คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,535 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อ กสร. ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างบางกรณีอาจเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ทุจริตนำหนังสือพิมพ์สำหรับจัดส่งให้แก่สมาชิกของจำเลยไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ และโจทก์ไปซื้อหนังสือพิมพ์จากตัวแทนแล้วนำไปจำหน่าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อนที่จะเลิกจ้างจำเลยก็ไม่ได้สอบสวนโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเป็นผู้เข้าร่วมในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้นก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม โดยมิได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ประกอบกับในการกำหนดค่าเสียหาย ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็ได้ยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในเรื่องอายุ ของโจทก์ ระยะเวลาการทำงานของโจทก์ ความเดือดร้อนของโจทก์เมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่โจทก์ จะได้รับประกอบการพิจารณาโดยละเอียดครบถ้วน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างบางกรณีอาจเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ทุจริตนำหนังสือพิมพ์สำหรับจัดส่งให้แก่สมาชิกของจำเลยไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ และโจทก์ไปซื้อหนังสือพิมพ์จากตัวแทนแล้วนำไปจำหน่าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อนที่จะเลิกจ้างจำเลยก็ไม่ได้สอบสวนโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเป็นผู้เข้าร่วมในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้นก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม โดยมิได้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ ประกอบกับในการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็ได้ยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในเรื่องอายุ ของโจทก์ ระยะเวลาการทำงานของโจทก์ ความเดือดร้อนของโจทก์เมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่โจทก์ จะได้รับประกอบการพิจารณาโดยละเอียดครบถ้วน จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8706/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงานได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือ มาตรา 123 แม้โจทก์มิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและโจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานมีความเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม ทุกประการ ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เลิกจ้างถึงวันฟ้องเป็นเงิน 155,320 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยชำระค่าจ้างในอัตราเดือนละ 13,200 บาท แก่โจทก์พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิม ให้จำเลยชำระหรือส่งเงินสมบทเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทโพสต์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน) นับจากวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ถึงวันฟ้อง เป็นเงิน 11,088 บาท และในอัตราเดือนละ 924 บาท นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานกลางจึงกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์โดยคำนึงถึงมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ไม่เป็นความจริง อายุและระยะการทำงานของโจทก์ ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จำเลยไม่จ่าย พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 280,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 มกราคม 2542 (วันฟ้อง) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิเคราะห์แล้วคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น เห็นว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมดาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วยก็ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การเลิกจ้างของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการนั้น เป็นการฟ้องเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ส่วนคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเป็นผู้เข่าร่วมคัดค้านการที่จำเลยเลิกจ้างนายวิชาญ เรืองนนท์ และโจทก์เป็นผู้ที่ร่วมกับสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ในการต่อสู้ขัดขวางขจัดความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการกระทำของฝ่ายบริหารจำเลยนั้น ก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์ในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้ง มิได้มีเหตุผลอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้มุ่งประสงค์ที่จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 หรือมาตรา 123 แต่อย่างใด ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิม ทุกประการ โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ หากโจทก์กลับไปทำงานกับจำเลยย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน ศาลแรงงานกลาง จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 คำพิพากษาดังกล่าวไม่ถือว่าเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์
พิพากษายืน .
(ปัญญา สุทธิบดี - กมล เพียรพิทักษ์ - พูนศักดิ์ จงกลนี)
ศาลแรงงานกลาง - นายประทีป อ่าววิจิตรกุล
ศาลอุทธรณ์ -
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ ย่อสั้น
นายกรัณย์ กาญจนรินทร์ ย่อยาว
นายไพโรจน์ โรจน์อภิรักษ์กุล ตรวจ
นายไมตรี ศรีอรุณ ผู้ช่วยฯ/ตรวจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7980/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจถือเป็นความผิดร้ายแรงทางวินัยของพนักงานธนาคาร
การที่โจทก์ในขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาและผู้จัดการสำนักงานเขต มีอำนาจอนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเดียวกันได้ไม่เกินวงเงิน 4,000,000 บาท แต่โจทก์อนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายนาง ธ. กับนาย ส. ซึ่งเป็นสามีภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสอันถือเป็นลูกค้ารายเดียวกันตามระเบียบข้อบังคับ ข้อ 1.5.1 กู้รวมแล้วเกินกว่า 4,000,000 บาท และอนุมัติให้สินเชื่อแก่นาย ค. กับนาง น. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ธ. อันถือเป็นลูกค้ารายเดียวกันตามระเบียบข้อบังคับข้อ 1.5.3 เป็นจำนวนเงินกว่า 4,000,000 บาท การอนุมัติสินเชื่อของโจทก์มีลักษณะเป็นการกระจายหนี้ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของโจทก์เพื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ออกระเบียบกำหนดวงเงินอนุมัติสินเชื่อตามตำแหน่งรับผิดชอบของผู้บริหารแต่ละระดับนั้นก็เพื่อกลั่นกรองป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากการใช้อำนาจของพนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นพนักงานธนาคารอันเป็นสถาบันการเงินที่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอันเกี่ยวกับการเงินของจำเลยที่ 1 โดยเคร่งครัดด้วยความระมัดระวังและสุจริต มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการของธนาคารจนอาจทำให้ธนาคารไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 มากว่า 20 ปี ย่อมรู้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดี กลับหาช่องทางหลีกเลี่ยงระเบียบข้อบังคับด้วยวิธีการกระจายหนี้ที่เกินอำนาจอนุมัติของโจทก์เป็นหนี้หลายรายแล้วโจทก์อนุมัติให้สินเชื่อไปจนทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายจำนวนมากเช่นนี้ นับว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าคดีประเด็นสัญญาจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ค่าเสียหายตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงานการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าสู้คดีประเด็นสัญญาจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน การที่ศาลแรงงาน พิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่า พนักงานทดลองงาน และคำว่าพนักงานสัญญาจ้าง ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่มิใช่ เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่ ตรงตามคำท้าแล้ว
จำเลยแพ้คดีตามคำท้า โดยจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: คำสั่งพักงาน-เลิกจ้าง-รับกลับเข้าทำงาน & ค่าจ้างช่วงพักงาน
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ๆ เนื่องจากการเลิกจ้างโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ และให้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นคำฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และโจทก์อาจฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานมาในคดีเดิมได้เพราะจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ไม่ฟ้อง เมื่อคดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่ในส่วนค่าเสียหายของโจทก์จากการไม่ได้ค่าจ้างนับแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างตลอดมาถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง แล้วรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานและในวันเดียวกันจำเลยมีคำสั่งให้เลิกจ้างโจทก์อีกนั้น ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ยอมให้โจทก์ทำงานโดยตรง และโจทก์เพิ่งเกิดสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ตั้งแต่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาในคดีก่อนที่ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ แล้วให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งโจทก์ไม่อาจฟ้องขอรวมมาในคดีเดิมได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกมาเป็นค่าจ้างในส่วนนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เมื่อจำเลยมีคำสั่งที่ให้ไล่โจทก์ออกจากงานต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งไล่ออกมิใช่วันที่จำเลยมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาของศาล คำสั่งพักงานโจทก์เป็นคำสั่งให้พักงานเพื่อรอการผลการสอบสวนของจำเลยเมื่อจำเลยสอบสวนเสร็จและมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงาน ต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออก และผู้มีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างตามระเบียบของจำเลย แต่กรณีของโจทก์ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเนื่องจากศาลเป็นผู้มีคำสั่งนั้นล้วนเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปแล้วว่าเป็นฟ้องซ้ำ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: ค่าจ้างระหว่างพักงาน vs. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ๆ เนื่องจากการเลิกจ้าง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ และให้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นคำฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และโจทก์อาจฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานมาในคดีเดิมได้ เพราะจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ไม่ฟ้อง เมื่อคดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องฟ้องกันอีก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31แต่ในส่วนค่าเสียหายของโจทก์จากการไม่ได้ค่าจ้างนับแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างตลอดมาถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง แล้วรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงาน และในวันเดียวกันจำเลยมีคำสั่งให้เลิกจ้างโจทก์อีกนั้นถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ยอมให้โจทก์ทำงานโดยตรง และโจทก์เพิ่งเกิดสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ตั้งแต่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาในคดีก่อนที่ให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ แล้วให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่อาจฟ้องขอรวมมาในคดีเดิมได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกมาเป็นค่าจ้างในส่วนนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เมื่อจำเลยมีคำสั่งที่ให้ไล่โจทก์ออกจากงานต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งไล่ออกมิใช่วันที่จำเลยมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาของศาล คำสั่งพักงานโจทก์เป็นคำสั่งให้พักงานเพื่อรอผลการสอบสวนของจำเลย เมื่อจำเลยสอบสวนเสร็จและมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงาน ต้องถือว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งพักงานโจทก์ไปในตัวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออก และผู้มีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างตามระเบียบของจำเลย แต่กรณีของโจทก์ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเนื่องจากศาลเป็นผู้มีคำสั่งนั้นล้วนเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปแล้วว่าเป็นฟ้องซ้ำ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และการคำนวณค่าต่างๆ
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 และ 103 และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท. มิได้บังคับว่ามติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานที่ให้ยื่นข้อเรียกร้องจะต้องมีรายละเอียดว่าให้เรียกร้องสิ่งใดเช่น ค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นจำนวนเท่าไร และตั้งใครเป็นผู้แทนในการเจรจา ตามที่จำเลยอ้าง ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. ที่เพียงแต่ระบุให้สหภาพแรงงาน ท. ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งเป็นกิจการอันมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของสมาชิกไว้ลอย ๆ โดยไม่มีรายละเอียดดังกล่าว จึงเป็นมติที่ชอบตาม มาตรา 103 (2) และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท.
ข้อความที่ว่า "ประธานกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเลย ฉะนั้นในปีนี้เราจำเป็นจะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปี 2539 นี้ จึงอยากให้ที่ประชุมลงมติว่าเราจะยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ยื่น" มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าเพราะเหตุใดจึงขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่เท่านั้น หาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในสิ้นปี 2539 ด้วยไม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่มิได้ลงมติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในปี 2539 และไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำในระยะเวลาใด สหภาพแรงงาน ท. จึงสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ที่ประชุมใหญ่ลงมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ไม่ปรากฏว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องมาก่อน การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ท. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จึงเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว
การที่สหภาพแรงงาน ท. ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาททราบตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 21 ในวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ โดยไปยื่นต่อ ส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเวรประจำที่ทำการของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จึงถือได้ว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ยอมจ่ายย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 19 ถึงที่ 241 ตั้งแต่วันเลิกจ้าง และเพื่อความเป็นธรรมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 18 นับแต่วันเลิกจ้างด้วย แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ได้อุทธรณ์ก็ตาม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานของครูโรงเรียนเอกชน และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ทั้งห้าและจำเลยต่างเป็นเอกชน ได้ตกลงกันโดยจำเลยตกลงรับโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอน และจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ทั้งห้าตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 3 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์ทั้งห้าเป็นครูตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอม หรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ก่อน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดย พ. เป็นผู้ลงนาม เป็นการทำการแทน อ.ผู้รับใบอนุญาตและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนได้ทำไปในขอบอำนาจตามมาตรา 820 ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษครูได้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนคือผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้รับใบอนุญาต การที่ พ. เป็นผู้ลงนามในคำสั่งเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้อ้างข้อเท็จจริงมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยบรรจุโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานวันใด ห่างจากวันที่โจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานกี่วัน และศาลแรงงานกลางคิดคำนวณค่าชดเชยผิดพลาดเท่าใด ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 154