พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,535 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ และอายุความของคดี
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่ง
การเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ดังนั้นเมื่อกิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุกำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 193,650 บาท แก่โจทก์โดยคำนวณตามระยะเวลาทำงานของโจทก์ แต่ไม่พิจารณาเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาจ้างนั้นชอบหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ดังนั้นเมื่อกิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุกำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 193,650 บาท แก่โจทก์โดยคำนวณตามระยะเวลาทำงานของโจทก์ แต่ไม่พิจารณาเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาจ้างนั้นชอบหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลความสามารถและมาตรฐานการทำงานของลูกจ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการทำงานไว้ และโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานตลอดมา ไม่มีช่วงใดเลยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้น แม้ประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์จะลดลงไปบ้าง แต่ต้องถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของจำเลย ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบจึงฟังไม่ขึ้น การที่จำเลยมีรายได้ลดลงตั้งแต่ปี 2543 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันทางธุรกิจของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ และบริการโทรทางไกลราคาประหยัดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่เสนอกลยุทธ์ในการตลาดเพื่อแข่งขันกับภายนอก และโจทก์ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจภายนอกให้เป็นผลสำเร็จดังที่จำเลยอ้าง แต่โจทก์ก็ยังทำงานได้เกณฑ์ตามมาตรฐานของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จำเลยไม่สามารถเสนองานในตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่โจทก์ได้ จึงยังไม่ใช่เหตุผลสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175-5177/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง: การพิจารณาความผิดและสิทธิประโยชน์
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับจำเลย แต่มิได้เป็นกรณีร้ายแรง ส่วนโจทก์ที่ 3 ไม่ได้กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ทั้งสามตามมติของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งไล่ออกแก่โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากต้องออกจากงานในช่วงระยะเวลาที่ถูกเลิกจ้างจนถึงวันกลับเข้าทำงาน ส่วนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย กรณีไม่ใช่คำสั่งของจำเลยไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด การที่จำเลยระบุในคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า ในระหว่างถูกลงโทษไล่ออกจากงาน โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากจำเลย เว้นแต่อายุการทำงานให้นับต่อเนื่องได้โดยไม่นับรวมระยะเวลาที่มิได้ปฏิบัติงานในช่วงที่ถูกลงโทษไล่ออก จึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นิยามทรัพย์สินใช้สิ้นเปลืองตาม ป.พ.พ. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้ตำแหน่งหน้าที่พิจารณาอนุมัติการยืมทรัพย์สินที่ไม่สามารถยืมได้ เพราะเป็นทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลืองออกนอกบริเวณโรงงาน แต่จำเลยไม่ได้นำระเบียบข้อบังคับมาแสดง ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยก็มิได้ระบุนิยามคำว่า ทรัพย์สินประเภทใช้สิ้นเปลืองไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 ซึ่งหมายถึงทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป แต่ทรัพย์สินที่โจทก์อนุมัติให้ พ. ยืม คือ สายไฟฟ้า ท่อหุ้มสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้าตัวผู้ ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย เบ้าปลั๊กไฟฟ้า ไม่ใช่ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป จึงไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้าง: ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับข้อเรียกร้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้างจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่, เหตุอันสมควร, และค่าชดเชย
โจทก์ในฐานะผู้จัดการฝ่ายบริหารของจำเลยกล่าวหาว่า น. และ ม. ลูกจ้างของจำเลยปลอมเอกสารอันเป็นความผิดอาญาและเสนอให้จำเลยดำเนินคดีแก่บุคคลทั้งสอง ทั้งๆ ที่โจทก์ยังตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ครบถ้วน จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ผลของการกระทำของโจทก์คือจำเลยได้เลิกจ้าง น. และ ม. โดยไม่จำเลยค่าชดเชยซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างจำเลย ทำให้ระบบบริหารงานบุคคลของจำเลยเสียหาย และการดำเนินงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานของบุคคลทั้งสองที่ถูกเลิกจ้างต้องหยุดชะงักไปด้วย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่าจำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณีทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่งไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่าจำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณีทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่งไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายเองได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 เป็นการให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้รับ หาใช่เป็นการตัดสิทธิของลูกจ้างซึ่งได้รับความเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่จะฟ้องเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเห็นว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว กรณีย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 และ 49 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลแรงงานได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย – อำนาจผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคในการเปลี่ยนแปลงโทษ – การไล่ออกชอบด้วยกฎหมาย
ตามระเบียบการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยฯ หมวด 4 การประชุมปรึกษาและการรายงาน ข้อ 21 ถึง 24 มีข้อความเพียงแต่ให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ และผู้กระทำผิดควรได้รับโทษสถานใด เมื่อผู้ว่าการเห็นควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมก็ยังสามารถทำได้ มิได้มีข้อความในข้อใดระบุไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายอันแสดงให้เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นแล้วข้อเท็จจริงต้องยุติตามสำนวนการสอบสวน และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นควรรับโทษสถานใดแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโทษให้น้อยลงหรือเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งข้อความที่ว่า ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานการสอบสวนนั้นต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการโดยมิชักช้า คำว่าเพื่อสั่งการย่อมมีความหมายว่าให้ผู้ว่าการพิจารณาก่อนว่ามีความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นหรือไม่ การพิจารณาดังกล่าวก็มิได้กำหนดไว้ว่าผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง การที่ผู้ว่าการจำเลยเกษียนสั่งอนุมัติการขยายเวลาการสอบสวนตามที่คณะกรรมการสอบสวนขอมาพร้อมกับส่งเรื่องไปให้รองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาดำเนินการต่อไป จำเลยโดยผู้ว่าการยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอการลงโทษโจทก์ เมื่อรองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาแล้วก็มอบเรื่องให้กองการเจ้าหน้าที่ไปพิจารณา ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นควรเสนอผู้ว่าการเพื่อมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบของจำเลย คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมต่อโจทก์