คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน กรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเวนคืนจนโจทก์ฟ้อง
โจทก์ขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน แต่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง หลังจากนั้นฝ่ายจำเลยมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ย, อำนาจฟ้องกรณีที่ดินเหลือ
เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันไว้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินฯ มาตรา 10 เนื่องจากไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2539 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา โดยได้รับในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ตามความในมาตรา 26 วรรคสาม อันเป็นกฎหมายพิเศษโดยไม่ต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 แต่อย่างใด
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน: การซื้อขายตามเนื้อที่ประกาศ แม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นการรังวัดคลาดเคลื่อน
ตามประกาศของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และ จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ ถูกเวนดังกล่าวทั้งหมดแล้ว และจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวาซึ่งอยู่ในเขตเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็ตาม ก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 42 ตารางวาย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์แล้วตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตาม วัตถุประสงค์ของการเวนคืนให้แก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องซื้อที่ดินเวนคืน: ต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว อันเป็นการจัดซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ซึ่งวรรคสองให้นำบทบัญญัติมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจัดซื้อที่ดินของโจทก์ทั้งที่เจ้าหน้าที่เวนคืนไม่ได้ปฏิเสธคำร้องขอของโจทก์ และยังไม่มีการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนในราคาตามฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแนวเขตไม่กระทบสิทธิที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แม้จะใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เนื้อที่ 165 ตารางวา อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งจำเลยได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางโดยฝากธนาคารออมสินไว้และแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบแล้ว กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 13 วรรคสองและวรรคท้าย ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เนื้อที่ 165 ตารางวา เป็นของจำเลยแล้วตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าว แม้ภายหลังจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 อีกฉบับ และคณะรัฐมนตรี มีมติให้ปรับเปลี่ยนแนวเขตทางพิเศษใหม่ เป็นเหตุให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในแนวเขตทางพิเศษที่เปลี่ยนแปลงใหม่นี้เพียง 42 ตารางวา ลดลงจากเดิม 123 ตารางวา ตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินเนื้อที่ 123 ตารางวา ที่ไม่ได้อยู่ในแนวเขตทางพิเศษใหม่ดังกล่าว ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสมบูรณ์แล้ว กลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดที่ให้สิทธิหรืออำนาจจำเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิม และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจากโจทก์ทั้งสี่ หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: พิจารณาความล่าช้าในการจ่ายค่าทดแทน & ราคาปัจจุบัน
อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงย่อมจะต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้สร้างทางและ ขยายทางหลวงแผ่นดินตามชื่อของพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งที่ดินดังกล่าว กรมทางหลวง จะดำเนินการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งตนมิได้มีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนหาได้ไม่ จึงต้องเสนอให้รัฐจัดการ เวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อใช้ก่อสร้างทางและขยายทางหลวงแผ่นดิน ดังนี้ อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จึงเป็นผู้แสดงเจตนาแทนกรมทางหลวง เกี่ยวกับการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม และการสร้างทางหลวงแผ่นดินอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ตามพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 15 กระทรวงคมนาคมจึงต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดยังไม่เป็นธรรมและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคม ไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกระทรวงคมนาคมให้ร่วมรับผิดด้วยได้
หลังจากมีพ.ร.ฎกำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ - บางปะกง- ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ พ.ศ. 2513 และพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ - บางปะกง - ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี - ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ ในท้องที่อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2520 เวนคืนที่ดินของโจทก์จนถึงกลางปี 2537 ฝ่ายจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเลย จนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน 2537 จำเลยที่ 2 เพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวง ภายหลังจากวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาฯ เกือบ 25 ปี โดยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร เป็นการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดโดยใช้วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 30 ธันวาคม 2513 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ และปัจจุบันในกรณีปกติของการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งอยู่ในอำนาจของตนภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯซึ่งไม่เกินสี่ปี กล่าวโดยเฉพาะคือต้องจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทนให้เสร็จสิ้นภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 13 วรรคสอง และมาตรา 31 การจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทนโดยเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 จะดำเนินการเมื่อวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประมาณ 2 ปี ถึง 4 ปี หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในอายุพระราชกฤษฎีกานั้น ก็ต้องออกพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ หรือตราพระราชบัญญัติเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดเงินค่าทดแทนก็จะเปลี่ยนไปเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่หรือเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่จะกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมได้ต้องใช้หลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เว้นแต่วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ มาเป็นกลางปี 2535 โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาปกติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 ต้องใช้ในการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเติมหลังการรังวัดและข้อผิดพลาดเนื้อที่
การดำเนินการของฝ่ายจำเลย (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ให้ได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางพิเศษ สายรามอินทรา-อาจณรงค์ อาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เพียงฉบับเดียว แนวเขตที่ดิน ที่จะสร้างทางพิเศษสายนี้ในบริเวณที่ดินของโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเป็นที่ดินอยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและถูกดำเนินการเพื่อเวนคืนเพียงครั้งเดียว โดยฝ่ายจำเลยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนตามสัญญาซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นขั้นตอนหนึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นที่ดินในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ส่วนเนื้อที่ดิน ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯเป็นการประมาณการของฝ่ายจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยประมาณการไว้ เนื้อที่ดินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่มาจากที่ดิน ผืนเดียวกันกับที่ระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนแทน ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมด รวมทั้งเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซื้อขายด้วย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ย่อม มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย นับแต่วันที่ครบ 120 วันจากวันทำสัญญาซื้อขาย อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่าย ตามมาตรา 26 วรรคสาม
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเมื่อเนื้อที่ดินจริงเพิ่มจากที่ประมาณการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ที่ดินของโจทก์มาเพื่อสร้างทางพิเศษ อาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพียงฉบับเดียว โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาส่วนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นการประมาณการของจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา ให้แก่โจทก์ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 198 ตารางวา นี้รวมอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ครบ 120 วัน จากวันที่ทำสัญญาซื้อขายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อวางเงินค่าทดแทนครบถ้วน ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,9,11,13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์แล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์ เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 , 9 , 11 , 13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นวันก่อนที่ พ.ร.ฎ. สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออก พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์
of 4