คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิบูลย์ไอศวรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,027 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: สิทธิของผู้ให้เช่าในการบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้เช่าไม่ใช้สิทธิซื้อ และความชอบธรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
สัญญาเช่าเคหะมีข้อความว่า " ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่า จะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" ถ้าโจทก์ผู้ให้เช่าได้ปฏิบัติตามสัญญานี้แล้ว จำเลยเพิกเฉย ไม่จัดการอย่างใด ถือได้ว่าตอนนี้จำเลยเลือกเอาในทางไม่ซื้อที่ดินเป็นการยอมออกจากที่ดินตามที่ได้เคยตกลงกันไว้ในสัญญา ความยินยอมตามสัญญาข้อนี้ถือได้ว่า เป็นความยินยอมตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 มาตรา 16 ข้อ 5 ไม่ใช่ความยินยอม ที่ขัดหรือหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่อย่างใด โจทก์มีสิทธิให้จำเลยเลิกใช้ทรัพย์สินที่เช่านี้ได้ตามข้อสัญญา (ควรดูฎีกาที่ 1597/2494) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2503)
แม้ว่าจะพ้นกำหนด 1 ปี ตามสัญญาเช่าเดิม แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังเช่ากันอยู่ตราบใดข้อความในสัญญาเช่าเดิมก็ยังคงใช้บังคับกันได้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ทำประโยชน์บำรุงป่า ไม่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ เนื่องจากเป็นข้อยกเว้นตามสัญญา
ไม้รายนี้เป็นไม้ที่ป่าไม้เขตทำเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่าตามอำนาจและหน้าที่ จึงเป็นไม้ที่อยู่นอกบังคับของมาตรา 11 เรื่องการทำไม้หวงห้าม โดยข้อยกเว้นของมาตรา 17 (1) จำเลยทำไม้ตามสัญญาที่ป่าไม้เขตจ้างจำเลย ฉะนั้น การแปรรูปไม้รายนี้ไม่อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติเรื่องแปรรูปไม้ที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาต เช่น กรณีปกติอื่น ดๆ ตามนัยนที่ยกเว้นไว้ใน มาตรา 50 ข้อ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ทำประโยชน์บำรุงป่าได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตแปรรูปตามกฎหมาย
ไม้รายนี้เป็นไม้ที่ป่าไม้เขตทำเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่าตามอำนาจและหน้าที่ จึงเป็นไม้ที่อยู่นอกบังคับของมาตรา 11 เรื่องการทำไม้หวงห้ามโดยข้อยกเว้นของมาตรา 17(1) จำเลยทำไม้ตามสัญญาที่ป่าไม้เขตจ้างจำเลย ฉะนั้น การแปรรูปไม้รายนี้ไม่อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติเรื่องแปรรูปไม้ที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาต เช่นกรณีปกติอื่นๆ ตามนัยที่ยกเว้นไว้ในมาตรา 50 ข้อ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันพิเศษ: ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ ไม่ขัดกฎหมายและอายุความ
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันที โดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และมีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า ยังยินยอมให้ผ่อนเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดชอบผู้เสมอ ดังนี้ถือว่า เป็นการตกลงพิเศษ ผู้ค้ำประกันหารรับผิดเพียงฐานะผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียกร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหน้าฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตาย ได้รับรับชำระหนึ่งจากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่า จะต้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใด ยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตาย ไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบ นั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอ การที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันพิเศษ: ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันหนี้ชั้นเดียวกับลูกหนี้ได้ แม้ไม่ฟ้องลูกหนี้ก่อน
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และมีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า ยังยินยอมให้ผ่อนเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดชอบอยู่เสมอ ดังนี้ถือว่าเป็นการตกลงพิเศษ ผู้ค้ำประกันหารับผิดเพียงฐานะผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตายไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอการที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าหุ้นที่จำเลยนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ถือเป็นสิทธิของโจทก์ เจ้าหนี้อื่นไม่อาจขอเฉลี่ยได้
ศาลพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนและให้จำเลยใช้เงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์ จำเลยได้นำเงินมาวางศาลแล้วตามคำบังคับเพื่อชำระแก่โจทก์ ดังนี้ เจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาในคดีอื่นจะมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ในเงินจำนวนนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่จำเลยนำมาชำระเองเพื่อชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษา ให้พ้นจากความรับผิดชอบในหนี้จำนวนนี้ระงับสิ้นไป มิได้สงวนสิทธิหรือโต้แย้งการจะจ่ายไว้ประการใด และโจทก์ก็ได้ถือสิทธิขอรับเงินจำนวนนี้จากศาล ต้องถือว่าเป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้ง ที่ 24/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา: สิทธิของโจทก์เหนือเจ้าหนี้รายอื่น
ศาลพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนและให้จำเลยให้เงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์ จำเลยได้นำเงินมาวางศาลแล้วตามคำบังคับเพื่อชำระแก่โจทก์ ดังนี้ เจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาในคดีอื่นจะมายื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยหนี้ในเงินจำนวนนี้ ไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่จำเลยนำมาชำระเองเพื่อชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาให้พ้นจากความริบผิดชอบในหนี้จำนวนนี้ระงับสิ้นไป มิได้สงวนสิทธิหรือโต้แย้งการจะจ่ายไว้ประการใด และโจทก์ก็ได้ถือสิทธิขอรับเงินจำนวนนี้จากศาล ต้องถือว่า เป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์ของพนักงาน – อำนาจฟ้อง – ความผิดส่วนตัว vs. ความผิดที่อัยการฟ้องเองได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314, 319 (1) (3), 63 โดยบรรยายฟ้องวา จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่าง ๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 3 ใบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ความผิดยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน-ลูกจ้าง และการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314,319(1)(3),63 โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่างๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 2 ใบ ฯลฯ" ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319(1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องต่อศาลในคดีล้มละลายจำกัดเฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สัญญาประนีประนอมใช้ได้แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยได้ตกลงกับบรรดาผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยซึ่งชำระเงินให้แก่จำเลยไว้แล้ว และจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินลงชื่อผู้ซื้อในโฉนดเสร็จแล้วยังคงแต่ผู้ซื้อที่มีชื่อนั้นจะไปรับโฉนดเท่านั้น จำเลยก็ถูกฟ้องล้มละลาย และมีการอายัดโฉนดเหล่านี้ไว้ มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ข้างมากให้ถอนการอายัด ไม่ขัดต่อกฎหมายและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ดำเนินการตามมตินั้นเป็นการถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 36 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ
of 103