พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,535 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความไม่ไว้วางใจ แม้ไม่พบการทุจริตชัดเจน ถือเป็นเหตุอันสมควรได้
ตั้งแต่โจทก์อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้า โจทก์ส่งเงินค่าขายสินค้าเพียง 3 ครั้ง ทั้งที่มีการขายสินค้าทุกเดือน และมีการตรวจนับเงินพร้อมใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้โจทก์แล้ว นอกจากนี้โจทก์ยังส่งเงินให้ฝ่ายการเงินและบัญชีน้อย และไม่ถี่เท่ากับผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้าคนก่อนโจทก์ แม้ไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ แต่ย่อมทำให้จำเลยมีเหตุที่ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ได้ตามคู่มือพนักงาน ข้อ 32.2 ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลความไม่ไว้วางใจจากพฤติการณ์ส่งเงินที่ไม่ถี่ถ้วน ถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร
นับแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้า โจทก์ส่งเงินค่าขายแถบรหัสบอกราคาสินค้าเพียง 3 ครั้ง ทั้งที่มีการขายแถบรหัสบอกราคาสินค้าทุกเดือนและมีการตรวจนับเงินพร้อมใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้โจทก์แล้ว นอกจากนี้โจทก์ส่งเงินให้ฝ่ายการเงินและบัญชีน้อย และมีระยะเวลาการส่งมอบเงินไม่ถี่เท่ากับผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้าคนก่อน แม้ไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ แต่พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีเหตุที่ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนก่อน
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ละเลยไม่ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุผลเพียงพอ ลำพังแต่ไม่มีการสอบสวนก่อนไม่ทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์เกษียณอายุตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยมิได้มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกใช้สิทธิทางกฎหมายแรงงาน: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือฟ้องศาลแรงงาน - เลือกได้ทางเดียว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียวจะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี อันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แล้ว ถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อปรากฏว่าระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้ไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ดังกล่าว
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์และการฝ่าฝืนระเบียบ คำพิพากษาไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบขับรถยนต์นำน้ำมันไปส่งให้แก่กรมช่างอากาศ แต่โจทก์หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับยักยอกเอาน้ำมันดังกล่าวไปเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมาจากเหตุที่โจทก์ยักยอกทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยักยอกน้ำมัน แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างแล้ว มิใช่เป็นการยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่มีในคำสั่งเลิกจ้างมาวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงานโดยชอบธรรม การหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง การที่จำเลย(นายจ้าง)ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญา และไม่ใช่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์(ลูกจ้าง) โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่, 121 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ชอบจะได้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรวม 2 ครั้ง โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน และโจทก์ยังคงค้างชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว เหตุที่จำเลย ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เป็นเพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ประธานกรรมการ ผู้จัดการบริษัทจำเลยอยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ แม้จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้เงินกู้กับค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่, 121 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ชอบจะได้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรวม 2 ครั้ง โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน และโจทก์ยังคงค้างชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว เหตุที่จำเลย ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เป็นเพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ประธานกรรมการ ผู้จัดการบริษัทจำเลยอยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ แม้จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้เงินกู้กับค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสองการที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420ส่วนการบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 17 วรรคสี่,121 วรรคสอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโจทก์ก็ชอบจะได้รับค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9518/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุอันสมควรที่นายจ้างเลิกจ้างได้ แม้เหตุนั้นมิได้เกิดจากการกระทำผิดของลูกจ้าง
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจาก การกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่การกระทำความผิดของลูกจ้างก็ได้
ช.กับพวกเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ช.กล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขานุการสหภาพแรงงาน โจทก์ไม่พอใจ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างเคยเรียกโจทก์และ ช.กับพวกไปตักเตือนให้เลิกแล้วต่อกันเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้พนักงานภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เมื่อโจทก์ได้ฟ้อง ช.กับพวกต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว พนักงานในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ก็จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมทำงาน ก่อให้เกิดความไม่สงบ รวมทั้งเป็นปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชักชวนให้พนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ทำงานอันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ความไม่สงบรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของโจทก์และ ช.กับพวก และไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์รวมทั้ง ช. กับพวกเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าวเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ดำรงคงอยู่ต่อไป นับได้ว่ามีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ช.กับพวกเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ช.กล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขานุการสหภาพแรงงาน โจทก์ไม่พอใจ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างเคยเรียกโจทก์และ ช.กับพวกไปตักเตือนให้เลิกแล้วต่อกันเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้พนักงานภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เมื่อโจทก์ได้ฟ้อง ช.กับพวกต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว พนักงานในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ก็จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมทำงาน ก่อให้เกิดความไม่สงบ รวมทั้งเป็นปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชักชวนให้พนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ทำงานอันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ความไม่สงบรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของโจทก์และ ช.กับพวก และไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์รวมทั้ง ช. กับพวกเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าวเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ดำรงคงอยู่ต่อไป นับได้ว่ามีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย และการเลิกจ้างที่ไม่ระบุเหตุผล
นายจ้างจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่ลูกจ้างในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อย เท่าใด ทั้งลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าว เงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ก็ได้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จำเลยจะยกเหตุว่าจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีความบกพร่องหรือมีความผิดตามคำให้การของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ก็ได้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จำเลยจะยกเหตุว่าจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีความบกพร่องหรือมีความผิดตามคำให้การของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย