คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 140

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันมีคำสั่งศาล: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลายไม่มีกำหนด
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น แต่มาตรา 153 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใด ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม 2531 ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 วรรคท้าย
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นแต่มาตรา153บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นจึงต้องถือว่าวันที่4พฤศจิกายน2531เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที17ตุลาคม2531ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค1และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบเรื่อง
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2533 แล้ว ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2533โจทก์ได้มาตรวจสำนวนและทราบว่ามีการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์จึงขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องไป หากจะฟังว่าการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบโดยการปิดประกาศที่หน้าศาลเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบในวันดังกล่าวซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวในวันที่ 9 สิงหาคม 2533จึงเกินกำหนดแปดวัน เป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งล้มละลายที่ไม่ชอบ และสิทธิอุทธรณ์ของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่งจะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการอุทธรณ์ สิทธิอุทธรณ์เป็นรายบุคคล
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2534 จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวัดนัดให้จำเลยที่ 1มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่
การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะคู่ความที่ยังไม่ทราบคำพิพากษา โดยไม่จำต้องอ่านให้คู่ความอื่นฟังอีก
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3)บัญญัติแต่เพียงว่าให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมิได้บังคับว่าต้องอ่านต่อหน้าคู่ความทุกฝ่ายเสมอไป ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลครั้งแรกซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทั้งห้าทราบโดยวิธีปิดหมายนั้นไม่มีคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นจึงสั่งงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฏในภายหลังตามคำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า การปิดหมายแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นย่อมชอบที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2ฟังใหม่ โดยไม่จำต้องอ่านให้โจทก์และจำเลยอื่นฟังอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว: พิจารณาจากวันที่ศาลอ่านคำสั่ง ไม่ใช่วันที่ร่างคำสั่งยังอยู่ที่อธิบดี
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น แต่มาตรา 153 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งคดีนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม 2531 ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องส่งไปยังสำนักงานทนายความที่ถูกต้องและปัจจุบัน หากส่งไปยังที่อยู่เก่าที่ไม่ถูกต้อง ถือว่าการส่งไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยออกจากสำนักงานทนายความเดิมไปแล้ว และสำนักงานดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น มิใช่สำนักงานที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ทั้งเป็นการย้ายไปอยู่ที่ใหม่ก่อนที่จะมีการปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเป็นไปโดยชอบศาลชั้นต้นต้องไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
of 5