พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานและการระงับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โดยไม่มีความผิดและมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าทั้งยังไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายนั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ด้วย เมื่อนายจ้างและลูกจ้างประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกจ้างยอมรับค่าชดเชย ค่าครองชีพและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและตกลงยอมสละข้ออ้างและคำขออื่นทั้งหมด จะไม่รื้อร้องฟ้องคดีเกี่ยวกับมูลความเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการตกลงระงับสิทธิของลูกจ้าง ที่จะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์เลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าวอีก
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยัง ศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยัง ศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าเสียหายแทนการรับทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฟ้องต่อศาลแรงงานโดยไม่ต้องร้องเรียนก่อน และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายแรงงานก่อนฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย ข้ออ้างประการแรกที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนระเบียบเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นธรรมตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน จึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องร้องเรียนหรือปฏิบัติการอย่างใดก่อน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
ส่วนข้ออ้างประการที่สองว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์เกี่ยวข้องด้วยมีผลใช้บังคับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หากประสงค์จะเรียกร้องสิ่งใด ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางขอให้รับโจทก์เข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายโดยมิได้ร้องเรียนตามมาตรา 124 ก่อน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิลูกจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีมาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงาน/ไล่ออกที่ไม่เป็นธรรม และการฟ้องละเมิดนอกเหนือจากช่องทาง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ซึ่งมี มาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินค่าเสียหายให้แก่ ก.ลูกจ้างไม่ถูกต้องย่อมถือได้ว่าสิทธิหน้าที่ของโจทก์มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแล้ว โจทก์ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
เมื่อปรากฏว่า ก.ลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ขาดงานไปโดยมิได้ยื่นใบลาต่อหัวหน้าหน่วยและโจทก์ก็มิได้มีคำสั่งเลิกจ้าง ก. ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ ก. จะยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 124 ไม่ได้ คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 (1) และให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
เมื่อปรากฏว่า ก.ลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ขาดงานไปโดยมิได้ยื่นใบลาต่อหัวหน้าหน่วยและโจทก์ก็มิได้มีคำสั่งเลิกจ้าง ก. ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ ก. จะยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 124 ไม่ได้ คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ว่าโจทก์เลิกจ้าง ก.เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 (1) และให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่ ก. จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ