ้างได้มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมจึงเป็นการวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงของคู่ความ. ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525มาตรา78คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเลิกจ้างครูผู้เป็นลูกจ้างได้ที่คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานได้ประชุมมีมติว่าหากเจ้าของโรงเรียนเห็นว่าพฤติการณ์ของครูทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะให้เป็นครูของโรงเรียนต่อไปก็เป็นสิทธิของเจ้าของโรงเรียนที่จะเลิกจ้างได้เป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่งอนุญาตให้โจทก์เลิกจ้างจำเลยเช่นนี้ศาลไม่อาจพิจารณาชี้ขาดตามที่คู่ความได้ตกลงกันขอให้วินิจฉัยจึงจำต้องพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4295/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่สมเหตุสมผล แม้มีบันทึกข้อตกลงและภาวะขาดทุน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อน แต่ก็เป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นแก่การเลิกจ้างแล้วแม้นายจ้างมิได้ยุบหน่วยงานที่ผู้ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยราบรื่น จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างพนักงาน เมื่อเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและไม่เป็นการฝ่าฝืนบันทึกผลการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งห้ามจำเลยที่ 1 เลิกจ้างพนักงานและลูกจ้างไม่ว่ากรณีใด ๆ มิฉะนั้นแล้วแม้จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุนมีหนี้สินมากจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจำเลยที่ 1 ก็ยังจะต้องรับภาระจ้างพนักงาน และลูกจ้างในจำนวนเดิมและไม่สามารถแก้ไขวิกฤติการณ์ จึงย่อมเป็นไปไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งวันฟ้อง' แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4295/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานด้วยเหตุผลทางธุรกิจ: การพิจารณาความจำเป็นและความเป็นธรรม
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อนแต่ก็เป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นแก่การเลิกจ้างแล้วแม้นายจ้างมิได้ยุบหน่วยงานที่ผู้ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยราบรื่น จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างพนักงานเมื่อเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชยให้ตามกฎหมายถือไม่ได้ว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและไม่เป็นการฝ่าฝืนบันทึกผลการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งห้ามจำเลยที่ 1 เลิกจ้างพนักงานและลูกจ้างไม่ว่ากรณีใดๆมิฉะนั้นแล้วแม้จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุนมีหนี้สินมากจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจำเลยที่ 1 ก็ยังจะต้องรับภาระจ้างพนักงานและลูกจ้างในจำนวนเดิม และไม่สามารถแก้ไขวิกฤติการณ์ จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งวันฟ้อง' แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานกำหนดระยะเวลาได้ นายจ้างมิอาจอ้างหลีกเลี่ยงค่าชดเชยโดยง่าย
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้างซึ่งมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็นข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลาหลังผ่านทดลองงาน ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้ สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้าง ซึ่งมีข้อตกลง หรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของ นายจ้างหรือข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อ ประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็น ข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้าง ไว้แน่นอนได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานโดยมิชอบ และสิทธิการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้ร้องมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านไปทำงานที่อื่นชั่วคราวซึ่งผู้ร้องมีอำนาจออกคำสั่งได้ตามระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ผู้คัดค้านจึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้าง การที่ผู้คัดค้านเข้าใจว่าคำสั่งของผู้ร้องเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นความเข้าใจผิดของผู้คัดค้านเองเมื่อไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้ร้องเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ผู้คัดค้านจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้ร้องกลั่นแกล้งไม่ได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร
ผู้ร้องมีคำขอให้เลิกจ้างผู้คัดค้านโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ แก่ผู้คัดค้านนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 แล้วผู้ร้องก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกชั้นหนึ่งสิทธิของผู้ร้องที่จะจ่ายหรือไม่จ่ายคำชดเชยหรือค่าเสียหายนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องได้มีคำสั่งเลิกจ้างแล้วไม่สมควรที่จะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีกรณีพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานเนื่องจากเข้าใจผิดเรื่องคำสั่งโยกย้าย และสิทธิในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้ร้องมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านไปทำงานที่อื่นชั่วคราวซึ่งผู้ร้องมีอำนาจออกคำสั่งได้ตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานผู้คัดค้านจึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างการที่ผู้คัดค้านเข้าใจว่าคำสั่งของผู้ร้องเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นความเข้าใจผิดของผู้คัดค้านเองเมื่อไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้ร้องเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ผู้คัดค้านจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้ร้องกลั่นแกล้งไม่ได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร ผู้ร้องมีคำขอให้เลิกจ้างผู้คัดค้านโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆแก่ผู้คัดค้านนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 52 แล้วผู้ร้องก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกชั้นหนึ่งสิทธิของผู้ร้องที่จะจ่ายหรือไม่จ่ายคำชดเชยหรือค่าเสียหายนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องได้มีคำสั่งเลิกจ้างแล้วไม่สมควรที่จะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีกรณีพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาเพื่ออบรม/สัมมนาของลูกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาสิทธิการลาตามข้อตกลงร่วมกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง ประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาเพื่อเข้าร่วมสัมมนาของสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาเหตุผลสมควร แม้จะไม่ได้ลาตามระเบียบ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว
การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเตือนของนายจ้าง: รูปแบบและหลักเกณฑ์การวินิจฉัย ความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
หนังสือเตือนของนายจ้างจะต้องมีรูปแบบอย่างใดจึงจะเป็นการสมบูรณ์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ฉะนั้นการจะวินิจฉัยว่าหนังสือใดเป็นหนังสือเตือน จึงพิจารณาโดยความคิดเห็นของบุคคลสามัญจะพึงเข้าใจ โจทก์เคยมีแบบฟอร์มใบเตือนใช้อยู่ทั่วไป ครั้นในคราวเตือนลูกจ้างมิได้ใช้แบบฟอร์มเช่นนั้น เมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความเตือนลูกจ้างอย่างชัดแจ้ง ทั้งยังมีข้อความว่าต่อไปจะลงโทษหากปฏิบัติทำนองเดิมอีก ดังนี้ เป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือโดยชอบแล้ว
of 36