คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเตือนของนายจ้าง: รูปแบบและความสมบูรณ์ทางกฎหมาย การเลิกจ้างที่เป็นธรรม
หนังสือเตือนของนายจ้างจะต้องมีรูปแบบอย่างใดจึงจะเป็นการสมบูรณ์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ฉะนั้นการจะวินิจฉัยว่าหนังสือใดเป็นหนังสือเตือน จึงพิจารณาโดยความคิดเห็นของบุคคลสามัญจะพึงเข้าใจโจทก์เคยมีแบบฟอร์มใบเตือนใช้อยู่ทั่วไปครั้นในคราวเตือนลูกจ้างมิได้ใช้แบบฟอร์มเช่นนั้นเมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความเตือนลูกจ้างอย่างชัดแจ้ง ทั้งยังมีข้อความว่าต่อไปจะลงโทษหากปฏิบัติทำนองเดิมอีกดังนี้เป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดงานเนื่องจากน้ำท่วมไม่ถือเป็นเหตุสมควรหรือไม่ฉุกเฉิน แม้ขอลาแล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้านไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าวแล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้านมีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำท่วมไม่ใช่เหตุสมควรในการขาดงาน เลิกจ้างได้หากเตือนแล้วขาดงานซ้ำ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้าน ไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าว แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้าน มีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ถูกเพิกถอน ย่อมเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสิ้นสุดลง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าเสียหายโดยอาศัยคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นหลักแห่งข้อหา เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วเช่นนี้ถือว่าโจทก์ขาดข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ให้จำเลยต้องรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างคำสั่งดังกล่าวมาเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ได้ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ถูกเพิกถอน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าเสียหายโดยอาศัยคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นหลักแห่งข้อหา เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ขาดข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ให้จำเลยต้องรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างคำสั่งดังกล่าวมาเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ได้ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน การพิจารณาเหตุเลิกจ้างและอำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่ง
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ"มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วย วาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่ง ครั้ง" นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า"พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก" แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้งแสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องมีเหตุผลปัจจุบันในการเลิกจ้าง และศาลมีอำนาจแก้ไขค่าเสียหาย
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ'มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่งครั้ง' นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้งหรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า'พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก' แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้ง แสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องบังคับนายจ้างให้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ หากนายจ้างโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยว่า การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้าง โดยฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องแย้งโจทก์ให้รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้างหรือให้ใช้ค่าเสียหายแทนได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องแย้งนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้กลับเข้าทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยว่า การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้าง โดยฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาด้วยจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องแย้งโจทก์ให้รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเสมือนไม่มีการเลิกจ้างหรือให้ใช้ค่าเสียหายแทนได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิผู้เสียหายในการฟ้องอาญาหลังคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 121 ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)มีสิทธิฟ้องนายจ้างให้รับผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 158 ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ กำหนดไว้แล้ว
of 36