พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,027 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นและการรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อบริษัท
ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้โอนขายหุ้นทั้งหมดให้ผู้อื่นไปแล้ว และบริษัทก็ได้แก้ทะเบียนให้ผู้รับโอนเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว ถึงแม้เงินค่าหุ้นนั้นจะยังส่งใช้ไม่ครบอยู่ก็ดี โจทก์ผู้ชนะคดีบริษัทจำเลยจะขออายัติสิทธิเรียกร้องบังคับให้ผู้โอนขายหุ้นนั้นชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ ไม่ได้ เพราะบริษัท จำเลยหมดสิทธิจะเรียกร้องจากผู้โอนหุ้นไปแล้ว ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อบริษัท
ในคดีอายัติสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตาม ตารางข้อ 2 (ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)
ในคดีอายัติสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตาม ตารางข้อ 2 (ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587-1588/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาที่มิได้บรรยายการกระทำความผิดตามวรรค 4 มาตรา 340 วรรค 4 ที่ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์
ฟ้องข้อ 1 ว่าจำเลยปล้นกระบือโดยใช้ปืนขู่เข็ญจะยิงพวกเจ้าทรัพย์ ระบุการกระทำที่อ้างว่า จำเลยกระทำผิดและระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดเหตุไว้ด้วย แต่ในฟ้องข้อ 1 นี้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยใช้ปืนยิงในการปล้นนี้เลย ต่อมาในข้อ 2 โจทก์จึงบรรยายว่า ในวันเวลาเดียว กันกับฟ้องข้อ 1 เจ้าพนักงานติดตามทันจำเลยกับพวกขณะกำลังไล่กระบือ 5 ตัว ที่จำเลยปล้นไป จำเลยกับพวกใช้ปืนยิงมายังเจ้าพนักงาน ๆ จึงใช้ปืนยิงไปยังจำเลยกับพวกเพื่อป้องกันตัว กระสุนปืนถูกจำเลยบาดเจ็บแต่หลบหนีไปได้ เจ้าพนักงานจึงยึดได้กระบือ 5 ตัวเป็นของกลางและได้กระบือในที่ใกล้เคียงอีก 5 ตัว ถือว่าฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ฟ้องที่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามวรรค 4 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 คือใช้ปืนยิงในการปล้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587-1588/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา การบรรยายรายละเอียดการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340
ฟ้องข้อ 1 ว่าจำเลยปล้นกระบือโดยใช้ปืนขู่เข็ญจะยิงพวกเจ้าทรัพย์ระบุการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดและระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดเหตุไว้ด้วย แต่ในฟ้องข้อ 1 นี้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยใช้ปืนยิงในการปล้นนี้เลย ต่อมาในข้อ 2 โจทก์จึงบรรยายว่า ในวันเวลาเดียวกันกับฟ้องข้อ 1 เจ้าพนักงานติดตามทันจำเลยกับพวกขณะกำลังไล่กระบือ 5 ตัว ที่จำเลยปล้นไป จำเลยกับพวกใช้ปืนยิงมายังเจ้าพนักงานเจ้าพนักงานจึงใช้ปืนยิงไปยังจำเลยกับพวกเพื่อป้องกันตัว กระสุนปืนถูกจำเลยบาดเจ็บแต่หลบหนีไปได้ เจ้าพนักงานจึงยึดได้กระบือ 5 ตัวเป็นของกลางและได้กระบือในที่ใกล้เคียงอีก 5 ตัว ถือว่าฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นฟ้องที่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามวรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340(คือ ใช้ปืนยิงในการปล้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการเสียสิทธิในพินัยกรรม: กรณีที่ทายาทครอบครองมรดกเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดโดยผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุตรสาวผู้ตายทั้งหมดและบุตรสาวผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้จำเลยจะรับรู้สิทธิของโจทก์ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งของที่ดินตามพินัยกรรมก็ตาม ก็ต้องคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทตามราคาที่ดินทั้งหมด ไม่ใช่เพียงครึ่งหนึ่งเพราะพิพาทกันในชั้นมรดกเดิม ไม่ใช่มรดกตอนหลัง
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท นั้น ทายาทก็อาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคท้าย
เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ดินให้วัดโจทก์โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว โจทก์มิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใดปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคท้าย ศาลฎีกาประชุมใหญ่มีมติว่า วัดโจทก์หมดสิทธิตามพินัยกรรมแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2503)
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท นั้น ทายาทก็อาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคท้าย
เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ดินให้วัดโจทก์โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว โจทก์มิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใดปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคท้าย ศาลฎีกาประชุมใหญ่มีมติว่า วัดโจทก์หมดสิทธิตามพินัยกรรมแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและสิทธิในมรดก: การขาดอายุความของสิทธิเรียกร้องในพินัยกรรมเมื่อทายาทครอบครองมรดกเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดโดยผู้ตายทำพินัยกรรมการยกให้ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุตรสาวผู้ตายทั้งหมดและบุตรสาวผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้จำเลยจะรับรู้สิทธิของโจทก์ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่ง ของที่ดินตามพินัยกรรมก็ตาม ก็ต้องคำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามราคาที่ดินทั้งหมด ไม่ใช่มรดกตอนหลัง
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท นั้น ทายาทก็อาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคท้าย
เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ดินให้วัดโจทก์โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว โจทก์มิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใด ปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 11754 วรรคท้าย ศาลฎีกาประชุมใหญ่มีมติว่า วัดโจทก์หมดสิทธิตามพินัยกรรมแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2503)
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท นั้น ทายาทก็อาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคท้าย
เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ดินให้วัดโจทก์โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว โจทก์มิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใด ปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 11754 วรรคท้าย ศาลฎีกาประชุมใหญ่มีมติว่า วัดโจทก์หมดสิทธิตามพินัยกรรมแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ให้รื้อถอนอาคารฯที่ปลูกสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: คณะเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องได้
คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด 1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์-ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน.
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด 1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์-ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาลเจ้า: ผู้จัดการศาลเจ้ามีอำนาจฟ้องแต่เพียงผู้เดียว รัฐบาลมีหน้าที่ตรวจตราและอุดหนุน
ศาลเจ้าเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่งตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา123 ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการปกครองและตรวจตราสอดส่องอยู่โดยเฉพาะ หาใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงหามีอำนาจฟ้องห้ามมิให้ผู้อื่นครอบครองห้องพิพาทของศาลเจ้าได้ไม่
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้น การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลเจ้าในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลเจ้าซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้น การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลเจ้าในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลเจ้าซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาลจ้าวเป็นของผู้จัดการศาลจ้าว ไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคู่สัญญาเช่า
ศาลจ้าวเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่งตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา123 ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการปกครองและและตรวจตราสอบส่องอยู่โดยเฉพาะ หาใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงหามีอำนาจฟ้องห้ามมิให้ผู้อื่นครอบครองห้องพิพาทของศาลจ้าวได้ไม่.
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลจ้าว ข้อ 14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลจ้าวทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลจ้าว และตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้นการที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลจ้าวในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลจ้าวซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลจ้าวเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลจ้าว ข้อ 14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลจ้าวทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลจ้าว และตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้นการที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลจ้าวในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลจ้าวซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลจ้าวเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าด้วยความยินยอมของผู้เช่าในการไม่ซื้อทรัพย์สินตามสัญญาระหว่างเช่า และการต่อสัญญาเช่าโดยปริยาย
สัญญาเช่าเคหะมีข้อความว่า ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วย ว่า จะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ถ้าโจทก์ผู้ให้เช่าได้ปฏิบัติตามสัญญานี้แล้ว จำเลยเพิกเฉย ไม่จัดการอย่างใด ถือได้ว่าตอนนี้จำเลยเลือกเอาในทางไม่ซื้อที่ดินเป็นการยอมออกจากที่ดินตามที่ได้เคยตกลงกันไว้ในสัญญา ความยินยอมตามสัญญาข้อนี้ถือได้ว่า เป็นความยินยอมตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 มาตรา 16 ข้อ 5 ไม่ใช่ความยินยอมที่ขัดหรือหลีกเหลี่ยงพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่อย่างใด โจทก์มีสิทธิให้จำเลยเลิกใช้ทรัพย์สินที่เช่านี้ได้ตามข้อสัญญา (ควรดูฎีกาที่ 1597/2494) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2503)
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิน แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใด ข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันอยู่ได้
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิน แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใด ข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันอยู่ได้