คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิบูลย์ไอศวรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,027 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผัดชำระหนี้ซื้อขายที่ดิน ย่อมไม่ต้องทำเป็นหนังสือ แม้สัญญาบังคับให้ทำเป็นหนังสือ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ นั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ขาย ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อผัดชำระเงินที่ถึงกำหนดในงวดนั้น ไปรวมชำระพร้อมกับเงินที่เหลือให้เสร็จสิ้นในวันโอนโฉนดและก็ได้ถือเอากำหนดที่ให้ผัด (จะเป็นวันใดก็แล้วแต่) มาเช่นนี้ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ เพราะเป็นเพียงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนผันให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในการชำระเงินผัดเวลาชำระเงินงวดหนึ่งต่อไป จำเลยไม่มีสิทธิจะริบเงินและเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด: การฟ้องไม่ระบุความผิดนัดของนิติบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวปรากฏว่า เป็นเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้ซื้อ คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนอันเป็นนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ว่า ได้ผิดนัดแล้วหรือกล่าวว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลยนั้น คำฟ้องคดีนี้บังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดเป็นส่วนตัวในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 / 2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด: การฟ้องคดีโดยไม่ระบุความรับผิดของนิติบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวปรากฏว่าเป็นเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้ซื้อ คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ได้ระบุถึงความรับผิดของห้างหุ้นส่วนอันเป็นนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ว่า ได้ผิดนัดแล้วหรือกล่าวว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดประการใดเลยนั้นคำฟ้องคดีนี้บังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดเป็นส่วนตัวในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งตกไปเมื่อฟ้องเดิมถูกยกฟ้อง เหตุขาดตัวโจทก์เดิมที่เป็นจำเลย
เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมตกไป เพราะฟ้องแย้งนั้นจะต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่ะเป็นจำเลยตอ่ไปเป็นหลักอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งตกไปเมื่อฟ้องเดิมถูกยกฟ้อง - อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์
เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมตกไปเพราะฟ้องแย้งนั้นจะต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยต่อไปเป็นหลักอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษซ้ำหลังพ้นโทษ: อำนาจศาลตามมาตรา 14 และ 41 ประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ ศาลจำคุก 6 เดือนต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุราศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปีแต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือนความผิดฐานทำร้ายร่างกายจึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียวที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญาและมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือนศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 และ 41
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ศาลจำคุก 6 เดือน ต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุรา ศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียว ที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญา และมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือน ศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์: ฟ้องชัดเจน ครอบครองแล้วเบียดบังเป็นของตน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานยักยอก โดยมีข้อความระบุวันที่จำเลยรับมอบจักร์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501 เวลากลางวัน เพื่อเอาไปทดลองใช้ภายในกำหนดวันที่ 24 กรกฎาคม 2501 ให้นำจักร์ส่งคืนจำเลยกับพวกรับจักร์ไปแล้วมิได้นำจักรมาส่งคืนตามกำหนด โดยมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเอาจักร์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น ดังนี้ ฟ้องของโจทก์มีข้อความชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีกว่า จำเลยทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ไประหว่างวันเวลาดังกล่าวนั้น ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอก: การครอบครองทรัพย์แล้วทุจริตเบียดบังเป็นประโยชน์ตนเอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานยักยอก โดยมีข้อความระบุวันที่จำเลยรับมอบจักร์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501 เวลากลางวัน เพื่อเอาไปทดลองใช้ภายในกำหนดวันที่ 24 กรกฎาคม 2501 ให้นำจักร์ส่งคืน. จำเลยกับพวกรับจักร์ไปแล้วมิได้นำจักรมาส่งคืนตามกำหนด โดยมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเอาจักร์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นดังนี้ฟ้องของโจทก์มีข้อความชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีว่าจำเลยทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ไประหว่างวันเวลาดังกล่าวนั้น ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความร้ายแรงของการบาดเจ็บเพื่อกำหนดความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ผู้บาดเจ็บถูกฟันศีรษะ 1 ทีและถูกแทงหลัง 1 ที ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 15 วัน แพทย์ก็ให้กลับและให้ไปโรงพยาบาลทุก 3 วัน เพราะประสาทยังไม่ปกติ ไปโรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง แล้วขอยามารักษาที่บ้าน เพราะต้องเดินทางไกลสะเทือนสมอง เพียงเท่านี้ไม่ปรากฎอาการใดที่จะถือเป็นทุกขเวทนา เกินกว่า 20 วัน ถือว่ายังไม่เป็นอันตรายสาหัส
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 3 จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรค 2 ซึ่งมีโทษเบากว่า แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
of 103