พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8989/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของคู่ความก่อนศาลอ่านคำพิพากษา และการดำเนินการหาผู้แทนตามกฎหมาย
ในคดีแพ่ง แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายก่อนศาลพิพากษา แต่ปรากฏต่อศาลเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาก็คงสมบูรณ์
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์จึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่ปรากฏต่อศาลหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว เมื่อคดีอยู่ระหว่างระยะยื่นฎีกาศาลชั้นต้นย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ รวมทั้งมีคำสั่งในการที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ตามนัยมาตรา 42, 43 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวเสียก่อนแล้วมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการ: ศาลยึดที่อยู่ตามที่ผู้ร้องแจ้งในคดี แม้มีการย้ายถิ่นฐาน
ผู้ร้องยืนยันในคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดว่าผู้ร้องอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และไม่เคยแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ใหม่ไปที่อื่นให้ศาลชั้นต้นทราบเลย แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาถือเอาที่อยู่ที่กรุงเทพมหานครเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการดำเนินคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 42 แม้ในขณะปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่อื่นแล้ว ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังมีภูมิลำเนาเฉพาะการอยู่ที่กรุงเทพมหานครและได้ทราบกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว เมื่อผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลับหลังผู้ร้องได้ กรณีไม่มีเหตุให้ต้องเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาและการรับทราบคำพิพากษาในคดีแรงงาน การไม่ติดตามคดีถือเป็นความบกพร่องของผู้ฟ้อง
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25, 26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาทางหน้าศาล ถือเป็นการแจ้งให้ทราบแล้ว แม้โจทก์มิได้ติดตามตรวจสอบ
ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาและได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบที่หน้าศาลโดยให้มีผลทันทีแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 25,26 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ไปฟังคำพิพากษาในวันนัดและศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยจดแจ้งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถือว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาตามกฎหมายแล้ว จึงต้องถือว่าได้มีการอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้วในวันนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 140 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จะอ้างว่ายังไม่ทราบคำพิพากษาไม่ได้
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เองไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์
โจทก์ไม่ติดตามตรวจสอบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ เมื่อใด เพราะเข้าใจว่าช่วงนั้นศาลแรงงานกลางมีงานเกี่ยวกับการพิพากษาคดีจำนวนมาก ก็ถือว่าเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เองไม่ใช่ความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อคู่ความมาศาลแสดงตัว และการอ่านคำพิพากษาต่อหน้าตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา: การทราบนัดผ่านทนายความ ถือว่าตัวความทราบนัด
คำร้องของฝ่ายโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว มีโจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียวลงลายมือชื่อในคำร้อง แม้คำร้องจะระบุว่าเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 1 กับพวก และระบุว่าผู้ร้องโจทก์ทั้งสาม แต่ไม่ปรากฏหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ทำแทนโจทก์ที่ 2 คำร้องดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 2 ด้วย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่ปราศจากกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นอันโจทก์ที่ 2 จะพึงยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็ไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 2 ไว้วินิจฉัย
ทนายโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอถ่ายสำเนาถ้อยคำสำนวนหลายรายการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยกล่าวไว้ในคำแถลงด้วยว่าศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เวลา 13.30 นาฬิกา จึงเป็นการยืนยันโดยชัดแจ้งว่า ทนายโจทก์ทั้งสามทราบนัดในวันดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากทนายความนอกจากมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความทนายความยังอยู่ในฐานะตัวแทนในคดีของตัวความด้วย การที่ทนายความทราบนัดย่อมถือได้โดยชอบว่าตัวความทราบนัดแล้ว ย่อมรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540 เป็นอย่างช้า โดยมิพักต้องพิจารณาว่าการส่งหมายนัดถึงโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนัดดังกล่าว จึงเป็นการชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการอ่าน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่ปราศจากกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นอันโจทก์ที่ 2 จะพึงยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็ไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 2 ไว้วินิจฉัย
ทนายโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอถ่ายสำเนาถ้อยคำสำนวนหลายรายการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยกล่าวไว้ในคำแถลงด้วยว่าศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เวลา 13.30 นาฬิกา จึงเป็นการยืนยันโดยชัดแจ้งว่า ทนายโจทก์ทั้งสามทราบนัดในวันดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากทนายความนอกจากมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความทนายความยังอยู่ในฐานะตัวแทนในคดีของตัวความด้วย การที่ทนายความทราบนัดย่อมถือได้โดยชอบว่าตัวความทราบนัดแล้ว ย่อมรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540 เป็นอย่างช้า โดยมิพักต้องพิจารณาว่าการส่งหมายนัดถึงโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนัดดังกล่าว จึงเป็นการชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการอ่าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษาศาลฎีกาและการรับรู้การนัดฟังคำพิพากษาของทนายความแทนตัวความ
คำร้องของฝ่ายโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว มีโจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียวลงลายมือชื่อในคำร้อง แม้คำร้องจะระบุว่าเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 1 กับพวก และระบุว่าผู้ร้องโจทก์ทั้งสาม แต่ไม่ปรากฏหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ทำแทนโจทก์ที่ 2 คำร้องดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นคำร้องของโจทก์ที่ 2 ด้วย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่ปราศจากกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นอันโจทก์ที่ 2 จะพึงยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็ไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 2 ไว้วินิจฉัย
ทนายโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอถ่ายสำเนาถ้อยคำสำนวนหลายรายการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยกล่าวไว้ในคำแถลงด้วยว่าศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เวลา 13.30 นาฬิกาจึงเป็นการยืนยันโดยชัดแจ้งว่า ทนายโจทก์ทั้งสามทราบนัดในวันดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากทนายความนอกจากมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความทนายความยังอยู่ในฐานะตัวแทนในคดีของตัวความด้วย การที่ทนายความทราบนัดย่อมถือได้โดยชอบว่า ตัวความทราบนัดแล้ว ย่อมรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540เป็นอย่างช้า โดยมิพักต้องพิจารณาว่าการส่งหมายนัดถึงโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนัดดังกล่าว จึงเป็นการชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการอ่าน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่ปราศจากกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นอันโจทก์ที่ 2 จะพึงยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็ไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 2 ไว้วินิจฉัย
ทนายโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอถ่ายสำเนาถ้อยคำสำนวนหลายรายการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยกล่าวไว้ในคำแถลงด้วยว่าศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เวลา 13.30 นาฬิกาจึงเป็นการยืนยันโดยชัดแจ้งว่า ทนายโจทก์ทั้งสามทราบนัดในวันดังกล่าวแล้ว และเนื่องจากทนายความนอกจากมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความทนายความยังอยู่ในฐานะตัวแทนในคดีของตัวความด้วย การที่ทนายความทราบนัดย่อมถือได้โดยชอบว่า ตัวความทราบนัดแล้ว ย่อมรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540เป็นอย่างช้า โดยมิพักต้องพิจารณาว่าการส่งหมายนัดถึงโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนัดดังกล่าว จึงเป็นการชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการอ่าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม + การแจ้งนัดฟังคำพิพากษาชอบ + การพิสูจน์ความเสียหายจากกล่องกระดาษไม่ชัดเจน
จำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องแย้งของจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ครั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเห็นว่าการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่ฟ้องแย้ง จำเลยจึงได้ยื่นฎีกาและยกปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมขึ้นเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นให้สั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ว่าจะโดยเจตนาเพื่อที่จำเลยจะได้มีโอกาสดำเนินคดีแก่โจทก์ในเรื่องนี้ใหม่หรือไม่ก็ตาม การใช้สิทธิฎีกาของจำเลยส่อไปในทางไม่สุจริตในอันที่จะแสวงหาความยุติธรรมต่อศาลในทางใดทางหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไปในคราวเดียวกัน กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่ จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาลศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้งซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฎีกาโดยไม่สุจริต และการไม่โต้แย้งประเด็นแจ้งนัดในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกามิพักการไต่สวน
จำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องแย้งของจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ ครั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเห็นว่าการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่ฟ้องแย้ง จำเลยจึงได้ยื่นฎีกาและยกปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมขึ้นเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นให้สั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ว่าจะโดยเจตนาเพื่อที่จำเลยจะได้มีโอกาสดำเนินคดีแก่โจทก์ในเรื่องนี้ใหม่หรือไม่ก็ตาม การใช้สิทธิฎีกาของจำเลยส่อไปในทางไม่สุจริตในอันที่จะแสวงหาความยุติธรรมต่อศาลในทางใดทางหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไปในคราวเดียวกัน กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่
จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่
จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด?
ป.วิ.พ.มาตรา 271 ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
แม้จำเลยที่ 1 จะได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นด้วย แต่จำเลยที่ 1 ทิ้งอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2529 จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย และมาตรา147 วรรคสอง หาใช่ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2537 ก็ได้ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นด้วย แต่จำเลยที่ 1 ทิ้งอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2529 จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย และมาตรา147 วรรคสอง หาใช่ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2537 ก็ได้ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้