พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และการพิจารณาผลกระทบจากความล่าช้า
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ คือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน จากเดิมที่ให้กำหนดโดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึงมาตรา 21 ทั้งมาตรา คือต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย และบทบัญญัติมาตรา 9 ที่แก้ไขนี้ ข้อ 5 ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ซึ่งเป็นวันเวลาก่อนที่โจทก์อุทธรณ์ราคาของอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืนในโครงการนี้ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดนั้นต้องเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ หาใช่เป็นวันภายหลังใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ก็ได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาเวนคืนที่ดิน: พิจารณาจากราคาตลาดในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ที่ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานั้น มีความหมายว่า ให้นำเอาราคาซื้อขายของอสังหาริมทรัพย์ในประเภทและชนิดเดียวกันที่ประชาชนทั่วไปซื้อขายกันอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณา ถ้าหาราคาซื้อขายในวันดังกล่าวไม่ได้ ก็อาจหาราคาซื้อขายในวันอื่นที่ใกล้เคียงมาใช้พิจารณาแทน แม้จะเป็นราคาซื้อขายในภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับก็นำมาใช้เทียบเคียงได้ ผู้กำหนดราคาสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดราคาที่ควรจะเป็นโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลนั้นประกอบไป และกำหนดราคาที่สมควรในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน & ดอกเบี้ย กรณีศาลเพิ่มค่าทดแทน ต้องนับจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงิน
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตธนบุรีและเขตคลองสานกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 มาตรา 4 ระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเมื่อเป็นส่วนหนึ่งตามอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการ โดยมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่อธิบดีกรมโยธาธิการจำเลยที่ 2 ลงชื่อในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จำเลยที่ 2 ก็ทำในนามจำเลยที่ 1 การแจ้งการวางทรัพย์และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินก็แจ้งเป็นหนังสือออกโดยกรมโยธาธิการ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ก็แจ้งเป็นหนังสือที่ออกโดยจำเลยที่ 1 ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจและ หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดังนี้ อำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ได้ดำเนินการไปย่อมต้องถือว่ากระทำในฐานะผู้แทนของ จำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์และการฟ้องคดีของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของ อสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับ แจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด ดังกล่าวแล้วแต่กรณี โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอ เงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน ค่าต้นไม้ และ รั้ว โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง เมื่อค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่งจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันทำให้ราคาลดลงให้แก่โจทก์ หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาในส่วนนี้ของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์เสียก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้ โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนค่าต้นไม้และค่ารั้วต่ำเกินไป ย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่มีการตกลง ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 โดยให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่าย เงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันที่ทำสัญญาซื้อขาย และในมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติในกรณี ที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุด ของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย แต่ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนให้ ผู้มีสิทธิได้ รับค่าทดแทนย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนนับแต่ วันที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทน โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ซึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้โจทก์อย่างช้าภายในวันที่8 ตุลาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มให้นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2535 แม้จำเลยทั้งสองจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขาย คือในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสอง สมัครใจจ่ายให้ไปก่อนเอง ทั้งที่มีสิทธิจะจ่ายภายใน หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย วันที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ไปดังกล่าวจึงมิใช่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน, ขั้นตอนตามกฎหมาย, และดอกเบี้ย
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตธนบุรี และเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533มาตรา 4 ระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.นี้ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการในการดำเนินการโดยมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่อธิบดีกรมโยธาธิการจำเลยที่ 2 ลงชื่อในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จำเลยที่ 2 ก็ทำในนามจำเลยที่ 1 การแจ้งการวางทรัพย์และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ล.7 ก็แจ้งเป็นหนังสือออกโดยกรมโยธาธิการ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ก็แจ้งเป็นหนังสือที่ออกโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดังนี้อำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ได้ดำเนินการไปจึงต้องถือว่ากระทำในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือ
โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน ค่าต้นไม้ และรั้ว โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง เมื่อค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันทำให้ราคาลดลงให้แก่โจทก์ หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาในส่วนนี้ของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์เสียก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนค่าต้นไม้และค่ารั้วต่ำเกินไป ย่อมไม่อาจถือได้ว่าได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา11 วรรคหนึ่งบัญญัติในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10โดยให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย และในมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นดังนี้จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย แต่ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนให้ ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนเพิ่มนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ซึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้โจทก์อย่างช้าภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มให้นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2535 จำเลยทั้งสองจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขายคือในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองสมัครใจจ่ายให้ไปก่อนเอง ทั้งที่มีสิทธิจะจ่ายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย วันที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ไปดังกล่าวจึงมิใช่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือ
โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน ค่าต้นไม้ และรั้ว โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง เมื่อค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันทำให้ราคาลดลงให้แก่โจทก์ หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาในส่วนนี้ของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์เสียก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนค่าต้นไม้และค่ารั้วต่ำเกินไป ย่อมไม่อาจถือได้ว่าได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา11 วรรคหนึ่งบัญญัติในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10โดยให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย และในมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นดังนี้จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย แต่ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนให้ ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนเพิ่มนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ซึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้โจทก์อย่างช้าภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มให้นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2535 จำเลยทั้งสองจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขายคือในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองสมัครใจจ่ายให้ไปก่อนเอง ทั้งที่มีสิทธิจะจ่ายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย วันที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ไปดังกล่าวจึงมิใช่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และการกำหนดวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตรา สูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดิน ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกันโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536 หาใช่นับแต่วันที่25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ และอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละที่โจทก์ขอมา โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ย สูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีรายจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันที่วางเงิน และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเงินฝากออมสิน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งจึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536 เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536หาใช่นับแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมาโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536 เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536หาใช่นับแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมาโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทน, ราคาที่ดินที่เหลือ, และดอกเบี้ย
การพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน นอกจากจะคำนึงถึงราคาประเมินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)(4)และ (5) มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ข้อ 1 และข้อ 5 เมื่อราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสูงกว่าราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้ แต่เนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่การจราจรและการขนส่งซึ่งเป็นกิจการสาธารณูปโภคเป็นประโยชน์ต่อสังคมมิได้เป็นการกระทำที่มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์เพิ่มเติมโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง(1) ถึง (5) จึงเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม และชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลง เมื่อตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันมีราคาลดลงนั้นด้วย การที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25วรรคหนึ่ง ขอให้กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นแม้โจทก์มิได้กล่าวในอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงไว้ด้วย ก็ย่อมหมายถึงได้อุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ในครั้นนี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนนี้ได้ แม้ที่ดินตามโฉนดส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 27 ไร่1 งาน 7 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางวา จะมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้านแต่ที่ดินดังกล่าวก็อยู่ใกล้กันกับที่ดินส่วนที่เหลือตามโฉนดของโจทก์อีกแปลงหนึ่งที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีเนื้อที่เหลือจากการถูกเวนคืนถึง 178 ไร่ 1 งาน 48 เศษ 4 ส่วน 10 ตารางวาและต่อมาโจทก์ได้ให้ พ. เช่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนตามโฉนดอีกแปลงหนึ่งดังกล่าวสร้างศูนย์การค้า ดังนี้สภาพโดยส่วนรวมแล้วที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนจึงมีราคาสูงขึ้น มิใช่ราคาลดลง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 27 ไร่ 1 งาน 7 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางวาถูกทางหลวงแผ่นดินล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ไม่สะดวกในการเข้าออกเพราะมีการเดินรถทางเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถขออนุญาตต่อทางราชการขอเชื่อมทางเข้าออกที่ดินโจทก์กับทางหลวงแผ่นดินได้ ดังนี้แม้จะมีการเดินรถทางเดียวทำให้ไม่สะดวกไปบ้างก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลงเนื้อที่ดินของโจทก์ยังมีเหลือจากการถูกเวนคืนถึง 27 ไร่ 1 งาน 7 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางก่อนถูกเวนคืนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกติดถนนด้านทิศใต้ติดทางหลวงแผ่นดิน หากมีการก่อสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยที่มิได้มีการเวนคืน โจทก์ก็ต้องถอยร่นปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 อยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการก่อสร้างอาคารภายหลังการเวนคืนและโจทก์ต้องถอยร่นจากถนน จึงก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตลอดไปจึงขัดกับบทกฎหมายข้างต้น และศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ให้ถูกต้องตามมาตรา 26 วรรคสาม ได้โดยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดต้องไม่เกินที่โจทก์ขอมา และแม้จำเลยจะมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพิ่มขึ้นตามบทกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย และเมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันในกรณีสงวนสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2534 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลงให้แก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันคือภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2534อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน พิจารณาตามราคาตลาด, วัตถุประสงค์การเวนคืน, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนนอกจากจะคำนึงถึงราคาประเมินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1)(4) และ (5) มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 1 และข้อ 5
เมื่อราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสูงกว่าราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้ แต่เนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่การจราจรและการขนส่งซึ่งเป็นกิจการสาธารณูปโภคเป็นประโยชน์ต่อสังคม มิได้เป็นการกระทำที่มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์เพิ่มโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม และชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลง เมื่อตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันมีราคาลดลงนั้นด้วย การที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้ และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ขอให้กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แม้โจทก์มิได้กล่าวในอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงไว้ด้วย ก็ย่อมหมายถึงได้อุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ในครั้งนี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนนี้ได้
แม้ที่ดินตามโฉนดส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 27 ไร่1 งาน 7 3/10 ตารางวา จะมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ที่ดินดังกล่าวก็อยู่ใกล้กันกับที่ดินส่วนที่เหลือตามโฉนดของโจทก์อีกแปลงหนึ่งที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีเนื้อที่เหลือจากการถูกเวนคืนถึง 178 ไร่ 1 งาน 48 4/10 ตารางวา และต่อมาโจทก์ได้ให้ พ.เช่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนตามโฉนดอีกแปลงหนึ่งดังกล่าวสร้างศูนย์การค้า ดังนี้ สภาพโดยส่วนรวมแล้วที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนจึงมีราคาสูงขึ้น มิใช่ราคาลดลง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 27 ไร่1 งาน 7 3/10 ตารางวา ถูกทางหลวงแผ่นดินล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ไม่สะดวกในการเข้าออกเพราะมีการเดินรถทางเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถขออนุญาตต่อทางราชการขอเชื่อมทางเข้าออกที่ดินโจทก์กับทางหลวงแผ่นดินได้ ดังนี้แม้จะมีการเดินรถทางเดียวทำให้ไม่สะดวกไปบ้าง ก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลงเนื้อที่ดินของโจทก์ยังมีเหลือจากการถูกเวนคืนถึง 27 ไร่ 1 งาน 7 3/10ตารางวา ก่อนถูกเวนคืนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกติดถนนด้านทิศใต้ติดทางหลวงแผ่นดิน หากมีการก่อสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ โดยที่มิได้มีการเวนคืน โจทก์ก็ต้องถอยร่นปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522อยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการก่อสร้างอาคารภายหลังการเวนคืนและโจทก์ต้องถอยร่นจากถนน จึงก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตลอดไปจึงขัดกับบทกฎหมายข้างต้น และศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ให้ถูกต้องตามมาตรา 26 วรรคสามได้โดยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดต้องไม่เกินที่โจทก์ขอมา และแม้จำเลยจะมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพิ่มขึ้นตามบทกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย และเมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันในกรณีสงวนสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 10 เมื่อวันที่7 มกราคม 2534 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องจ่ายเงินค่าอสังหา-ริมทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลงให้แก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันคือภายในวันที่ 7พฤษภาคม 2534 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
เมื่อราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสูงกว่าราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้ แต่เนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่การจราจรและการขนส่งซึ่งเป็นกิจการสาธารณูปโภคเป็นประโยชน์ต่อสังคม มิได้เป็นการกระทำที่มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์เพิ่มโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม และชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลง เมื่อตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันมีราคาลดลงนั้นด้วย การที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้ และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ขอให้กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แม้โจทก์มิได้กล่าวในอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงไว้ด้วย ก็ย่อมหมายถึงได้อุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ในครั้งนี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนนี้ได้
แม้ที่ดินตามโฉนดส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 27 ไร่1 งาน 7 3/10 ตารางวา จะมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ที่ดินดังกล่าวก็อยู่ใกล้กันกับที่ดินส่วนที่เหลือตามโฉนดของโจทก์อีกแปลงหนึ่งที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีเนื้อที่เหลือจากการถูกเวนคืนถึง 178 ไร่ 1 งาน 48 4/10 ตารางวา และต่อมาโจทก์ได้ให้ พ.เช่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนตามโฉนดอีกแปลงหนึ่งดังกล่าวสร้างศูนย์การค้า ดังนี้ สภาพโดยส่วนรวมแล้วที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนจึงมีราคาสูงขึ้น มิใช่ราคาลดลง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 27 ไร่1 งาน 7 3/10 ตารางวา ถูกทางหลวงแผ่นดินล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ไม่สะดวกในการเข้าออกเพราะมีการเดินรถทางเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถขออนุญาตต่อทางราชการขอเชื่อมทางเข้าออกที่ดินโจทก์กับทางหลวงแผ่นดินได้ ดังนี้แม้จะมีการเดินรถทางเดียวทำให้ไม่สะดวกไปบ้าง ก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลงเนื้อที่ดินของโจทก์ยังมีเหลือจากการถูกเวนคืนถึง 27 ไร่ 1 งาน 7 3/10ตารางวา ก่อนถูกเวนคืนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกติดถนนด้านทิศใต้ติดทางหลวงแผ่นดิน หากมีการก่อสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ โดยที่มิได้มีการเวนคืน โจทก์ก็ต้องถอยร่นปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522อยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการก่อสร้างอาคารภายหลังการเวนคืนและโจทก์ต้องถอยร่นจากถนน จึงก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตลอดไปจึงขัดกับบทกฎหมายข้างต้น และศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ให้ถูกต้องตามมาตรา 26 วรรคสามได้โดยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดต้องไม่เกินที่โจทก์ขอมา และแม้จำเลยจะมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพิ่มขึ้นตามบทกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย และเมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันในกรณีสงวนสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 10 เมื่อวันที่7 มกราคม 2534 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องจ่ายเงินค่าอสังหา-ริมทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลงให้แก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันคือภายในวันที่ 7พฤษภาคม 2534 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องและดอกเบี้ยนับแต่วันวางเงิน
หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินมีข้อความว่า เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา และตอนท้ายของหนังสือระบุว่า ในการติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนนี้โจทก์มีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนโดยสงวนสิทธิหรือไม่สงวนสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งสิ่งที่ส่งมาด้วยมีรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญารับเงินค่าทดแทน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้มาทำสัญญาตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนกันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่มีความชัดแจ้ง จึงต้องตีความให้เกิดความชอบธรรมแก่ผู้ถูกกระทำคือประชาชนมิให้เสียสิทธิโดยไม่เป็นธรรม กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6 และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น คดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6 และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น คดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความหนังสือแจ้งค่าทดแทนและการคำนวณดอกเบี้ยในคดีเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินมีข้อความว่า เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา และตอนท้ายของหนังสือระบุว่า ในการติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนนี้โจทก์มีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนโดยสงวนสิทธิหรือไม่สงวนสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งสิ่งที่ส่งมาด้วยมีรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญารับเงินค่าทดแทน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่าเป็นหนังสือแจ้งให้มาทำสัญญาตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนกันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่มีความชัดแจ้ง จึงต้องตีความให้เกิดความชอบธรรมแก่ผู้ถูกกระทำคือประชาชนมิให้เสียสิทธิโดยไม่เป็นธรรม กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นคดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์
หนังสือเอกสารหมาย จ.5 เป็นเพียงหนังสือเชิญโจทก์ไปติดต่อขอทำสัญญารับเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 แจ้งให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่วางไว้ที่ธนาคารออมสินตามหนังสือเอกสารหมาย จ.16 เมื่อโจทก์ไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.6และเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 30 กรกฎาคม 2535 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ค่าแผงรั้ว ประตูอัลลอยย์ และรั้วกับช่องระเบียง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ไว้ต่างหากแล้วในคดีของศาลแพ่งตามสำเนาคำพิพากษาท้ายฎีกาของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นคดีดังกล่าวเป็นการเวนคืนรายเดียวกันกับคดีนี้และยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยถึงความเสียหายในส่วนนี้ให้ในคดีนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดอีกเป็นเงิน 266,200 บาท ทั้งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนที่เป็นสนามหญ้าเพิ่มขึ้นไว้แล้วในคดีของศาลแพ่ง ดังนั้นสำหรับคดีนี้จึงมีปัญหาที่จะวินิจฉัยเฉพาะค่าทดแทนไม้ยืนต้นเท่านั้น
ที่โจทก์ฎีกาขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด...พ.ศ.2530 ใช้บังคับ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าไม่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ศาลให้จำเลยทั้งสองชำระเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์