คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิบูลย์ไอศวรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,027 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อมีการบรรยายลักษณะเช็คที่ใช้เป็นเท็จและไม่ตรงกับความเป็นจริง
ตามคำบรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยแสดงเท็จโดยออกเช็คแลกเงินสดของผู้เสียหายไป แต่ความจริงกลับเป็นว่า เช็คนั้นเป็นเช็คในบัญชีชื่อบุคคลที่ 3 ลายเซ็นชื่อในเช็คไม่ใช่ลายมือชื่อบุคคลที่ 3 ทั้งไม่มีเงินจ่ายตามเช็ค อีกนัยหนึ่ง ก็คือ จำเลยออกเช็คว่าเป็นของจำเลย แต่ความจริงกลับเป็นเช็คของคนอื่น จึงไม่มีการจ่ายเงิน และฟ้องกล่าวพร้อมด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ ตามกฎหมายแล้ว ย่อมเป็นฟ้องฐานฉ้อโกงถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม - สัญญาซื้อขาย - การบังคับตามสัญญา - ภารจำยอมทางนิติกรรม - การจดทะเบียน
คดีแพ่ง ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด ถ้าจำเลยเห็นว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม จำเลยก็ชอบที่จะระวังผลประโยชน์ของตนเอง โดยต่อสู้ไว้เสียตั้งแต่ศาลชั้นต้น คดีแพ่งหาเหมือนกับคดีอาญาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้เป็นความบกพร่องของตนเอง ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้อนี้
จำเลยทำสัญญาขายส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของคนให้โจทก์ โดยจำเลยยอมตกลงทำถนนในที่ดินของจำเลยแปลงที่ติดต่อกัน เพื่อโจทก์จะได้ใช้เป็นทางออกสู่ถนนหลวงได้ เมื่อโจทก์ผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว หากจำเลยไม่ยอมทำถนนดังกล่าว โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีเช่นนี้ จำเลยจะเถียงว่า นิติกรรมรายนี้ยังไม่มีการจดทะเบียน ยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 หาได้ไม่ เพราะชั้นนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องและอ้างว่ามีสิทธิทางเดินอยู่แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2503 เฉพาะปัญหาข้อแรก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายที่ดิน, การบังคับตามสัญญา, สิทธิทางเดิน, การจดทะเบียน
คดีแพ่ง ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด ถ้าจำเลยเห็นว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม จำเลยก็ชอบที่จะระวังผลประโยชน์ของตนเองโดยต่อสู้ไว้เสียตั้งแต่ศาลชั้นต้น คดีแพ่งหาเหมือนกับคดีอาญาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ก็เป็นความบกพร่องของตนเองไม่เกี่ยวกับผู้อื่น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้อนี้
จำเลยทำสัญญาขายส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของตนให้โจทก์ โดยจำเลยยอมตกลงทำถนนในที่ดินของจำเลยแปลงที่ติดต่อกัน เพื่อโจทก์จะได้ใช้เป็นทางออกสู่ถนนหลวงได้ เมื่อโจทก์ผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วหากจำเลยไม่ยอมทำถนนดังกล่าว โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีเช่นนี้ จำเลยจะเถียงว่านิติกรรมรายนี้ยังไม่มีการจดทะเบียน ยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 หาได้ไม่ เพราะชั้นนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องและอ้างว่ามีสิทธิทางเดินอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503 เฉพาะปัญหาข้อแรก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนได้
ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาย่อมมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแทนได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2503) (ดูเทียบกับฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่า การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้)
เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้วผู้ที่รับมอบอำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158ข้อ(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องคดีอาญาแทนกันได้ ผู้เสียหายมอบอำนาจได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ย่อมมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแทนได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2503) (ดูเทียบกับฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่า การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้)
้เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้ว ผู้ที่รับมอบอำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 158 ข้อ (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลรับฟังพยานจากทุกฝ่ายได้ ผู้เสียหายจำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเมื่อชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวน ศาลก็ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้จากหลักฐานและคำพยานที่ปรากฏมีอยู่ในสำนวนประกอบการวินิจฉัยได้ทั้งหมดไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้อ้างหรือนำมาสืบ และผู้ถูกหาว่าละเมิดอำนาจศาลก็มีโอกาศซักค้านพยานนั้นได้ อยู่แล้ว ศาลย่อมฟังลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลรับฟังพยานหลักฐานจากทุกฝ่ายได้ ผู้เสียหายเท่านั้นร้องขอโทษได้
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวน ศาลก็ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้จากหลักฐานและคำพยานที่ปรากฏมีอยู่ในสำนวนประกอบการวินิจฉัยได้ทั้งหมดไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้อ้างหรือนำมาสืบ และผู้ถูกหาว่าละเมิดอำนาจศาลก็มีโอกาสซักค้านพยานนั้นได้อยู่แล้ว ศาลย่อมฟังลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ข้างฝานอกห้องพิจารณาบนศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าพยานโจทก์ทำร้ายผู้ร้องฝ่ายเดียว ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายในฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วฟังว่า ผู้ร้องทำร้ายพยานโจทก์ ลงโทษผู้ร้องข้างเดียวฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 4 เดือน เช่นนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าพยานโจทก์ดังกล่าวมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลด้วยเพราะผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้เสียหายในส่วนการละเมิดอำนาจศาลของพยานโจทก์ดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนโดยได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และข้อยกเว้นการแปรรูปไม้ที่ตอ
ไม่ของกลางได้ทำตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 17(1) ซึ่งป่าไม้เขตเป็นเจ้าหน้าที่ทำเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่าโดยทำสัญญาให้บริษัทอุดมวนผล จำกัด รับจ้างตัดฟันชักลากออกจากป่าแล้วจะขายไม้ให้บริษัท การทำไม้รายนี้จึงเป็นการทำและชักลากออกจากป่าโดยไม่อยู่ในบังคับของ มาตรา 11 ที่ว่าต้องรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรา 38 ไม่ใช่บทบังคับเรื่องชักลากไม้ออกจากป่า แต่เป็นบทบัญญัติเรื่องการนำไม้เคลื่อนที่หลังจากนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต กับหลังจากนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้ว ไม่ใช่บทบัญญัติเพียงแต่นำไม้เคลื่อนที่โดยไม่มีใบอนุญาตเท่านั้นเมื่อไม้รายนี้ไม่ใช่ไม้ที่ทำโดยมีใบอนุญาต จึงไม่มีที่ระบุให้นำไปตามใบอนุญาต ทั้งไม่ใช่ไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามอันจะทำได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตตาม มาตรา 25 กับทั้งยังไม่ถึงด่านป่าไม้ด่านแรกกรณีเช่นนี้ไม่ผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตาม มาตรา 38
การแปรรูปไม้ ถ้าทำที่ตอโดยถูกต้องตามที่ยกเว้นไว้ในมาตรา 50(1) ย่อมไม่อยู่ในความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ควบคุมการแปรรูปไม้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: การชักลาก การแปรรูป และการใช้ตราประทับไม้โดยไม่ผิดกฎหมาย
ไม้ของกลางได้ทำตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 17 (1) ซึ่งป่าไม้เขตเป็นเจ้าหน้าที่ทำเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า โดยทำสัญญาให้บริษัทอุดมวนผลจำกัด รับจ้างตัดฟันชักลากออกจากป่าแล้วจะขายไม้ให้บริษัท การทำไม้รายนี้จึงเป็นการทำและชักลากออกจากป่าโดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 11 ที่ว่าต้องรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 38 ไม่ใช่บทบังคับเรื่องชักลากไม้ออกจากป่า แต่เป็นบทบัญญัติเรื่องการนำไม้เคลื่อนที่หลังจากนำไม่ที่ทำออกตามใบอนุญาตไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต กับหลังจากนำไม่ที่ทำออกโดยไม้ต้องรับอนุญาตไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้ว ไม่ใช่บทบัญญัติเพียงแต่นำไม้เคลื่อนที่โดยไม่มีใบอนุญาตเท่านั้น เมื่อไม้รายนี้ไม่ใช่ไม้ที่ทำโดยมีใบอนุญาต จึงไม่มีที่ระบุให้นำไปตามใบอนุญาต ทั้งไม่ใช่ไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามอ้นจะทำได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตตาม มาตรา 25 กับทั้งยังไม่ถึงด่านป่าไม้ด่านแรก กรณีเช่นนี้ ไม่ผิดฐานนำไม้ เคลื่อนที่ตาม มาตรา 38
การแปรรูปไม้ ถ้าทำที่ตอโดยถูกต้องตามที่ยกเว้นไว้ใน มาตรา 50 (1) ย่อมไม่อยู่ในความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ควบคุมการแปรรูปไม้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผัดชำระหนี้ซื้อขายที่ดิน ย่อมไม่ต้องทำเป็นหนังสือ แม้สัญญาบังคับให้ทำเป็นหนังสือ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ นั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ขาย ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อผัดชำระเงินที่ถึงกำหนดในงวดนั้น ไปรวมชำระพร้อมกับเงินที่เหลือให้เสร็จสิ้นในวันโอนโฉนดและก็ได้ถือเอากำหนดที่ให้ผัด (จะเป็นวันใดก็แล้วแต่) มาเช่นนี้ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ เพราะเป็นเพียงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนผันให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในการชำระเงินผัดเวลาชำระเงินงวดหนึ่งต่อไป จำเลยไม่มีสิทธิจะริบเงินและเลิกสัญญา
of 103