คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 140

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลและไม่มอบฉันทะทำให้ถูกอ่านคำพิพากษาโดยชอบ ศาลไม่รับอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 เวลา10 นาฬิกา จำเลยที่ 4 ทราบนัดโดยชอบแล้ว ไม่มาศาลและไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาฟังคำพิพากษาแทน ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาให้คู่ความที่มาศาลฟัง จึงถือว่าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 เป็นวันที่พิพากษา จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์วันที่ 15 เมษายน 2531 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน โดยอ้างว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำคำแถลงมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาขอคัดหรือถ่ายคำพิพากษา เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าศาลได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป จะเลื่อนไปอ่านวันใดศาลจะออกหมายนัดส่งไปให้จำเลยที่ 4 ทราบเอง แม้จะฟังได้ว่าเป็นความจริง เสมียนทนายก็ควรที่จะได้ยื่นคำแถลงต่อศาลตามหน้าที่ที่ตนได้รับมอบฉันทะมา เพื่อที่ศาลจะได้มีคำสั่งให้ปรากฏชัดแจ้งว่าศาลมิได้อ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 จริง หาใช่เพียงแต่เชื่อตามคำบอกเล่าลอย ๆ ของเจ้าหน้าที่ศาล คดีจึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยจำเลยไม่ทราบถึงการนัดฟังคำสั่ง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องเพิกถอน
การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยฟัง ก็หาทำให้การอ่านคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเป็นการผิดระเบียบ ชอบที่จะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยจำเลยไม่ทราบเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้จำเลยจึงไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยฟัง ก็หาทำให้การอ่านคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเป็นการผิดระเบียบ ชอบที่จะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์: นับจากวันอ่านคำสั่งตามกฎหมาย ไม่ใช่วันที่คู่ความทราบ
ในกรณีที่มีการกระทำอันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 บัญญัติให้ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้วในวันใดต้องเริ่มนับกำหนดเวลาอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นจากวันนั้น หาใช่เริ่มนับจากวันที่คู่ความทราบคำสั่งตามความเป็นจริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการโต้แย้งการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 และกระบวนการขออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีนั้น นอกจากคู่ความในคดี แล้วจะต้องเป็นบุคคลที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 กำหนดไว้ผู้ร้องเป็นแต่เพียงผู้โต้แย้งสิทธิกับ ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีนี้ว่า ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อ ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ บุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 บัญญัติไว้ ย่อมมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการบังคับคดี ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีว่า โจทก์จะขอถอนการยึดทรัพย์ภายหลังที่มีการขายทอดตลาดเสร็จสิ้นไปแล้วได้หรือไม่
ศาลชั้นต้นงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันนัดที่นัดไว้แล้วผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังก่อน เมื่อศาลชั้นต้นอ่านให้ผู้ร้องฟังแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ร้องจึงจะเริ่มนับหรือถ้าศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่าน ผู้ร้องจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลชั้นต้นเสียก่อนเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและการเพิกถอนคำสั่งอนุญาตถอนการยึดทรัพย์
ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีนั้น นอกจากคู่ความในคดีแล้วจะต้องเป็นบุคคลที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 กำหนดไว้ ผู้ร้องเป็นแต่เพียงผู้โต้แย้งสิทธิกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีนี้ว่า ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่บุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 บัญญัติไว้ ย่อมมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการบังคับคดี ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีว่า โจทก์จะขอถอนการยึดทรัพย์ภายหลังที่มีการขายทอดตลาดเสร็จสิ้นไปแล้วได้หรือไม่
ศาลชั้นต้นงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันนัดที่นัดไว้แล้วผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังก่อน เมื่อศาลชั้นต้นอ่านให้ผู้ร้องฟังแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ร้องจึงจะเริ่มนับหรือถ้าศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่าน ผู้ร้องจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเสียก่อนเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาผิดพลาด, เหตุสุดวิสัย, ค่าปรับสัญญาจ้างช่วง
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์ตัวเลขจำนวนเงินที่ให้จำเลยใช้แก่โจทก์ผิดจากเลข 42,570.91 บาท เป็น 22,570.91 บาทศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 42,570.91 บาทแก่โจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 ต้องเป็นเรื่องที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องความผิดพลาดหรือผิดหลงของคู่ความโจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาจะแก้ไขให้เป็นร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีมิได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
จำเลยรับจ้างวางท่อประปามาจากการประปานครหลวง แล้วมาว่าจ้างช่วงให้โจทก์ทำ โจทก์วางท่อประปาล่าช้ากว่ากำหนดการประปานครหลวงมิได้ปรับจำเลยดังนี้ เมื่อได้ความว่าการที่โจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดนั้นมีเหตุสุดวิสัยที่เกี่ยวแก่น้ำท่วมผิวถนนจราจรไม่อาจวางท่อประปาให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากโจทก์แม้โจทก์จะเป็นคู่สัญญากับจำเลยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดอุปการะของบุตรเมื่อบิดามารดาเสียชีวิต และอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เกิด พ.ศ.2495 ไม่ระบุวันเดือนเกิดต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา16 ว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม2495 นับถึงวันเกิดเหตุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูเพราะจำเลยทำละเมิดให้มารดาโจทก์ตายได้ แม้มีบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมารดาก็ยังต้องอุปการะบุตร ข้อที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นแต่บกพร่องเรื่องความสามารถที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้องแต่ในชั้นฎีกาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ต้องแก้ไข
การประชุมใหญ่เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาจะสั่งให้มีหรือไม่ คู่ความจะร้องขึ้นมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้เยาว์ & การขาดไร้อุปการะจากละเมิดของผู้อื่น: ศาลแก้ไขความสามารถ/พิจารณาค่าเสียหายได้
โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: อำนาจศาล, คำขอท้ายฟ้อง, การบังคับคดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเพราะเห็นว่าคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายนั้น เป็นคำสั่งในอำนาจของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 218 วรรคท้าย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 (1) ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาว่า ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ แต่คำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการขอให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลบังคับโดยคำพิพากษาของศาลตามมาตรา 221 นั่นเอง มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งอย่างธรรมดา เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้นเสียเองได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่
ในกรณีดังกล่าว การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาเพียง 50 บาท สืบเนื่องมาจากเรื่องที่โจทก์เข้าใจอำนาจของศาลอุทธรณ์ผิด ซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องได้เมื่อจะพิพากษา
อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ หากไม่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งขายที่ดินที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง เงินที่ขายได้ตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เดียว ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ก็คือ ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนที่อนุญาโตตุลาการกล่าวต่อไปนั้น หาใช่เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ เป็นแต่เพียงคำเสนอแนะว่า หากจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ภายในกำหนด ก็ให้เสนอคดีต่อศาลต่อไปเท่านั้น ส่วนวิธีการบังคับคดีซึ่งศาลจะสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหรือไม่ หรือขายทอดตลาดได้เงินเท่าใด ให้เป็นของใครนั้น ย่อมอยู่ภายใต้บทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉะนั้น คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยขายได้เงินเท่าใด ให้เป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวิธีการบังคับคดีดังกล่าว ศาลจะพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ไม่ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น
of 5