พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และอำนาจขยายเวลาของรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้ จึงต้องนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 มาใช้บังคับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องของนายเกรียงศักดิ์ นพศรี ลูกจ้าง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 จึงจะนับวันแรกที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องรวมคำนวณด้วยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 125 จึงต้องเริ่มนับจาก วันที่ 28 พฤษภาคม 2524 และจะครบกำหนดเก้าสิบวันในวันที่ 25 สิงหาคม 2524
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าเสียหายแทนการรับทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงาน/ไล่ออกที่ไม่เป็นธรรม และการฟ้องละเมิดนอกเหนือจากช่องทาง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ซึ่งมี มาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิลูกจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีมาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และสิทธิในการเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันนายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเดิม
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรก ไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3)
ในการการชี้ขาดคำร้องตามมารา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรก ไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3)
ในการการชี้ขาดคำร้องตามมารา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่ง ก.ล.ร. ไม่เป็นที่สุด โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องเพิกถอน แม้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว
จำเลยฎีกาว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นที่สุดทั้งโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นแล้ว เป็นเหตุให้คดีระงับไปตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 126 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับไปตามมาตรา 126 เท่านั้นหามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น ระงับไปด้วยไม่
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับไปตามมาตรา 126 เท่านั้นหามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น ระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุด โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอน แม้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว
จำเลยฎีกาว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นที่สุด ทั้งโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นแล้ว เป็นเหตุให้คดีระงับไปตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 126 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เป็นฎีกาในปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับตามมาตรา 126 เท่านั้น หามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นระงับไปด้วยไม่
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. มาตรา 125 ไม่มีบทบัญญัติให้เป็นที่สุด คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นมีผลเพียงให้การดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์เป็นอันระงับตามมาตรา 126 เท่านั้น หามีผลให้สิทธิของโจทก์ในอันที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังข้อเรียกร้องค่าจ้าง และผลของข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้นมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์