คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 216 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงพ้นกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้เสียแล้ว คำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาขาดอายุความเนื่องจากยื่นเกินกำหนด แม้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จําเลย ครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติ โดยมิได้ถูกกําหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จําเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจําเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม ก็ต้องยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน เมื่อจําเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกําหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากยื่นขยายระยะเวลาหลังพ้นกำหนด และการยื่นคำร้องซ้ำหลังศาลวินิจฉัยแล้ว
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งแรกของจำเลยไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย ถือว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาครั้งต่อมา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาครั้งหลัง อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 มาตรา 144 วรรคหนึ่ง และถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้คัดค้านข้อเท็จจริงและเหตุผลของศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน และฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสิบหกฟ้องเท็จและเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสิบหกเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกด้วย กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร เมื่อพิจารณาฎีกาของโจทก์แล้ว เห็นได้ว่า ฎีกาโจทก์ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าอุทธรณ์โจทก์มิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร และโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะเหตุใดนั้น ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร ฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิ้น คงมีการแก้ไขเฉพาะคำว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นศาลฎีกา และมีส่วนเพิ่มเติม พิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิดไปจากอุทธรณ์บ้างเล็กน้อยในรายละเอียด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่า พิพากษาไม่ชอบอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพราะเหตุใด ทั้งเหตุผลในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีบางส่วนก็แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 และศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยถูกตัดสินความผิดฐานกระทำชำเราเด็กและพรากเด็ก การโต้แย้งที่ไม่ตรงประเด็นทำให้ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองขัดแย้งกันมีข้อพิรุธสงสัย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้แสดงเหตุผลโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมอย่างไรหรือที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906-2907/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแรงงาน: การจ่ายค่าจ้างล่าช้า ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และอำนาจศาล
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ยื่นฎีกาทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ อ. ร. ส. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่ง ส. ได้ลงชื่ออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ ส. เป็นเพียงผู้พิพากษาที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 อันเป็นการสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว ส. มิได้พิจารณาคดีนี้เลย จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ประกอบกับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ยังเป็นการคัดลอกข้อความตามอุทธรณ์มาทั้งหมด มิได้ระบุว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนใดมีข้อวินิจฉัยผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง กรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการจัดส่งคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไปให้ผู้พิพากษาอื่นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ระบุในคำร้องพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 อีก
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และ 124 บัญญัติให้สิทธิลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้ลูกจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาที่จะให้การเยียวยาแก่ลูกจ้างที่นายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่ลูกจ้าง มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิหรือกำหนดขั้นตอนและวิธีการให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติเสียก่อนจึงจะดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างแต่ประการใดไม่ ส่วนปัญหาว่าลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีอาญานายจ้างได้หรือไม่เพียงใด ก็ต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในฐานะนายจ้างของโจทก์ทั้งสองร่วมกันไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1), 144 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นฎีกาและการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 แล้วศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์และทนายจำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟัง จำเลยมีอำนาจยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274-3275/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโจทก์มิได้คัดค้านข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร คดีนี้โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคน โดยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงมานั้นไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงและไม่ชอบด้วยเหตุผลอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
of 5